น้ำผึ้งสมุนไพร: จากดอกไม้ท้องถิ่น
Published: 7 May 2025
1 views

จากกระแสสุขภาพ น้ำผึ้งจากดอกไม้สมุนไพรได้กลายเป็นหนึ่งในผลิตภัณฑ์ธรรมชาติที่ได้รับความสนใจ ด้วยกลิ่น รส และคุณสมบัติเฉพาะตัวที่แตกต่างจากน้ำผึ้งทั่วไป น้ำผึ้งจากดอกกุหลาบ ดาวกระจาย หรือพวงชมพู ไม่เพียงแต่ให้รสชาติหอมหวานละมุน แต่ยังแฝงด้วยสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพจากพืชสมุนไพรที่ผึ้งเข้าเก็บน้ำหวาน ส่งผลให้น้ำผึ้งแต่ละชนิดมีองค์ประกอบทางเคมีที่หลากหลาย และมีศักยภาพในการเสริมสุขภาพ เช่น ต้านอนุมูลอิสระ ต้านการอักเสบ และเสริมภูมิคุ้มกัน

จากงานวิจัยการผลิตน้ำผึ้งเอกลักษณ์เฉพาะจากดอกไม้สมุนไพรและการพัตนาเป็นผลิตภัณฑ์ในเชิงการค้า ของรศ. ดร. อรวรรณ ดวงภักดีและอาจารย์ปรีชา รอดอิ่ม.ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านผึ้งและแมลงผสมเกสรที่มีบทบาทสำคัญในการวิจัยและพัฒนาการเลี้ยงผึ้งพื้นเมืองในประเทศไทย

ผลิตภัณฑ์น้ำผึ้ง

การเลี้ยงผึ้งมิ้มในเชิงเศรษฐกิจเพื่อผลิตน้ำผึ้งเอกลักษณ์เฉพาะจากดอกไม้สมุนไพร 4 ชนิด ได้แก่ กุหลาบ มะลิ ดาวกระจาย และพวงชมพู โดยพบว่า 3 ชนิดแรกเหมาะสมกับการเลี้ยงผึ้ง ยกเว้นมะลิที่ให้แหล่งอาหารไม่เพียงพอ จากการสำรวจพบพืชอาหารของผึ้งมิ้มในไทยรวม 142 ชนิด (เพิ่มจากเดิม 128 ชนิด) ผลผลิตน้ำผึ้งเฉลี่ยจากการเลี้ยงเชิงเศรษฐกิจอยู่ที่ 393.2 กรัมต่อรัง ซึ่งสูงกว่าการเก็บจากธรรมชาติ 47% แต่ยังต่ำกว่าระดับทดลอง 67% และยังไม่คุ้มทุน โดยเฉลี่ยเก็บน้ำผึ้งได้ 2 ครั้งในรอบการเลี้ยงหนึ่งรัง ซึ่งอยู่ได้นานประมาณ 56.4 วัน

ดอกไม้สมุนไพร

น้ำผึ้งจากผึ้งมิ้มมีสารอินทรีย์ระเหยง่ายเฉพาะตัว เช่น Hexamethylcyclotrisiloxane, 6-Methyl-2-pyrazinylmethanol, Sulfur dioxide, Dimethylphosphine ฯลฯ ซึ่งหลายชนิดมีศักยภาพด้านยาและเสริมสุขภาพ แม้ปริมาณน้ำผึ้งจะยังน้อย แต่ผึ้งมิ้มถือเป็นสายพันธุ์ที่มีศักยภาพสูงในการพัฒนาการเลี้ยงร่วมกับการออกแบบภูมิทัศน์ที่เหมาะสม เป็นทางเลือกที่น่าสนใจสำหรับเกษตรกรที่ต้องการเลี้ยงผึ้งเพื่อเศรษฐกิจ

น้ำผึ้งมีคุณค่าทางโภชนาการและการแพทย์ จึงนิยมบริโภคโดยตรง รวมถึงใช้ในอุตสาหกรรมยา อาหาร และเครื่องสำอาง โดยเฉพาะน้ำผึ้งจากเกสรดอกไม้ชนิดเดียว (unifloral honey) มีราคาสูงกว่าชนิดผสม (multifloral honey) เพราะมีลักษณะเฉพาะด้านรส กลิ่น และสี ซึ่งเป็นที่ยอมรับในตลาด

รังผึ้งมิ้น

ประเทศไทยเหมาะสมต่อการเลี้ยงผึ้งด้วยความหลากหลายของพันธุ์ผึ้งและพรรณไม้ ทำให้น้ำผึ้งไทยโดดเด่นด้านกลิ่น รส และฤทธิ์ทางชีวภาพ กว่า 50% ของพืชสมุนไพรไทยเป็นแหล่งอาหารของผึ้ง จึงมีศักยภาพในการพัฒนาน้ำผึ้งเอกลักษณ์เฉพาะที่มีคุณค่าเพิ่มทั้งในด้านรสชาติ กลิ่น และสรรพคุณทางยา เพื่อเป็นอาหารเสริมสุขภาพและเพิ่มมูลค่าสู่ตลาดทั้งในและต่างประเทศ


อ้างอิง

อรวรรณ ดวงภักดี และปรีชา รอดอิ่ม. (2564). การผลิตน้ำผึ้งเอกลักษณ์เฉพาะจากดอกไม้สมุนไพรและการพัตนาเป็นผลิตภัณฑ์ในเชิงการค้า. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ราชบุรี

อรวรรณ ดวงภักดี. (2556). การพัฒนาการเลี้ยงผึ้งมิ้ม (Apis Forea) ในเชิงเศรษฐกิจและคุณสมบัติทางเคมีกายภาพของน้ำผึ้งที่ได้ (ระยะที่ 2). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ราชบุรี




Comments
To join the comment, please sign in.
Sign in
Don’t have an account? Register
Loading comments...