กรดไขมันปาล์ม (Palm Fatty Acid Distillate; PFAD) เป็นผลพลอยได้หลักจากกระบวนการกลั่นน้ำมันปาล์มในอุตสาหกรรมอาหารและเคมีภัณฑ์ PFAD ประกอบด้วยกรดไขมันอิสระหลายชนิด เช่น ปาล์มิติก แอซิด (palmitic acid), สเตียริก แอซิด (stearic acid) และโอเลอิก แอซิด (oleic acid) ในรูปของไดอะซิลกลีเซอรอล (DAG) และโมโนอะซิลกลีเซอรอล (MAG) ซึ่งมีคุณสมบัติทางเคมีที่หลากหลาย จึงถูกนำไปใช้เป็นวัตถุดิบสำหรับการผลิตแอสเทอริฟิเคชัน (esterification) เพื่อสร้างผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าเพิ่มสูง เช่น อิมัลซิไฟเออร์ สารหล่อลื่น และเบสในเครื่องสำอาง
รูปจาก : https://www.oleen.co.th/pfad
การวิเคราะห์องค์ประกอบทางไขมันใน PFAD และผลิตภัณฑ์เอสเทอริฟิเคชันนั้นมีความสำคัญต่อการตรวจสอบคุณภาพและประสิทธิภาพของกระบวนการศึกษา ทั้งยังช่วยในการควบคุมคุณลักษณะทางกายภาพและทางเคมีของผลิตภัณฑ์ปลายทาง โดยเฉพาะการแยกและหาปริมาณไอโซเมอร์ตำแหน่งของไดอะซิลกลีเซอรอล (DAG regioisomers) บทบาทของ sn-1,2-DAG และ sn-1,3-DAG มีความแตกต่างกันทั้งในด้านคุณสมบัติทางโภชนาการและเสถียรภาพทางอุณหพลศาสตร์ ทำให้จำเป็นต้องมีเทคนิคการวิเคราะห์ที่สามารถแยกและระบุตำแหน่งได้อย่างแม่นยำ
บทความงานวิจัยเรื่อง “Characterization of Palm Fatty Acid Distillate, Diacylglycerol Regioisomers, and Esterification Products Using High-Performance Size Exclusion Chromatography” ของ ดร.ศลิษา ชุ่มสันเทียะ, ดร.พิราพร สมบัติสุวรรณ, รศ.ดร.กรณ์กนก อายุสุข และอัครเดช นครเสด็จ ห้องปฏิบัติการวิจัยเทคโนโลยีไขมัน - สรบ.-LIPID กลุ่มสาขาการวิจัยเชิงกลยุทธ์ : เศรษฐกิจฐานชีวภาพ (รูปแบบการวิจัยเชิงกลยุทธ์) สถาบันพัฒนาและฝึกอบรมโรงงานต้นแบบ (สรบ.) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ความน่าสนใจเกี่ยวกับการศึกษาลักษณะของไดสติลเลตกรดไขมันปาล์ม ไอโซเมอร์ตำแหน่งของไดอะซิลกลีเซอรอล และผลิตภัณฑ์เอสเทอริฟิเคชัน โดยใช้โครมาโตกราฟีแบบขจัดขนาดประสิทธิภาพสูง
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและประยุกต์ใช้วิธี HPSEC-ELSD ในการจำแนกและวิเคราะห์โปรไฟล์ไขมันของ PFAD รวมทั้งไอโซเมอร์ตำแหน่งของ DAG และติดตามพฤติกรรมการเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบเมื่อทำการเอสเทอริฟิเคชัน PFAD ภายใต้สภาวะต่าง ๆ เพื่อให้เข้าใจถึงกลไกการเกิดปฏิกิริยาและคุณสมบัติของผลิตภัณฑ์เอสเทอริฟิเคชันอย่างละเอียดถี่ถ้วน
จากผลลัพธ์ที่ได้ ยืนยันถึงศักยภาพของ HPSEC-ELSD ในฐานะเครื่องมือวิเคราะห์คุณภาพสูงที่สามารถนำไปใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร, เคมีภัณฑ์ และงานวิจัยทางโภชนาการ รวมทั้งแนะนำให้ศึกษาต่อยอดในด้านการปรับแต่งตัวแปรการทดลองเพิ่มเติม เช่น เวลา ปริมาณรีเอเจนต์ และชนิดของตัวเร่ง เพื่อขยายขอบเขตการประยุกต์ใช้วิธีนี้ให้ครอบคลุมมากยิ่งขึ้น
เอกสารอ้างอิง
Aryusuk, K., Nakornsadet, A., Sombutsuwan, P. & Chumsantea, S. (2024). Characterization of Palm Fatty Acid Distillate, Diacylglycerol Regioisomers, and Esterification Products Using High-Performance Size Exclusion Chromatography. Journal of Oleo Science, 73(4), 445-454. https://doi:10.5650/jos.ess23196
Categories
Hashtags