เรามาดูปัญหาที่ก่อให้เกิด “มลภาวะทางเสียง” กันดีกว่า
“มลภาวะทางเสียง” เป็นสภาวะที่ก่อให้เกิดเสียงที่มีการรบกวน อาจมาจากแหล่งกำเนิดเสียงต่าง ๆ ทั้งจากมนุษย์ สัตว์หรือเครื่องจักร การก่อสร้างและระบบการขนส่ง รวมทั้ง เสียงรบกวนจากพาหนะยานยนต์, เครื่องบิน และรถไฟ หรือแม้แต่การวางผังเมืองที่ไม่ดี และทางด้านแหล่งอุตสาหกรรมข้างเคียงหรือการปลูกสร้างที่อยู่อาศัยโดยมลภาวะทางเสียงทั้งภายในและภายนอกอาคาร มีหลายชนิด เช่น เสียงยานยนต์ เสียงเตือนภัยจากรถ, เสียงไซเรนสัญญาณฉุกเฉิน, อุปกรณ์เครื่องกล, ฮอร์นบีบอัดอากาศ, เครื่องเจาะถนน
ซึ่งมลภาวะทางเสียงยังก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพ 2 ด้าน คือ ด้านจิตใจ ทำให้เกิดความรู้สึกหงุดหงิด โกรธ เครียดและวิตกกังวล ปัญหาสุขภาพจิต เช่น โรคซึมเศร้าและโรคเครียดหลังเหตุการณ์สะเทือนใจด้านร่างกาย ทำให้สูญเสียการ ได้ยิน หลับยากและหลับไม่สนิท เหนื่อยล้า ส่งผลเสียต่อการทำงานของการรับรู้ โดยเฉพาะในเด็ก อาจทำให้ความจำ ความสนใจ และความสามารถในการเรียนรู้ ลดลง หากความดังของเสียงที่ดังและนานเกินไปจะเข้าไปทำให้อวัยวะรับเสียง โดยเฉพาะเซลล์ขนและประสาทรับเสียงเสื่อมสภาพเร็วขึ้น ทำให้เราไม่สามารถ ได้ยินเสียงทั่วไปในสภาวะระดับปกติ
มลภาวะทางเสียงที่เกิดจากรถยนต์ธรรมดา(สันดาป)
รถยนต์สันดาปมีการเผาไหม้หรือการจุดระเบิด (Combustion or Ignition) คือขบวนการที่ทําให้เชื้อเพลิงที่ป้อนเข้าสู่เครื่องยนต์เกิดการลุกไหม้การทํางานของเครื่องยนต์ โดยเครื่องยนต์แกสโซลีน (Gasoline Engine) มีการเผาไหม้หรือการจุดระเบิดเชื้อเพลิงซึ่งป้อนเข้าสู่เครื่องยนต์โดยประกายไฟจากหัวเทียนที่มีแรงเคลื่อนไฟฟ้าสูงประมาณ 12,000-30,000โวลท์ และเครื่องยนต์ดีเซล (Diesel engine) มีการเผาไหม้หรือจุดระเบิดเชื้อเพลิงซึ่งป้อนเข้าสู่เครื่องยนต์โดยอาศัยความร้อนจากความดันอากาศ ซึ่งเสียงที่เกิดขึ้นจากรถยนต์สันดาป อาจจะเกิดจากการทำงานของเครื่องยนต์ที่มีการใช้งานในระยะเวลาที่นานทำให้เครื่องยนต์มีการทำงานที่ไม่ดีเท่าของใหม่ทำให้เกิดการทำงานที่ก่อให้เกิดเสียงที่ดังกว่ารถยนต์ที่มีการทำงานมาน้อย การเกิดเสียงอีกอย่างหนึ่งที่ก่อความวุ่นวายคือ ท่อไอเสียที่มีการปรับแต่งเพื่อให้เกิดเสียงปัจจุบัน มีการแต่งท่อให้เกิดเสียงมากขึ้นและมีการทำมาในกลุ่มของคนที่ชอบความดังของท่อเละเครื่องยนต์ทำให้มีเสียงดังรบกวนผู้อยู่ในสภาพแวดล้อมนั้นๆ
รถยนต์ที่ใช้พลังงานไฟฟ้า แบบ 100% (Battery Electric Vehicle - BEV)
รถยนต์ไฟฟ้าแบบ BEV เป็นรถพลังงานสะอาดที่แท้จริง โดย BEV จะขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์ไฟฟ้า และใช้พลังงานแบตเตอรี่ไฟฟ้า ซึ่งมาจากการเสียบปลั๊กชาร์จไฟฟ้าอย่างเดียว จึงทำให้รถยนต์ไฟฟ้าแบบ BEV ไม่มีการปล่อยไอเสียที่ทำให้เกิดมลพิษทางอากาศ ฝุ่น PM 2.5 และจำทำให้ไม่เกิด “มลภาวะทางเสียง” เพราะการทำงานของรถยนต์ไฟฟ้าแบบ BEV เงียบกว่ารถยนต์ที่ใช้น้ำมันเชื้อเพลิงหลายเท่า
