จุดเริ่มต้นเล็ก ๆ ของผึ้งน้อย
ผึ้งมิ้ม (Apis florea) เป็นผึ้งพันธุ์พื้นเมืองของไทย ขนาดเล็กกว่าเพื่อนร่วมเผ่าพันธุ์อย่างผึ้งหลวงหรือผึ้งโพรง แต่สิ่งที่น่าทึ่งคือ พวกมันไม่ดุร้าย ไม่ต้องการพื้นที่มาก
การเลี้ยงผึ้งมิ้ม (Apis florea)
การเลี้ยงผึ้งเป็นอาชีพที่มีประวัติความเป็นมายาวนาน และมีสำคัญทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ผึ้งยังเป็นแมลงที่มีบทบาทในการผสมเกสร ซึ่งส่งผลต่อผลผลิตพืชหลายชนิดในระบบเกษตรกรรม
การเลี้ยงผึ้งมีหลากหลายสายพันธุ์ เช่น ผึ้งโพรง (Apis cerana), ผึ้งหลวง (Apis dorsata) และ ผึ้งมิ้ม (Apis florea) โดยแต่ละชนิดมีลักษณะการเลี้ยงและการดูแลที่แตกต่างกัน
น้ําผึ้งผึ้งมิ้ม Apis florea
"การพัฒนาการเลี้ยงผึ้งมิ้ม (Apis florea)"
ผึ้งมิ้ม (Apis florea) เป็นผึ้งขนาดเล็กที่พบได้ทั่วไปในประเทศไทย เนื่องจากสามารถปรับตัวได้ดี มีพฤติกรรมไม่ดุร้าย และมีโรคหรือศัตรูน้อย จึงเหมาะสำหรับการเลี้ยงในพื้นที่จำกัด งานวิจัยนี้มุ่งเน้นการพัฒนาการเลี้ยงผึ้งมิ้มเชิงเศรษฐกิจ โดยการปลูกพืชอาหารผึ้ง เช่น กุหลาบ ดาวกระจาย และพวงชมพู เพื่อผลิตน้ำผึ้งที่มีเอกลักษณ์เฉพาะ (unique uniflora honey) โดยไม่รวมมะลิเนื่องจากไม่ดึงดูดผึ้งเพียงพอ
เก็บน้ำหวานเกสรดอกไม้
ผลการวิจัยพบว่า ผึ้งมิ้ม (Apis florea) เป็นผึ้งพื้นเมืองขนาดเล็กของเอเชียที่สามารถปรับตัวได้ดีในสภาพแวดล้อมที่หลากหลาย พบได้ทั่วไปในทุกภูมิภาคของประเทศไทย โดยสร้างรวงรังขนาดเล็กบนกิ่งไม้หรือไม้พุ่ม การทดลองเลี้ยงผึ้งให้ผลผลิตน้ำผึ้งเฉลี่ย 393.2 กรัมต่อรัง ซึ่งยังต่ำกว่าจุดคุ้มทุน เนื่องจากรังผึ้งมีอายุเฉลี่ยเพียง 56.4 วัน และเก็บน้ำผึ้งได้เพียง 2 ครั้งต่อรัง อย่างไรก็ตาม น้ำผึ้งจากผึ้งมิ้มตรวจพบสารอินทรีย์ระเหยง่ายหลายชนิดที่มีคุณสมบัติทางชีวภาพและศักยภาพในการเป็นสารส่งเสริมสุขภาพ
ผึ้งมิ้มที่เลี้ยงเพื่อการเก็บน้ําผึ้ง
แนวทางการเลี้ยงผึ้งมิ้มแบบไร้ของเสีย (Zero Waste Beekeeping) จึงเป็นทางเลือกใหม่ในการสร้างรายได้เสริมในระดับครัวเรือน และมีศักยภาพในการพัฒนาสู่เชิงพาณิชย์ในอนาคต
ศูนย์วิจัยผึ้งพื้นเมืองและแมลงผสมเกสร (Native Honeybee and Pollinator Center) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี วิทยาเขตราชบุรี รองศาสตราจารย์ ดร.อรวรรณ ดวงภักดี หัวหน้าศูนย์วิจัยผึ้งพื้นเมืองและแมลงผสมเกสร (Native Honeybee and Pollinator Center) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี วิทยาเขตราชบุรี เป็นแหล่งเรียนรู้และพัฒนาองค์ความรู้ด้านการอนุรักษ์ผึ้งพื้นเมืองและแมลงผสมเกสรที่สำคัญของประเทศไทย ศูนย์ฯ มุ่งเน้นการวิจัยเชิงลึกเพื่อสนับสนุนการเกษตรแบบยั่งยืน การเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรผ่านการผสมเกสรโดยธรรมชาติ ตลอดจนการสร้างนวัตกรรมจากผลิตผลของผึ้งเพื่อเสริมสร้างเศรษฐกิจในระดับชุมชนและครัวเรือน อีกทั้งยังทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางการถ่ายทอดความรู้และเทคโนโลยีให้แก่เกษตรกร นักเรียน นักศึกษา และประชาชนทั่วไป เพื่อร่วมกันอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพของแมลงผสมเกสร ติดตามข่าวสารศูนย์วิจัยผึ้งพื้นเมืองและแมลงผสมเกสรได้ที่นี้
อ้างอิง
อรวรรณ ดวงภักดี ปรีชา รอดอิ่ม นงนาถ พ่อค้า และกัลย์ธีรา สุนทราภิรักษ์กุล. (2559). การพัฒนามูลค่าเพิ่มในน้ำผึ้งและผลิตภัณฑ์จากผึ้งพื้นเมืองในประเทศไทย. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ราชบุรี
Categories
Hashtags