Soft Power ซีรีส์วายขึ้นแท่นอันดับ 1 ในเอเชีย ปลุกเศรษฐกิจของไทย
Published: 1 April 2024
175 views

Soft Power ซีรีส์วายขึ้นแท่นอันดับ 1 ในเอเชีย ปลุกเศรษฐกิจของไทย

  จุดเริ่มต้นของซีรีส์วายไทยก็คือ Love Sick The Series (2557) ตีคู่กันมากับซีรีส์ Hormones The Series ฮอร์โมนวัยว้าวุ่น (2556-2558) จากนั้นก็มีแพลตฟอร์มไลน์ทีวี ที่กลายมาเป็นแพลตฟอร์มหลักของซีรีส์วายไทยและเป็นกำลังหลักในการทำให้ซีรีส์วายในไทยเติบโตอย่างมากก็ว่าได้ โดยในปี 2559 ไลน์ทีสีก็ได้คลอดซีรีส์วายเรื่องแรกออกมาชื่อ SOTUS The Series (2559) และประสบความสำเร็จอย่างมหาศาล จนทำให้มีซีรีส์วายเรื่องต่อๆ มาอีกมากมาย และกลายเป็นแหล่งแจ้งเกิดซีรีส์วายคู่จิ้นของไทย

   ความเติบโตของซีรีส์วายไทยเห็นได้ในปี 2563 มีซีรีส์วายออกฉายมากกว่า 24 เรื่อง และในปี 2564 ก็ขยับมาเป็นกว่า 47 เรื่อง และล่าสุดในปี 2565 ที่แม้ไลน์ทีวีจะประกาศปิดตัวลงไปแล้วตั้งแต่สิ้นปี ก็ยังมีซีรีส์วายออกมาให้ได้ชมกันกว่า 70 เรื่องเลยทีเดียว ซึ่งส่วนใหญ่แล้วมาจากค่าย GMM TV ที่กลายมาเป็นหัวเรือใหญ่และผู้ผลิตซีรีส์วายรายใหญ่ของไทยในตอนนี้

กระแสซีรีส์วายไทยในต่างประเทศยังเป็นอีกหนึ่งเหตุผลที่น่าคิดว่าซีรีส์วายไทยอาจจะเป็นซอฟต์พาวเวอร์ของไทยที่สามารถสร้างทั้งเงินและชื่อเสียงกลับมาสู่ประเทศไทยได้ นอกจากการสนับสนุนรายคู่จิ้นหรือรายคนจากด้อมแฟนคลับทั่วโลก เช่น เมื่อปี 2017 แฟนคลับชาวจีนของหนุ่มสิงโต ปราชญา (นักแสดงซีรีส์วาย SOTUS The Series) ได้ซื้อดาวพร้อมตั้งชื่อดาวว่า 'Singto Prachaya Ruangroj' ให้กับเขา และถึงแม้ตัวซีรีส์จะไม่ได้ฉายในจีน แต่ก็มีการจัดแฟนมีตติ้งในประเทศจีนขายบัตรอย่างเป็นเรื่องเป็นราวไม่พียงแค่จีนแต่ยังรวมไปถึง ฟิลิปปินส์ เวียดนาม ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ด้วย

ทำไมกฎหมายสมรสเท่าเทียมจึงสำคัญมาก

การสมรสของผู้มีความหลากหลายทางเพศ ไม่จำกัดเฉพาะชายและหญิงเท่านั้นแต่จะครอบคลุมทุกเพศสภาพ ทั้งเพศวิถีและอัตลักษณ์ทางเพศเพื่อให้บุคคลเหล่านี้ได้รับความคุ้มครองทางกฎหมายตามหลักความเสมอภาคและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ โดยจะก่อให้เกิดสิทธิในการหมั้น การจดทะเบียนสมรส การจัดการทรัพย์สินของคู่สมรส การเป็นผู้จัดการแทนในทางอาญาเช่นเดียวกับคู่สมรส การรับมรดกเมื่ออีกฝ่ายเสียชีวิต การรับบุตรบุญธรรม การรับมรดกในฐานะทายาทโดยธรรม รวมทั้งได้รับสิทธิประโยชน์การเบิกจ่ายสวัสดิการจากรัฐในฐานะคู่สมรส

สภาผู้แทนราษฎร มีมติรับหลักการร่างกฎหมายสมรสเท่าเทียม 4 ฉบับในวาระที่ 1

Photo by: สภาผ่านร่างกฎหมายสมรสเท่าเทียมแล้ว on BBC NEWS Thai

สภาผู้แทนราษฎร มีมติรับหลักการร่างกฎหมายสมรสเท่าเทียม 4 ฉบับในวาระที่ 1 พร้อมตั้งกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาในวาระที่ 2 จำนวน 39 คน โดยใช้ร่างกฎหมายฉบับที่คณะรัฐมนตรีเสนอเป็นร่างหลักในการพิจารณาชั้นกรรมาธิการ

การผ่านร่างกฎหมายสมรสเท่าเทียมของสภาผู้แทนราษฎรในวันที่ 27 มี.ค. 2567 ส่งผลให้ไทยกำลังจะเป็นประเทศที่ 3 ในเอเชีย ถัดจากไต้หวันและเนปาล และเป็นประเทศแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่มีกฎหมายแต่งงานของบุคคลเพศเดียวกัน

