บทเรียนจากรัง: ผึ้งและชันโรงในมุมของผู้เรียนรู้
Published: 14 May 2025
0 views

ความคิดแรกของฉัน ‘ชันโรง’ คืออะไร? มันจะเลี้ยงยากไหม? จะต่อยหรือเปล่า? แต่วันนี้ ฉันได้มาลองเรียนรู้ด้วยตนเอง มองรังไม้ใบเล็ก ๆ ที่มีเสียงหึ่งเบา ๆ และยิ้มด้วยหัวใจที่เต็มไปด้วยความสุข"

ฉันได้เข้าร่วมอบรมที่จัดโดย ศูนย์วิจัยผึ้งพื้นเมืองและแมลงผสมเกสร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) ราชบุรี หัวข้อคือ การจัดอบรมการถ่ายทอดเทคโนโลยี การเลี้ยงผึ้งพื้นเมืองไทย (ผึ้งโพรงและชันโรง)เพื่อผลิตน้ำผึ้งได้ตามมาตรฐาน GAP,GMP และ การใช้ผึ้งเพื่อช่วยผสมเกสรเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร ฉันเข้าไปแบบคนไม่รู้อะไรเลยเกี่ยวกับผึ้งนอกจากกลัวมันต่อย และไม่คิดเลยว่า “ผึ้งที่ไม่ต่อย” จะมีจริง

รู้จัก “ชันโรง” กันก่อน

ภายในห้องอบรม มีแต่ภาพรังผึ้งหน้าตาแปลก ๆ ตัวเล็ก ๆ ที่ไม่ใช่ผึ้งที่เราคุ้นตา อาจารย์อรวรรณ ดวงภักดี ผู้เชี่ยวชาญด้านผึ้งพื้นเมือง ได้เล่าให้ฟังถึงความหลากหลายของชันโรงในประเทศไทยกว่า 35 ชนิด ฉันแทบไม่เชื่อเลยว่า เจ้าตัวเล็ก ๆ นี้ มีบทบาทสำคัญในระบบนิเวศมากขนาดนั้น

ครั้งแรกที่ได้มีโอกาสที่ได้ลอง “ย้ายรัง” ด้วยมือตนเอง

กิจกรรมที่ทำให้ฉันตื่นเต้นที่สุดคือการได้ลอง ย้ายรังชันโรงมาใส่กล่องเลี้ยง เราเรียนรู้วิธีใช้เครื่องมือ เช่น สิ่ว ค้อน ตะแกรง สิ่งที่พบมันไม่ยากอย่างที่คิด “ชันโรงไม่ต่อยนะคะ มันใจเย็น แต่มันกัดได้ และต่อจากนั้นเราก็ได้ย้ายผึ้งโพรงมาใส่กล่องความตื่นเต้นเพิ่มขึ้น 100% สำหรับท่านใดอยากมีประสบการณ์แบบนี้ต้องมาเรียนรู้ด้วยตนเองนะค่ะ


จากน้ำผึ้งหยดเล็ก ๆ....สู่ความฝันที่จะเริ่มต้นจากรังไม้ใบนี้

หลังจบการอบรม ฉันกลับมาบ้านพร้อมกับดวงตาเป็นประกาย จากคนที่เคยกลัวผึ้ง ฉันอยากอนุรักษ์ชันโรง อยากให้ทุกคนได้เห็นความสำคัญของผสมเกสร เรียนรู้การอยู่ร่วมกับธรรมชาติแบบนี้

ฉันได้รู้ว่านี่ไม่ใช่แค่เรื่อง “เลี้ยงผึ้ง” แต่เป็นการเรียนรู้การอยู่ร่วมกับธรรมชาติอย่างสมดุล การเรียนรู้วิธีเลี้ยง การขยายพันธุ์ และการจัดการศัตรูตามแนวทางธรรมชาติ ช่วยให้เกิดรายได้เสริม ลดต้นทุนเกษตร และส่งเสริมการอนุรักษ์ทรัพยากรท้องถิ่น หากท่านใดสนใจ สามารถติดต่อศูนย์วิจัยผึ้งพื้นเมืองและแมลงผสมเกสร มจธ.ราชบุรี









Categories

Comments
To join the comment, please sign in.
Sign in
Don’t have an account? Register
Loading comments...