กลุ่มวิจัยเทคโนโลยีผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (ราชบุรี ) การพัฒนาผลิตภัณฑ์กลุ่มสุขภาพและความงามจากพืชสมุนไพรพื้นที่ ฮาลา-บาลา จังหวัดนราธิวาส จากการที่ได้ไปเยี่ยมชมและศึกษาพืชตระกูลขิงข่า ณ โครงการสำรวจและรวบรวมพันธุ์ไม้ดอกไม้ประดับป่าภาคใต้ โรงเรียนเครือข่ายและหมู่บ้านเครือข่ายรักษ์ป่าบาลา อำเภอแว้ง จังหวัดนราธิวาส กลับมาแล้วได้มีการพัฒนาผลิตภัฑณ์ในกลุ่มสุขภาพและความงามจากพืชสนุนไพรในพื้นที่ ฮาลา-บาลา จังหวัดนราธิวาส
ทีมนักวิจัยได้รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับสรรพคุณของพืชสมุนไพรเหล่านี้ พร้อมทำความเข้าใจเกี่ยวกับวิธีการใช้สมุนไพรในวิถีชีวิตประจำวัน โดยโจทย์สำคัญที่ได้จากการศึกษาดูงานในครั้งนี้คือ การนำพืชสมุนไพรที่มีอยู่ในพื้นที่มาสร้างมูลค่าเพิ่มผ่านการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ที่ตอบโจทย์ตลาดสุขภาพและความงาม ที่มีความโดดเด่นในด้านการนำมาใช้พัฒนาผลิตภัณฑ์สุขภาพและความงาม เช่น ดอกดาหลา (Torch Ginger) ว่านสาวหลง ตะไคร้หอม และตะไคร้ต้น
ดอกดาหลา
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Etlingera elatior (Jack) R.M. Smith
ชื่อเรียกอื่น : กาหลา, กะลา
ชื่อวงศ์ : ZINGIBERACEAE
ว่านสาวหลง
ชื่อวิทยาศาสตร์: (Amomum schmidtii (K.Schum.) Gagnep.)
ชื่อท้องถิ่น: เร่วหอม ว่านร่อนทอง เสน่ห์มหาพรหม
ชื่อวงศ์: ZINGIBERACEAE
ตะไคร้ต้น
ชื่อวิทยาศาสตร์: Litsea cubeba Pers.
ชื่อท้องถิ่น: ตะไคร้ต้น (ตะไคร้ภูเขา)
ชื่อวงศ์: LAURACEAE
ตะไคร้หอม
ชื่อวิทยาศาสตร์: Cymbopogon nardus (Linn.) Rendle
ชื่อท้องถิ่น: จะไคมะขูด, ตะไครมะขูด, ตะไคร้แดง
ชื่อวงศ์: POACEAE (GRAMINEAE)
ผลิตภัณฑ์ที่พัฒนา
ทีมนักวิจัยได้พัฒนาผลิตภัณฑ์ที่หลากหลาย ได้แก่:
- เจลอาบน้ำ ครีมอาบน้ำ สบู่กรีเซอรีน สารสกัดดอกดาหลา
- เนเชอร์รัลลิปบาล์ม โลชั่น เจลอาบน้ำ สบู่กรีเซอรีน จากว่านสาวหลง
- ยาหม่อง โลชั่น บาล์มสติ๊กตะไคร้หอม ยาหม่องไพลตะไตร้ต้น
ความร่วมมือนี้ไม่เพียงแต่ช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับพืชสมุนไพรท้องถิ่น แต่ยังส่งเสริมการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและวัฒนธรรมพื้นถิ่น ให้กับชุมชนในพื้นที่บาลา อำเภอแว้ง จังหวัดนราธิวาสอย่างยั่งยืน อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้จาก ebook
เอกสารอ้างอิง
(2568). การพัฒนาผลิตภัณฑ์กลุ่มสุขภาพและความงามจากพืชสนุนไพรพื้นที่ ฮาลา-บาลา จังหวัดนราธิวาส. https://heyzine.com/flip-book/cf9360784e.html#page/1
Categories
Hashtags