ขั้นตอนหลังจากนี้ สภาจะส่งร่าง พ.ร.บ.สมรสเท่าเทียม ให้วุฒิสภาพิจารณาในวาระ 2-3 หากได้รับความเห็นชอบ นายกรัฐมนตรีก็จะนำร่างขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายเพื่อประกาศใช้ต่อไป

Photo by: เปิดรายละเอียดร่างกฎหมายสมรสเท่าเทียม หลังผ่านชั้นกรรมาธิการฯ on THE STANDARD

สิทธิในกฎหมายสมรสเท่าเทียม

สิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานสำหรับกลุ่ม LGBTQ+ สู่ความเสมอภาคอย่างแท้จริง เช่น สิทธิในการหมั้น สิทธิในการจดทะเบียนสมรส สิทธิในการจัดการทรัพย์สินของคู่สมรส สิทธิในการเป็นทายาทโดยธรรม การรับบุตรบุญธรรม และการรับมรดกจากคู่สมรส

สิทธิในการก่อตั้งครอบครัวเป็นของทุกคน โดยคู่สมรสซึ่งเป็นเพศเดียวกันและจดทะเบียนสมรส สามารถรับเลี้ยงดูบุตรบุญธรรมร่วมกันได้ และให้มีสิทธิหน้าที่ระหว่างคู่สมรสด้วยกัน ระหว่างบิดา มารดา บุตร แล้วแต่กรณีตามบรรดากฎหมาย กฎกระทรวง และระเบียบบัญญัติ ซึ่งรวมไปถึงการได้รับสิทธิ สวัสดิการต่าง ๆ ในการสมรสอีกด้วย

ไม่ผลักภาระสินสอดให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ไม่ว่าคู่สมรสจะเป็นเพศใด ย่อมมีสิทธิรับมรดกของคู่สมรส แม้อีกฝ่ายจะไม่ได้ทำพินัยกรรมก็ตาม การหมั้นจะสมบูรณ์ได้ต่อเมื่อมีการมอบของหมั้น สำหรับเป็นหลักฐาน ป.พ.พ.เดิมกำหนดให้ฝ่ายชาย ซึ่งหมายถึงตัวชายคู่หมั้นรวมไปถึงบิดามารดาของชายคู่หมั้น ต้องมอบของหมั้นให้แก่ฝ่ายหญิง เมื่อหมั้นแล้วของหมั้นนั้นจะตกเป็นของฝ่ายหญิง

สำหรับร่างแก้ไขป.พ.พ.กำหนดให้ ฝ่าย ‘ผู้หมั้น’ ซึ่งหมายถึงตัวผู้หมั้นเองไม่ว่าจะเป็นเพศอะไรก็ตาม รวมไปถึงบิดามารดาของผู้หมั้น ส่งมอบของหมั้นแก่ ‘ผู้รับหมั้น’ ของหมั้นตกเป็นของผู้รับหมั้น โดยเหตุที่ไม่ได้มีถ้อยคำที่จำกัดเพศ ย่อมหมายความว่าคู่หมั้นมีสิทธิที่จะเลือกรับของหมั้นแต่เพียงฝ่ายเดียวก็ได้ เพื่อให้เกิดการหมั้นตามกฎหมาย หรือหากไม่อยากเป็นฝ่ายรับของหมั้นแต่เพียงฝ่ายเดียว แต่อยากแลกเปลี่ยนของหมั้นกัน ก็สามารถทำได้

กลุ่ม LGBTQ+ มีสิทธิในการมีครอบครัวอย่างถูกต้องตามกฎหมาย เช่น สามารถกู้ซื้อบ้านด้วยกัน ทำประกันชีวิต หรือในเรื่องการลดหย่อนภาษี การรับบุตรบุญธรรม สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้จะสามารถปลดล็อคศักดิ์ศรี สิทธิ และสวัสดิการ

การยกระดับความก้าวหน้าทางกฎหมายของไทย ความพยายามที่จะเปลี่ยนแปลงกฎหมายให้กับทุกคนได้เข้าถึง สอดคล้องกับปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (Universal Declaration of Human Rights หรือ UDHR) และอนุสัญญาอีกหลายฉบับ เช่น แผนการพัฒนาโลกเพื่อความยั่งยืน (SDGs), กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (ICCPR), กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม (ICESCR), อนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติในทุกรูปแบบต่อสตรี (CEDAW), อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก (CRC)

หลังจากนี้เรามาลุ้นกันว่า กฎหมายสมรสเท่าเทียมจะได้เป็นกฎหมายที่ประกาศใช้ได้หรือไม่อย่างไร โปรดติดตามข่าวสารกันต่อไป..






อ้างอิง

https://www.ryt9.com/s/prg/3274043

https://www.punpro.com/p/Thailand-Y-Series-The-Best

https://www.bbc.com/thai/articles/cn0edj0dq6lo

https://www.gqthailand.com/culture/movie/article/series-y-soft-

powerhttps://www.punpro.com/p/Thailand-Y-Series-The-Best

Comments
To join the comment, please sign in.
Sign in
Don’t have an account? Register
Loading comments...