มันสำปะหลังพันธุ์พิรุณ 4: เกษตรเพื่อเพิ่มผลผลิตและความยั่งยืน
Published: 20 June 2024
12 views

จากศูนย์เรียนรู้ หน่วยปฏิบัติการวิจัยร่วมทางธรรมชาติวิทยาป่าพรุ และป่าดิบชื้นฮาลาบาลาจังหวัดนราธิวาส ศ. ดร. มรกต ตันติเจริญ ซื้อที่ดินจำนวน 2 ไร่ 2 งาน มอบให้แก่ชุมชนตำบลโละจูดใช้ประโยชน์ร่วมกับเจ้าหน้าที่หน่วยงานต่าง ๆ เพื่อพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์การเรียนรู้ของเด็กๆ ในชุมชน เป็นที่ทำการของเครือขายรักษ์ป่าและถ่ายทอดเทคโนโลยีงานวิจัยด้านต่าง ๆ โดยนายชวลิต นิยมธรรมเป็นรักษาการหัวหน้าหน่วยฯและนายสุนทร โต๊ดำ เป็นผู้ประสานงานดำเนินการเริ่มดำเนินเมื่อ วันที่ 1 มกราคม 2547 จากศูนย์เรียนรู้ฯ มีการเพาะพันธ์กล้าต้นไม้ เลี้ยงผึ้ง โรงเรือนเลี้ยงใส้เดือน และเพาะพันธุ์มันสำปะหลังพันธุ์

มันสำปะหลังพันธุ์พิรุณ 1 พิรุณ 2 และ พิรุณ 4 พัฒนาขึ้นจากความร่วมมือของ กรมวิชาการเกษตร (ดร.โอภาษ บุญเส็ง) สถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล มหาวิทยาลัยมหิดล (รศ.ดร.กนกพร ไตรวิทยากร และคณะ) ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ สานักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ เกิดจากการผสมแบบสลับ (cross-reciprocal) โดยเลือกใช้พันธุ์ห้วยบง 60 เป็นต้นแม่ ซึ่งมีลักษณะปริมาณแป้งในหัวสดสูง ผลผลิตสูง ปริมาณไซยาไนด์สูง และอัตราการเจริญเติบโตในช่วงแรกต่ำ และเลือกใช้พันธุ์ห้านาทีเป็นต้นพ่อ ซึ่งมีลักษณะปริมาณแป้งในหัวสดต่ำ ผลผลิตต่ำ ปริมาณไซยาไนด์ต่ำ และอัตราการเจริญเติบโตในช่วงแรกสูง เริ่มต้นผสมพันธุ์ตั้งแต่ปี 2549 ลูกผสมที่สร้างขึ้นส่วนหนึ่งนำไปใช้ในการศึกษาและพัฒนาเครื่องหมายโมเลกุล (DNA-marker) เพื่อช่วยในการคัดเลือกปริมาณแป้งสูง และไซยาไนด์ต่ำ อีกส่วนหนึ่งนำไปคัดเลือกและประเมินพันธุ์ตามแบบวิธีมาตรฐาน (conventional breeding) พบว่า มีลูกผสมบางสายพันธุ์ที่ให้ผลผลิตและเปอร์เซ็นต์แป้งสูง สามารถนำมาพัฒนาเป็นสายพันธุ์ใหม่ได้ ดังนั้น สวทช. จึงได้สนับสนุนโครงการต่อเนื่องเพื่อนำสายพันธุ์ที่มีศักยภาพในด้านผลผลิตและเปอร์เซ็นต์แป้งมาปลูกทดสอบในสภาพแปลงทดลองและคัดเลือกตามขั้นตอนการปรับปรุงพันธุ์ด้วยวิธีมาตรฐาน(Piyaporn Setsiriphaiboon,2563)

