ต้นเหียง: พลังแห่งป่าเต็งรัง
Published: 14 January 2025
1 views

ต้นเหียง จากศูนย์เรียนรู้ป่าเต็งรัง มจธ. วิทยาเขตราชบุรี

ศูนย์เรียนรู้แห่งนี้มุ่งเน้นการอนุรักษ์และให้ความรู้เกี่ยวกับระบบนิเวศป่าเต็งรัง โดยมีจุดเด่นในการศึกษาพันธุ์ไม้ในพื้นที่ เช่น ต้นเหียง ต้นเต็ง ต้นรัง และต้นไม้พื้นเมืองอื่น ๆ

ต้นเหียง เป็นไม้ยืนต้นชนิดหนึ่งที่เป็นส่วนสำคัญของระบบนิเวศป่าเต็งรัง พบได้ทั่วไปในพื้นที่ที่มีดินค่อนข้างแห้งแล้ง เช่น ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคตะวันตกของประเทศไทย รวมถึงพื้นที่ของ ศูนย์เรียนรู้ป่าเต็งรัง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) วิทยาเขตราชบุรี

ชื่อวิทยาศาสตร์ Dipterocarpus obtusifolius Teijsm. ex Miq

ชื่อวงศ์ DIPTEROCARPACEAE  

ชื่อสามัญ Hairy Keruing

ชื่ออื่นๆ ยางเหียง สะแบง ซาด กุง                                                         

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :  ไม้ต้นขนาดกลางสูง 8-30 เมตร ผลัดใบ เปลือก แตกเป็นสะเก็ดหนาเป็นร่องลึก ใบเดี่ยวเรียงเวียนสลับ แผ่นใบรูปไข่ขนาดใหญ่ ดอกออกรวมเป็นช่อเดี่ยวตามซอกใบใกล้ปลายกิ่ง สีชมพูสด กลีบดอกรูปกรวย โคนกลีบชิดกันปลายบิดเวียนเป็นรูปกังหัน ผลแห้งแบบผลผนังชั้นในแข็ง ปีกที่พัฒนามาจากกลีบเลี้ยง 5 ปีก ออกดอกเดือน พ.ย-ม.ค.           

ความสำคัญของต้นเหียงในป่าเต็งรัง:

  1. เป็นต้นไม้เด่นในระบบนิเวศ
  2. ต้นเหียงเป็นหนึ่งในพันธุ์ไม้สำคัญของป่าเต็งรัง โดยช่วยปกคลุมดินและรักษาความสมดุลของความชื้นในพื้นที่แห้งแล้ง

ประโยชน์

  • เนื้อไม้ของต้นเหียงมีความแข็งแรง ใช้ทำเครื่องเรือนหรือเครื่องมือทางการเกษตร
  • ชาวบ้านมักใช้ ยางเหียง สำหรับทำเชื้อเพลิง หรือนำไปเคลือบไม้ป้องกันปลวก
  • สรรพคุณทางสมุนไพร ใบต้มน้ำผสมน้ำเกลือ อมแก้ปวดฟัน ฟันโยกคลอน ส่วนเปลือกต้นใช้ต้มน้ำดื่มแก้ท้องเสีย

บทบาทเชิงอนุรักษ์

  • เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่า เช่น แมลง นก และสัตว์เล็กต่าง ๆ
  • มีบทบาทสำคัญในการฟื้นฟูป่าที่เสื่อมโทรม






Categories

Hashtags

Comments
To join the comment, please sign in.
Sign in
Don’t have an account? Register
Loading comments...