Solar Rooftop เปลี่ยนหลังคาบ้านให้เป็นแหล่งพลังงานสะอาด
Published: 1 August 2024
10 views

"เพราะพลังงานสิ้นเปลืองมากเกินไป เราจึงต้องหันมาใช้พลังงานสะอาดจากแสงอาทิตย์"

|Solar Rooftop พลังงานสะอาดจากแสงอาทิตย์

Solar Rooftop คือ การนำเอาแผงเซลล์แสงอาทิตย์ (Solar cell) มาติดตั้งบนหลังคาบ้านเรือนหรือที่พักอาศัยที่มีหลังคาเพื่อรับแสงจากดวงอาทิตย์ ตัวแผงผลิตไฟฟ้าออกมาเป็นกระแสตรง (DC) ส่งเข้าเครื่องแปลงกระแสไฟฟ้า (Inverter) ชนิดเชื่อมต่อกับสายส่งการไฟฟ้า เพื่อเปลี่ยนให้เป็นไฟกระแสสลับ (AC Distribution Box) โดยที่จะมีตู้ควบคุมระบบไฟฟ้า (Meter) ทำหน้าที่ในการควบคุมและจ่ายไฟฟ้าเข้าสู่ภายในบ้าน

|ทำไมต้องใช้ Solar Rooftop

Solar Rooftop มีหลักการทำงาน 3 รูปแบบ

1. หลังคาโซลาร์เซลล์แบบผูกกับโครงข่าย (On-Grid Systems)

ระบบที่เชื่อมต่อกับโครงข่ายสาธารณูปโภคในพื้นที่ ซึ่งไฟฟ้าส่วนเกินที่ผลิตจากแผงโซลาร์เซลล์สามารถป้อนกลับเข้าไปในโครงข่าย และผู้ใช้จะได้รับเครดิต (ผ่านการวัดสุทธิ) ซึ่งจะช่วยชดเชยการใช้ไฟฟ้าในอนาคต เมื่อแผงโซลาร์เซลล์ไม่สามารถผลิตไฟฟ้าได้เพียงพอ (เช่น ในเวลากลางคืน) ระบบจะดึงพลังงานจากโครงข่ายไฟฟ้า ซึ่งโดยปกติแล้วระบบเหล่านี้จะไม่มีระบบที่กักเก็บพลังงานด้วยแบตเตอรี่ เหมาะพื้นที่ในเมืองและชานเมืองที่สามารถเข้าถึงโครงข่ายไฟฟ้าได้

2. หลังคาโซลาร์เซลล์แบบออฟกริด (Off-Grid Solar Roofs)

ระบบที่ทำงานแยกจากโครงข่ายสาธารณูปโภคในพื้นที่ ต้องใช้ระบบกักเก็บพลังงานด้วยแบตเตอรี่เพื่อกักเก็บพลังงานส่วนเกินไว้ใช้ในช่วงที่แผงโซลาร์เซลล์ไม่สามารถผลิตไฟฟ้าได้ (เช่น ในเวลากลางคืนหรือในช่วงที่มีเมฆมาก) มักใช้ในพื้นที่ห่างไกลที่ไม่สามารถเข้าถึงโครงข่ายไฟฟ้าได้ มีราคาแพงกว่าเนื่องจากต้องใช้แบตเตอรี่และเครื่องกำเนิดไฟฟ้าสำรอง เหมาะสำหรับพื้นที่ห่างไกลหรือชนบท

3. หลังคาโซลาร์แบบไฮบริด (Hybrid Solar Roofs)

ระบบที่เชื่อมต่อกับโครงข่ายไฟฟ้าและระบบนอกโครงข่ายไฟฟ้าเข้าด้วยกัน รวมถึงระบบกักเก็บพลังงานด้วยแบตเตอรี่ที่สามารถจ่ายไฟฟ้าได้ในระหว่างที่ระบบไฟฟ้าขัดข้อง และจัดเก็บพลังงานส่วนเกินไว้ใช้ในภายหลัง

โดยในปัจจุบันระบบ Solar Rooftop ประเภทที่ได้รับความนิยมและใช้งานมากที่สุดคือ หลังคาโซลาร์เซลล์แบบผูกกับโครงข่าย (On-Grid Systems) เพราะติดตั้งง่าย มีความเสถียรในการจ่ายไฟ และมีความสะดวก ความคุ้มค่าในเรื่องของการขายไฟฟ้าที่เกินความต้องการกลับเข้าไปในระบบไฟฟ้าของรัฐและรับเครดิตที่ลดค่าไฟฟ้าได้ อีกทั้งยังสมารถลดค่าใช้จ่ายของเครื่องใช้ไฟฟ้าได้อีกด้วย

|แนวโน้มการใช้ Solar Rooftop ในไทย

ในประเทศไทย หลังคาโซลาร์เซลล์แบบผูกกับโครงข่าย (On-Grid Systems) เป็นประเภทที่ได้รับความนิยมสูงสุดเช่นกัน เหตุผลได้รับความนิยมในไทยเพราะ