มลภาวะทางเสียงที่เกิดจากรถยนต์ไฟฟ้ารถยนต์ที่ใช้พลังงานไฟฟ้า แบบ 100% (Battery Electric Vehicle - BEV)
นวัตกรรมที่ใช้เพียงพลังงานไฟฟ้าอย่างเดียว 100% ในการขับเคลื่อน และสามารถชาร์จไฟได้เพื่อกักเก็บไฟฟ้าโดยรถยนต์ไฟฟ้ามีแบตเตอรี่ลิเธียมไอออน อุปกรณ์แปลงกระแสไฟฟ้า และมอเตอร์ไฟฟ้า สำหรับการขับเคลื่อน ขั้นตอนการทำงานของรถยนต์ไฟฟ้ามีจุดเริ่มต้นจากแบตเตอรี่ที่เป็นแหล่งเก็บพลังงานไฟฟ้ากระแสตรงต่อมาตัวแปลงกระแสไฟฟ้าจะดึงพลังงานจากแบตเตอรี่ไปเปลี่ยนเป็นไฟฟ้ากระแสสลับและส่งต่อไปยังตัวมอเตอร์เพื่อให้เกิดการขับเคลื่อนรถยนต์ ต่อไปและด้วยพลังงานไฟฟ้าอย่างเดียวก็เพียงพอที่จะทำให้เกิดการขับเคลื่อนอันนุ่มนวลและ “เงียบสงบ” จึงเรียกได้ว่าเป็นรถยนต์พลังงานไฟฟ้าที่สมบูรณ์แบบ 100% ซึ่งสามารถทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายได้มากขึ้น ทั้งค่าซ่อมบำรุง และค่าพลังงานที่ไฟฟ้าจะมีราคาน้อยกว่าพลังงานเชื้อเพลิง ยิ่งไปกว่านั้นรถยนต์ไฟฟ้านี้ สามารถตอบสนองการขับขี่ของคุณให้มีอัตราเร่งได้ดั่งใจเพราะมอเตอร์ไฟฟ้าสั่งการให้เกิดการขับเคลื่อนได้ทันที ที่สำคัญรถยนต์คันนี้ไม่มีการปล่อยไอเสียจึงไม่สร้างมลภาวะให้แก่โลกและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
นโยบายรถยนต์ที่ใช้พลังงานไฟฟ้า แบบ 100% (Battery Electric Vehicle - BEV) ในไทย
ด้านรัฐบาลไทยเองก็สนับสนุนเรื่องการใช้รถยนต์ไฟฟ้าเช่นกัน โดยมาตรการของรัฐบาลไม่ว่าเงินอุดหนุนค่ายรถให้นำไปเป็นส่วนลดแก่ประชาชนที่สนใจซื้อรถยนต์พลังงานไฟฟ้า BEV การลดภาษีนำเข้ารถยนต์ทั้งคัน ลดภาษีนำเข้าส่วนประกอบต่างๆ สำหรับนโยบายของบริษัทจำหน่ายรถยนต์ได้มีการขานรับมาตรการของรัฐบาลเช่นกัน เช่น บริษัท เทสลา (Tesla) ได้เข้ามาตั้งบริษัท เทสลา (ประเทศไทย) จำกัด ในประเทศไทย การเข้ามาของเทสลาครั้งนี้ สอดคล้องกับนโยบายใหม่ของรัฐบาลไทยที่ได้ออกมาตรการต่าง ๆ เพื่อรณรงค์ให้คนหันมาใช้รถยนต์ไฟฟ้ากันมากขึ้น
ทางมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีได้มีศูนย์วิจัย Mobility and Vehicle Technology Research Center (MOVE) เป็นศูนย์วิจัยชั้นนำของประเทศด้านยานยนต์สมัยใหม่ภายในปี พ.ศ. 2570
ศูนย์วิจัย MOVE มีเป้าหมายให้เป็นศูนย์วิจัยชั้นนำของประเทศด้านยานยนต์สมัยใหม่ภายในปี พ.ศ. 2570 โดยทางมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) มีนโยบายอย่างชัดเจนและได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องในการมุ่งสู่การเป็นมหาวิทยาลัยที่ยั่งยืน (Sustainable University) โดยมีนโยบายส่งเสริมการเดินทางแบบไร้มลพิษ เป็นหนึ่งในยุทธศาสตร์สำคัญในการลดการปลดปล่อยคาร์บอนเป็นศูนย์สุทธิของ มจธ. ภายในปี ค.ศ. 2040 (KMUTT Carbon Neutrality 2040) ที่จะส่งเสริมให้บุคลากรเปลี่ยนมาใช้ยานยนต์ไฟฟ้ากันมากขึ้น
