ฉันมีโอกาศได้สัมผัสกับผลงานนักศึกษามจธ.ราชบุรีกับการเรียนรู้จากพื้นที่จริงในการพัฒนาชุมชนภายใต้แนวคิด “การพัฒนาชุมชนผ่านการพัฒนาตนเอง” ของนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี วิทยาเขตราชบุรี จากรายวิชา (GR111_02) น้องๆนักศึกษาได้มีโอกาสลงพื้นที่อำเภอจอมบึง จังหวัดราชบุรี เรียนรู้บริบทจริงของชุมชน แล้วกลับมาระดมสมองพร้อมออกแบบกิจกรรมและนวัตกรรมเพื่อเสริมสร้างศักยภาพของชุมชนในด้านต่าง ๆ โดยมุ่งเน้นให้นักศึกษาเกิดการพัฒนาตนเองผ่านการมีส่วนร่วมอย่างแท้จริง ตลอดกระบวนการ นักศึกษาได้ถอดบทเรียนและสร้างสรรค์ผลงานที่ตอบโจทย์ปัญหาและความต้องการของพื้นที่อย่างสร้างสรรค์และยั่งยืน
นักศึกษาได้จัดทำโครงการต่าง ๆ ที่เกิดจากกระบวนการเรียนรู้ร่วมกับชุมชน ที่ตอบโจทย์ กลไกและส่งเสริมบทบาทของชุมชนเพื่อสร้างนิเวศเมืองแห่งการเรียนรู้ใหม่แบบมีส่วนร่วมของคนทุกช่วงวัย สู่การพัฒนาจอมพลเมืองน่าอยู่ ดังนี้
1. โครงการธนาคารขยะชุมชนบ้านรางม่วง
โครงการที่ริเริ่มโดยจิตอาสาในชุมชนบ้านรางม่วง หมู่ 8 เพื่อแก้ปัญหาการจัดการขยะ ด้วยการตั้งธนาคารขยะที่รับซื้อและแยกขยะก่อนส่งขายต่อให้โรงงานเทศบาล อย่างไรก็ตาม ธนาคารขยะยังประสบปัญหาด้านการบริหารจัดการ เช่น การคาดการณ์ปริมาณขยะ และการจัดเส้นทางจัดเก็บขยะที่ยังไม่มีประสิทธิภาพ นักศึกษาได้วิเคราะห์และออกแบบระบบช่วยบริหารจัดการข้อมูลและเส้นทาง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ลดต้นทุน และพัฒนาชุมชนให้สะอาดยั่งยืน
2. พัฒนาเว็บแอปพลิเคชันไร่สุขพ่วง
ไร่สุขพ่วง เป็นแหล่งเรียนรู้ต้นแบบด้านการพึ่งพาตนเอง มีบทบาททั้งในด้านเกษตรกรรม การท่องเที่ยวเชิงเกษตร และการศึกษา แต่ยังขาดระบบในการจัดการข้อมูลและการประชาสัมพันธ์ที่เป็นระบบ นักศึกษาจึงได้พัฒนาเว็บแอปพลิเคชันเพื่อรวมศูนย์ข้อมูลของไร่ ทั้งการแนะนำกิจกรรม การจองคอร์ส การซื้อสินค้า เก็บฐานข้อมูลลูกค้า และรับฟังความคิดเห็น เพื่อยกระดับการบริการและสร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับผู้มาเยือน
3.จอมบึงเมืองแห่งการเรียนรู้
ศูนย์การเรียนรู้ “ผึ้งพาเรียน” เป็นโครงการที่มุ่งเน้นการถ่ายทอดองค์ความรู้แก่คนในชุมชน โดยเฉพาะเยาวชน ปัจจุบันยังใช้ระบบบันทึกข้อมูลผู้เรียนด้วยกระดาษ ทำให้ยากต่อการติดตามความก้าวหน้า นักศึกษาได้พัฒนาระบบเว็บแอปพลิเคชันเพื่อจัดเก็บและติดตามผลการเรียนรู้อย่างเป็นระบบ เพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการ และช่วยให้การส่งต่อองค์ความรู้ในชุมชนมีความต่อเนื่องและชัดเจนยิ่งขึ้น
4. PORR-D (พอดี) Web Application
PORR-D เป็นแพลตฟอร์มดิจิทัลที่นักศึกษาร่วมพัฒนาขึ้น โดยอิงแนวคิด “บันได 9 ขั้น” ของรัชกาลที่ 9 ซึ่งเน้นความพอเพียงในมิติของชีวิตและชุมชน แพลตฟอร์มนี้ได้แนวคิดพัฒนา ส่งเสริมสินค้าชุมชนออกแบบมาเพื่อเชื่อมโยงการซื้อขาย แลกเปลี่ยน และแบ่งปันสินค้าภายในชุมชน โดยมีฟังก์ชันที่ส่งเสริมการสร้างเครือข่ายและความสัมพันธ์ในชุมชน ช่วยส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก และผลักดันให้เกิดการพึ่งพาตนเองอย่างแท้จริง
ในวันที่: 5 เมษายน 2568 🕗 เวลา: 08:00 - 13:00 น.
📍 ณ: ลานวัฒนธรรม สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง ดร.ทศพร ทองเที่ยง คุณสุภาวดี สังข์วรรณ พร้อมคณะได้นำผลงานของนักศึกษาไปนำเสนอในงานเทศกาลจอมบึงเมืองแห่งการเรียนรู้ สู่เมืองน่าอยู่ ซึ่งกิจกรรมภายในงานบรรยากาศในงานกระตุ้นการเรียนรู้ผ่านการลงมือปฏิบัติจริง ของ 12 หมู่บ้านต้นแบบ และเปิดตัวพื้นที่การเรียนรู้ Chombueng Learning Space 8 แห่ง
แน่นนอนว่าการเรียนรู้ผ่านการลงพื้นที่จริงของนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี วิทยาเขตราชบุรี นักศึกษาได้เรียนรู้จากบริบทของชุมชนจริง กระบวนการเรียนรู้ดังกล่าวไม่เพียงส่งเสริมศักยภาพของชุมชนในด้านต่าง ๆ แต่ยังทำให้นักศึกษาเกิดการพัฒนาตนเองผ่านการมีส่วนร่วม ทั้งในด้านความคิดสร้างสรรค์ การทำงานร่วมกับผู้อื่น และความเข้าใจในบริบทของสังคมรอบตัว สามารถศึกษาเอกสารเพิ่มเติมได้ที่นี่
อ้างอิง
(2568). GR111_02: การพัฒนาชุมชนผ่านการพัฒนาตนเอง – การเรียนรู้จากพื้นที่จริงของนักศึกษา มจธ. ราชบุรี. https://rbkm.kmutt.ac.th/jspui/handle/123456789/4150
Categories
Hashtags