1. การสนับสนุนจากรัฐบาล

o   โครงการส่งเสริมพลังงานทดแทน: รัฐบาลไทยมีโครงการต่างๆ เช่น โครงการ Solar Rooftop ที่สนับสนุนการติดตั้งระบบพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคา โดยมีกองทุนและเงินอุดหนุนเพื่อกระตุ้นให้ประชาชนและธุรกิจติดตั้ง

2. การคืนทุนและประหยัดค่าไฟฟ้า

o   การขายไฟฟ้ากลับสู่กริด: ระบบ Grid-Tied สามารถขายไฟฟ้าที่ผลิตเกินความต้องการกลับเข้าไปในระบบไฟฟ้าของรัฐผ่านการทำงานของ Net Metering ซึ่งช่วยลดค่าใช้จ่ายไฟฟ้าได้อย่างมาก

3. ความสะดวกในการติดตั้งและบำรุงรักษา

o   ค่าใช้จ่ายต่ำกว่า: การติดตั้งระบบ Grid-Tied ไม่จำเป็นต้องใช้แบตเตอรี่สำหรับการเก็บพลังงาน ซึ่งทำให้ต้นทุนการติดตั้งและบำรุงรักษาต่ำกว่าระบบ Off-Grid

4. ความเสถียรของระบบไฟฟ้า

o   การเข้าถึงระบบไฟฟ้าของรัฐ: ในพื้นที่ที่มีการเชื่อมต่อกับกริดไฟฟ้าอย่างดี การใช้ระบบ Grid-Tied จะทำให้การจ่ายไฟฟ้ามีความเสถียรและสามารถดึงไฟฟ้าจากกริดเมื่อจำเป็น

5. ความต้องการพลังงาน

o   ความต้องการพลังงานที่เพิ่มขึ้น: ระบบ Grid-Tied เหมาะสำหรับทั้งบ้านและธุรกิจที่มีความต้องการพลังงานสูง และสามารถจัดการกับการใช้พลังงานในช่วงที่ไม่มีแสงแดดได้ดี

ซึ่ง TTB Analytics คาดการณ์ว่าตลาดโซลาร์รูฟท็อปในไทย ปี 2568 เติบโตกระโดด 22% แตะ 6.7 หมื่นล้านบาท รับเทรนด์รักษ์โลก และรับมือแนวโน้มค่าไฟในอนาคต ซึ่งตลาดโซลาร์รูฟท็อปในไทยยังเติบโตต่อเนื่อง คนไทยแห่กันติดตั้งเพื่อรับมือค่าไฟแพง และรับเทรนด์พลังงานสะอาด ที่กำลังมาแรง โดยศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ทีทีบี หรือ TTB Analytics แนะนำผู้ประกอบการหันมาทำธุรกิจติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์สำหรับภาคครัวเรือนและธุรกิจ SMEs เพื่อรับมือค่าไฟในอนาคต และระยะเวลาคืนทุนเร็วขึ้น ส่งผลให้ตลาดโซลาร์รูฟท็อป (Solar Rooftop) ในประเทศเติบโตอย่างก้าวกระโดดเฉลี่ยปีละ 22% หรือแตะระดับ 6.7 หมื่นล้านบาท ในปี 2568

|มจธ.เป็นส่วนหนึ่งในการช่วยประหยัดพลังงานโลก ด้วยการหันมาใช้ Solar Rooftop

ในปีที่ผ่านมา มจธ. ได้หันมาใช้โซลาร์รูฟท็อปในมหาวิทยาลัย โดยปัจจุบัน โซลาร์รูฟท็อปแบบ หลังคาโซลาร์เซลล์แบบผูกกับโครงข่าย (On-Grid Systems) ได้ถูกติดตั้งใช้งานทั่วมหาวิทยาลัย โดยมีเป้าหมายเพื่อลดการใช้ไฟฟ้าจากการไฟฟ้านครหลวงในช่วงที่มีความต้องการไฟฟ้าสูงสุด ในช่วงต้นปี 2563 มหาวิทยาลัยจะเริ่มติดตั้งแผงโซลาร์บนหลังคา โดยเฉพาะที่อาคารทั้งหมดของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี วิทยาเขตบางมดและวิทยาเขตบางขุนเทียน ซึ่งจะดำเนินการตามแผนเพื่อขยายกำลังการผลิตให้ได้ถึง 2.6 MWp หรือ 5% ของปริมาณการใช้ไฟฟ้าทั้งหมด

ซึ่งในปี 2567 มจธ.มีเป้าหมายที่จะหันมาใช้ Solar Rooftop เพิ่มมากขึ้นในทุกพื้นที่การศึกษาทั้ง 3 พื้นที่ได้แก่ พื้นที่บางมด พื้นที่บางขุนเทียนพื้นที่ราชบุรี ถึงร้อยละ 30 %



อ้างอิง

แรงบันดาลใจจากข้อมูลการสัมภาษณ์ ดร.ปรีชา อาการศ ในวันที่ 19 กรกฎาคม 2567

https://kmutt.me/Solar-Rooftop

https://energy-thaichamber.org/solar-rooftop-68/

https://sustainable.kmutt.ac.th/th/energy-and-climate-change/renewable-energy-usage/




Comments
To join the comment, please sign in.
Sign in
Don’t have an account? Register
Loading comments...