ผึ้งตัวน้อยตัวนิดแต่มีฤทธิ์ต่อเศรษฐกิจสังคม
Published: 1 April 2024
4 views

ในยุคที่ประเทศกำลังเผชิญปัญหาพิษเศรษฐกิจเรื้อรังจากการที่ตลาดโลกเกิดความขาดสภาวะคล่องตัวทางการเงินผู้คนจากที่เคยเรียนจบเข้าไปทำงานในสังคมเมืองก็ไม่ได้ให้ความสนใจกับการเกษตรและทรัพยากรธรรมชาติที่อยู่ใกล้ตัวแต่เมื่อวันหนึ่งเกิดการถูกเลิกจ้างหรือเปลี่ยนแปลงสายอาชีพ ทรัพยากรธรรมชาติเหล่านี้ก็ได้ถูกกลับมาให้ความสนใจอีกครั้งซึ่งผนวกกับทางรัฐบาลได้ส่งเสริมให้ประเทศชาติเกิดฐานการผลิตระดับชุมชน เช่นการทำวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมหรือที่นิยมเรียกกันว่า (SMEs) เป็นการส่งเสริมให้เกษตรกรหรือผู้คนในท้องถิ่นมีรายได้โดยการนำสิ่งรอบตัวมาจัดทำให้เกิดประโยชน์ไม่ว่าจะเป็นการดัดแปลงผลผลิตจากการเพาะปลูกเพื่อเพิ่มมูลค่าให้แก่สินค้า การนำมูลสัตว์มาทำเป็นปุ๋ยเพื่อขายสร้างรายได้เสริม เป็นต้น

เกษตรกรแบ่งออกเป็นหลากหลายประเภททั้งทำเกษตร ทั้งเลี้ยงสัตว์ ขึ้นอยู่กับบริบทสังคมและพื้นที่ที่ตนเองอาศัยอยู่ว่าเหมาะแก่การทำการเกษตรแบบใดเกษตรกรแต่ละประเภทก็จะมีภูมิปัญญาในการทำการเกษตรหรือการเลี้ยงสัตว์แตกต่างกันออกไปในแต่ละพื้นที่ เกษตรกรที่ทำการเกษตรประเภทผลไม้ตามฤดูกาลก็มักจะมีภูมิปัญญาในการหาวิธีให้พืชของตนได้เกิดการผสมเกสรเพื่อให้เจริญพันธุ์ในการออกดอกออกผล การเลี้ยงผึ้งเพื่อใช้งานจึงเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นอย่างหนึ่งของเกษตรกรที่นำมาปรับใช้ในสังคมสมัยปัจจุบัน

         “ ผึ้ง ” แมลงชนิดนี้เพียงได้เห็นทุกคนก็ต้องเตรียมหลบหรือป้องกันตัวเองเพราะเป็นแมลงตัวเล็กที่มีเหล็กในที่สามารถต่อยมนุษย์ให้เกิดความเจ็บปวดเพื่อป้องกันตัวมันเองได้หรือบางครั้งอาจทำให้เกิดอันตรายถึงชีวิต สัตว์ชนิดนี้จึงไม่ได้เป็นที่ให้ความสนใจแก่ผู้คนส่วนใหญ่แต่หารู้ไม่ว่าผึ้งเป็นสัตว์ที่มีประโยชน์อย่างมหาศาลมาตั้งแต่อดีตไม่ว่าจะเป็นการนำน้ำผึ้งมาใช้เพื่อการถนอมรักษาสภาพศพในแบบฉบับโบราณ การนำน้ำผึ้งมารับประทานคู่กับมะนาวหรือน้ำอุ่นเพื่อช่วยบรรเทาอาการเจ็บคอ การนำตัวผึ้งมาสกัดเป็นอาหารเสริมที่เราเรียกกันว่านมผึ้ง และนอกจากนั้นผึ้งยังเป็นสัตว์ที่เป็นโปรดปรานของผู้คนที่ทำเกษตรกรรมเป็นอย่างมากเพราะเป็นสัตว์ที่เปรียบเสมือนแรงงานที่สำคัญของเกษตรกรในการผสมเกสรในสวนผลไม้ นอกจากนี้เกษตรกรยังได้รับผลประโยชน์จากการเก็บน้ำผึ้งไปจำหน่ายเพื่อสร้างรายได้เพิ่มอีกหนึ่งช่องทาง ผึ้งจึงได้ชื่อว่าเป็นแมลงเศรษฐกิจชนิดหนึ่งที่สามารถสร้างมูลค่าให้กับสังคมและประเทศชาติได้อย่างมากมาย