 มันสำปะหลังพันธุ์"พิรุณ 4" เป็นหนึ่งในพันธุ์มันสำปะหลังที่ได้รับการพัฒนาขึ้นเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและตอบสนองต่อความต้องการของเกษตรกร โดยมีคุณสมบัติที่โดดเด่นหลายประการที่เหมาะสมกับการปลูกในหลายพื้นที่ รายละเอียดเกี่ยวกับมันสำปะหลังพันธุ์ "พิรุณ 4" มีดังนี้:

1. คุณสมบัติทางการเกษตร:

  - การเจริญเติบโต: พันธุ์พิรุณ 4 มีการเจริญเติบโตที่รวดเร็วและแข็งแรง สามารถทนต่อสภาพอากาศและดินที่หลากหลายได้ดี

  - ผลผลิต: มีศักยภาพในการให้ผลผลิตที่สูงและเสถียร เหมาะสมกับการปลูกเพื่อการค้า

  - ความทนทานต่อโรค: มีความต้านทานต่อโรคและแมลงศัตรูพืชที่สำคัญหลายชนิด ทำให้ลดความเสียหายและเพิ่มโอกาสในการได้ผลผลิตที่ดี

2. คุณสมบัติทางการใช้ประโยชน์:

  - คุณภาพแป้ง: มีปริมาณแป้งสูง ทำให้เหมาะสมสำหรับการใช้ในอุตสาหกรรมแป้งมันสำปะหลัง

  - ความหวาน: มันสำปะหลังพันธุ์นี้มีระดับความหวานที่พอเหมาะ สามารถนำไปใช้ในอุตสาหกรรมอาหารสัตว์และการผลิตอาหารอื่น ๆ

3. ประโยชน์ที่ได้รับจากการปลูก:

  - เพิ่มรายได้: ด้วยผลผลิตที่สูงและคุณภาพดี เกษตรกรสามารถเพิ่มรายได้จากการขายมันสำปะหลังพันธุ์พิรุณ 4

  - เสริมสร้างความมั่นคงทางอาหาร: การปลูกมันสำปะหลังพันธุ์นี้ช่วยเพิ่มปริมาณและคุณภาพของอาหารสัตว์และผลิตภัณฑ์อาหารอื่น ๆ

  - การสนับสนุนด้านเศรษฐกิจ: การปลูกมันสำปะหลังพันธุ์นี้ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจในพื้นที่ชนบทและเสริมสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจให้กับชุมชนเกษตรกร

พันธุ์มันสำปะหลังพิรุณ 4 เป็นตัวเลือกที่ดีสำหรับเกษตรกรที่ต้องการเพิ่มผลผลิตและคุณภาพของมันสำปะหลัง ทำให้เป็นที่นิยมและได้รับการส่งเสริมในการปลูกในหลายพื้นที่ของประเทศไทยเช่นเดียวมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ได้นำ มันสัมปะหลัง พันธุ์พิรุณ4 ในแปลงปลูกมีการเจริญเติบโตได้ดี ได้ขยายพันธุ์ให้ชาวบ้านไปเพาะปลูกและศูนย์การเรียนรู้ฯ ลองนำมาแปรรูปเป็นไส้ขนมกะหรี่พัฟ ซึ่งได้รสชาติดีน่าขยายตลาดสร้างรายได้ให้ชาวบ้านได้ เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน 2567 ศ. ดร. มรกต ตันติเจริญ ได้มอบท่อนพันธุ์พิรุณ5 ให้กับศูนย์เรียนรู้ หน่วยปฏิบัติการวิจัยร่วมทางธรรมชาติวิทยาป่าพรุ และป่าดิบชื้นฮาลาบาลาจังหวัดนราธิวาส เพื่อทดลองปลูกและการใช้ประโยชน์ในพื้นที่ต่อไป


อ้างอิง

Piyaporn Setsiriphaiboon. (2563). ความแตกต่างของมันสำปะหลังพันธุ์พิรุณ 1 พิรุณ 2 และพิรุณ 4. https://www.nstda.or.th/agritec/pirun-different/






Categories

Comments
To join the comment, please sign in.
Sign in
Don’t have an account? Register
Loading comments...