ข้อดี-ข้อเสีย
ข้อดี
- รถยนต์ไฟฟ้าเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
- ลดมลภาวะทางเสียง
- ประหยัดค่าใช้จ่าย
- ชาร์จแบตได้จากที่บ้าน
ข้อเสีย
- ใช้เวลาในการเติมพลังงานช้ากว่าการเติมน้ำมัน
- ข้อจำกัดด้านระยะทางในการขับขี่
- อู่ซ่อมรถยนต์ไฟฟ้าโดยเฉพาะมีน้อย
- สถานีอัดประจุยังไม่ครอบคลุม
- ราคาสูง
รถยนต์ไฟฟ้าแบบ 100% ใช้เพียงพลังงานไฟฟ้าในการขับเคลื่อนและสามารถชาร์จไฟได้เพื่อกักเก็บพลังงานไฟฟ้าเป็นรถยนต์ที่มีนวัตกรรมสูง ซึ่งการทำงานของรถยนต์นี้เริ่มต้นจากแบตเตอรี่ที่เก็บพลังงานไฟฟ้า และมีการแปลงพลังงานจากแบตเตอรี่เป็นไฟฟ้ากระแสสลับเพื่อใช้ในการขับเคลื่อนผ่านมอเตอร์ไฟฟ้า โดยที่ไม่มีการใช้เชื้อเพลิงใดๆ เลย และไม่มีการปล่อยสารพิษออกมาจากท่อไอเสีย ทำให้ไม่สร้างมลภาวะในสิ่งแวดล้อม ทั้งฝุ่น PM 2.5 หรือ มลภาวะทางเสียง รถยนต์ไฟฟ้านี้ยังสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายได้มากขึ้น เนื่องจากมีค่าซ่อมบำรุงน้อยกว่ารถที่ใช้เชื้อเพลิง และพลังงานไฟฟ้ามีราคาต่ำกว่าเชื้อเพลิง
ดังนั้น การใช้รถยนต์พลังงานไฟฟ้า แบบ 100% (Battery Electric Vehicle - BEV) เป็นทางเลือกที่ดีทั้งสำหรับเราเองและสิ่งแวดล้อม สามารถช่วยลดมลภาวะทางอากาศและเสียงรบกวนที่เกิดจากการใช้งานรถยนต์ที่ใช้เชื้อเพลิงในการขับเคลื่อน ทั้งนี้ยังช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในระยะยาว เพราะรถยนต์ไฟฟ้ามีค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาที่น้อยกว่ารถยนต์ที่ใช้เชื้อเพลิง และนอกจากนี้ยังสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีที่สะอาดและยั่งยืนอีกด้วย จึงขอเชิญทุกคนมาเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างสังคมที่ยั่งยืนและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมโดยการเลือกใช้รถยนต์พลังงานไฟฟ้า แบบ 100% (Battery Electric Vehicle - BEV) เพราะรถยนต์พลังงานไฟฟ้าจะเป็นส่วนสำคัญของการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีและอนาคตของการขนส่ง ซึ่งจะส่งผลดีต่อสิ่งแวดล้อมและคุณภาพชีวิตของเราและรุ่นต่อๆ ไป
อ้างอิง
https://www.tyreplus.co.th/th/evcartype
https://www.kmutt.ac.th/news/move-seminar2021/
https://www.deveindus.com/noise-pollution/
https://www.eppo.go.th/epposite/index.php/en/component/k2/item/17404-ev-charging-201064
Categories
Hashtags