          การเลี้ยงผึ้ง ผึ้งเป็นสัตว์พื้นเมืองที่มีความหลากหลาย ชนิดของผึ้งพื้นเมืองมี 4 ชนิดได้แก่ ผึ้งโพรง ผึ้งหลวง ผึ้งมิ้ม ผึ้งมิ้มเล็ก โดยการเลี้ยงผึ้งอันดับแรกต้องเลือกสถานที่ที่จะทำการเลี้ยงผึ้งให้มีความเหมาะสม ควรเลือกที่ตั้งรังผึ้งให้อยู่ใกล้บริเวณที่เป็นแหล่งอาหารของผึ้ง เช่นที่สวนผลไม้ใกล้แหล่งแม่น้ำควรวางรังผึ้งใต้ต้นไม้ใหญ่ที่สามารถเป็นที่กำบังลมได้และการเลี้ยงผึ้งไม่ควรเป็นที่ที่อยู่ในบริเวณแหล่งชุมชนเพื่อป้องกันการทำอันตรายแก่คนในชุมชนและป้องกันการถูกสัตว์อื่นเข้ามาทำลายรังผึ้ง ผู้ที่เลี้ยงผึ้งต้องให้ความสนใจเกี่ยวกับวัสดุอุปกรณ์ในการเลี้ยงผึ้งเป็นอย่างมากเพราะจะส่งผลต่อการดูแลรักษาและคุ้มค่าแก่การลงทุนในระยะยาววัสดุอุปกรณ์การเลี้ยงผึ้งมีอุปกรณ์ดังต่อไปนี้ ชุดหีบเลี้ยงผึ้ง ฐานรัง หีบมาตรฐาน คอนหรือกรอบรวง ฝาชั้นใน ฝาชั้นนอก แผ่นฐานวาง เหล็กงัดรังผึ้ง กระป๋องลมควัน อุปกรณ์เหล่านี้ล้วนเป็นวัสดุอุปกรณ์ที่สำคัญและมีความจำเป็นต่อการเลี้ยงผึ้งยิ่งหากเป็นวัสดุอุปกรณ์และแหล่งอาหารที่มีคุณภาพก็จะยิ่งทำให้การเลี้ยงผึ้งมีคุณภาพและได้ผลผลิตที่ดีตามความต้องการ

          การเก็บผลผลิต การเก็บน้ำผึ้งสามารถทำได้สองวิธีคือ 1.เก็บน้ำผึ้งจากรังล่อ คือการหงายฝารังและเอาเฉพาะรวงน้ำผึ้ง ส่วนที่เหลือให้นำไปเก็บเข้าโพรงดังเดิม วิธีที่ 2 คือเก็บน้ำผึ้งจากรังตัดเอาเฉพาะส่วนที่เป็นน้ำผึ้งแล้วไปกรองบนตะแกรงเพื่อให้ได้น้ำผึ้งที่สะอาด น้ำผึ้งที่ได้เหล่านี้ไม่ได้เพียงแค่สามารถรับประทานหรือจำหน่ายเพียงอย่างเดียวคุณสมบัติของน้ำผึ้งยังมีประโยชน์ทางด้านอื่น ๆ อีกมากมายไม่ว่าจะเป็นประโยชน์ทางการแพทย์ที่นำน้ำผึ้งไปเป็นส่วนประกอบหนึ่งของผลิตภัณฑ์จากอุตสหกรรมยา อาหารและเครื่องสำอาง ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นการส่งเสริมการพัฒนาคุณค่าความหลากหลายทางชีวภาพของประเทศรวมถึงส่งเสริมและพัฒนาเศรษฐกิจไม่ว่าจะเป็นด้านผลิตภัณฑ์เพื่อความงามการเพิ่มมูลค่าสินค้าและทางการตลาด ทางด้านสังคมก็ช่วยเกิดการสร้างอาชีพให้กับเกษตรกรในชุมชนในการผลิตวัตถุดิบ เกิดนวัตกรรมการประกอบอาชีพและสร้างรายได้ให้แก่ชุมชน ในด้านสิ่งแวดล้อมก็ช่วยในการลดการใช้สารสังเคราะห์ลดมลพิษในอากาศ นอกจากน้ำผึ้งที่เต็มไปด้วยประโยชน์และสรรพคุณมากมายในการนำไปใช้งานหรือพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนแล้วยังมีอีกหนึ่งสิ่งที่เกิดจากผึ้งที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ คือ ไขผึ้ง  ไขผึ้งคือสารชนิดหนึ่งที่ผึ้งสร้างขึ้นเพื่อสร้างรังหรือไว้ใช้เพื่อซ่อมแซมรังมีลักษณะเป็นสีขาว มีน้ำหนักค่อนข้างเบามีขนาดเล็กไขผึ้งมีคุณสมบัติทางด้านเคมีเป็นไขซึ่งผลิตจากต่อมไขที่อยู่บริเวณท้องด้านล่างของตัวผึ้ง ซึ่งไขผึ้งสามารถนำไปแปรรูปให้เกิดผลผลิตได้หลากหลายรูปแบบทั้งทางยา ความงาม สุขภาพ

          การเตรียมตัวรับมือและป้องกันการโดนผึ้งต่อย แน่นอนว่าการเลี้ยงผึ้งจะต้องมีสถานการณ์บางอย่างที่ผู้เลี้ยงอาจพลาดพลั้งโดนผึ้งต่อยได้ซึ่งบางรายหากเกิดอาการแพ้อาจรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต ผู้เลี้ยงจึงควรรู้วิธีการป้องกันอุบัติเหตุเหล่านี้ไว้เบื้องต้นเพื่อเป็นประโยชน์ต่อตนเองและผู้อื่น การรับมือกรณีถูกผึ้งต่อยขั้นตอนแรกควรหาเทปกาวใสมาทำการปิดบริเวณที่โดยต่อยก่อนที่จะใช้อุปกรณ์ อาทิ สันมีดหรือขอบบัตรแข็งในการดึงเหล็กในออกเมื่อสามารถดึงออกมาได้แล้วควรรีบใช้สบู่ในการล้างทำความสะอาดและตามด้วยการใช้นำแข็งประคบเย็นเพื่อลดอาการบวมและหากมีอาการปวดมากควรรับประทานยาพาราเซตามอลหรือยาแก้แพ้แต่หากเกิดอาการแพ้รุนแรงควรรีบไปพบแพทย์โดยเร็วที่สุด

          มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี มีศูนย์วิจัยผึ้งพื้นมืองและแมลงผสมเกสร ที่ตั้งอยู่ภายในอุทยานการเรียนรู้เรื่องผึ้ง ศูนย์วิจัยนี้ได้ทำการวิจัยเรื่องผึ้งและการใช้ประโยชน์จากผึ้งพื้นเมืองเอเชียซึ่งมีวัตถุประสงค์ในการวิจัยคือเพื่อศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพและการปรับตัวของผึ้งพื้นเมืองและการใช้เทคโนโลยีทางด้านวิศวกรรมศาสตร์เพื่อนำมาพัฒนาเทคโนโลยีที่ใช้ในฟาร์มผึ้งสิ่งเหล่านี้เป็นการทำงานร่วมกันของทีมนักวิจัยจากหน่วยงานต่าง ๆ ภายในมหาวิทยาลัยและได้ทำการประยุกต์ให้เกิดประโยชน์แก่สังคมและเศรษฐกิจโดยมีการบริการถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่กลุ่มเกษตรกรที่สนใจพัฒนาการเลี้ยงผึ้ง ซึ่งนับว่าเป็นการพัฒนาเศรษฐกิจฐานชีวภาพที่น่าสนใจเป็นอย่างยิ่งเพราะนอกจากจะพัฒนาองค์ความรู้ทางการเลี้ยงผึ้งแล้วยังช่วยพัฒนาอาชีพให้แก่เกษตรกรผู้เลี้ยงผึ้งรวมถึงช่วยพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมอีกด้วย

รายการอ้างอิง

https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JSBA/article/view/250059/170657

http://www.beeproductsthai.com/TH/Bee_Knowledge/Apiculture

https://thaifarmer.lib.ku.ac.th/news/620a10bdd61d991d1b63d59b         

https://suwanfarmphueng.com/blog/beee-wax-is/

https://www.brandbuffet.in.th/2022/12/bee-park-native-honeybee-and-pollinator-research-center/


Comments
To join the comment, please sign in.
Sign in
Don’t have an account? Register
Loading comments...