ป่าน้อยในเมืองใหญ่
Published: 25 March 2024
4 views

Photo by Markus Spiske on Unsplash

เมื่อบริบทสังคมมีการเปลี่ยนแปลงตามยุคตามสมัยบริบทการใช้ชีวิตของคนก็เกิดพลวัตที่จะต้องเปลี่ยนแปลง ปรับตัว เพื่อให้สามารถดำเนินชีวิตของตนอยู่เสมอในสมัยอดีตเราอาจเคยชินกับภาพความทรงจำของการทำการเกษตรว่าจะต้องทำในพื้นที่ต่างจังหวัด แต่เมื่อบริบทสังคมเกิดการเปลี่ยนแปลงไปผู้คนในสังคมเมืองหันมาสนใจสุขภาพของตนเองมากขึ้น รวมถึงสนใจการแก้ไขปัญหาโลกร้อน จึงเกิดการสร้างพื้นที่การเรียนรู้ให้แก่สังคม เช่น การจัดกิจกรรมให้ความรู้เกี่ยวกับการเพาะปลูก การทำปุ๋ยจากเศษอาหาร การเพาะปลูกเพื่อจัดจำหน่าย เป็นต้น  

การทำการเกษตรในเมือง คนในเมืองที่อาศัยอยู่บ้านที่ไม่มีพื้นที่เพียงพอสำหรับการทำเกษตร ด้วยพื้นที่ที่มีอย่างจำกัดและต้องการให้พืชผักรับแสงแดดได้มากที่สุด มักจะใช้พื้นที่บนดาดฟ้าของบ้านตนในการเพาะปลูกพืชผักในกระถาง การทำการเกษตรรูปแบบนี้ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากของผู้คนที่อาศัยอยู่คอนโดมักจะนิยมปลูกพืชในกระถางและวางริมระเบียงเพื่อให้พืชได้รับแสงแดดอย่างเพียงพอ การเพาะปลูกพืชบนคอนโดนมักจะปลูกพืชผักสวนครัว อาทิ พริก กะเพรา ต้นหอม หรือผักสวนครัวต้นเล็ก ๆ ที่เพียงพอต่อการรับประทานของตน

ในปัจจุบันตามศูนย์แหล่งการเรียนรู้หลาย ๆ ที่ มีการจัดกิจกรรมเพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับการเพาะปลูกพืช การสาธิตการทำปุ๋ยหรือการสอนเพาะปลูกเพื่อจัดจำหน่ายสร้างรายได้เสริม เพื่อส่งเสริมให้ผู้คนที่อาศัยอยู่ในสังคมเมืองหันมาสนใจเพาะปลูกพืชผักสวนครัวไว้รับประทานเอง เพื่อประหยัดค่าใช้จ่ายและมั่นใจว่าผักปลอดสารเคมี 

ในช่วงที่ทั่วโลกเกิดวิกฤตการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาโควิด 19 ผู้คนต้องทำงานอยู่ที่บ้านและเน้นการทำอาหารทานเอง เพื่อป้องกันการติดเชื้อไวรัสทำให้หันมาสนใจในการเพาะปลูกพืชผักสวนครัวไว้ทานเองรวมถึงทำเพื่อเป็นกิจกรรมยามว่างแก้การเบื่อหน่ายที่จะต้องอยู่แต่ภายในบ้านไม่สามารถออกไปข้างนอกได้ จากแค่การปลูกไว้ทานเองภายในครัวเรือนเมื่อมีความสนใจและความชำนาญในการปลูกมากขึ้นจึงหันมาทำเป็นอาชีพเสริมหรืออาชีพหลักเพื่อเพิ่มรายได้อีก 1 ช่องทาง

ในยุคสมัยปัจจุบันการเข้าถึง Social Media สามารถเข้าถึงได้ง่ายมากยิ่งขึ้นการสร้าง Content หรือ Lifestyle ต่าง ๆ ของผู้ที่มีชื่อเสียงจึงเป็นที่นิยมอย่างมากในโลก Social Media นักแสดงที่สนใจทางด้านการอนุรักษ์ธรรมชาติ หรือชื่นชอบในการปลูกต้นไม้ก็มักจะทำ Content หรือแสดง Lifestyle ของตนผ่านทาง Social Media ให้ผู้คนได้ติดตาม ซึ่งเป็นการสาธิตการเพาะปลูกพืชง่าย ๆ ให้ผู้คนที่สนใจสามารถทำตามได้ซึ่งถือว่าเป็นการสร้างสรรค์สื่อในทางที่ดีนอกจากจะช่วยให้ผู้คนหันมาสนใจรักสุขภาพของตนเองแล้วยังเป็นการรณรงค์การช่วยลดโลกร้อนอีกด้วย ยกตัวอย่าง เช่น คุณ แพรรี่พาย ทำ Content ปลูกผักและต้นไม้บนดาดฟ้าเป็นกิจวัตรประจำวันจนได้รับความนิยมของสังคม Social Media คุณแพรรี่พายเล่าให้ฟังถึงปัญหาการทำสวนบนดาดฟ้าคอนโดว่า “ เดือนแรกคือความแห้งแล้งเพราะตรงกับหน้าร้อนพอดีและดาดฟ้ามันร้อนมาก ตอนนั้นรู้สึกว่าความหวังคือศูนย์ อย่างเรื่องขนดินโชคดีที่สามารถขนขึ้นลิฟต์มาได้ นอกจากนี้ยังมีเรื่องของพื้นที่ที่ต้องออกแบบ เช่น ระดับความสูงของต้นไม้ที่ปลูกได้ แม้ว่าปลูกบนดาดฟ้าแต่ไม้ยืนต้นบางชนิดก็ยังพอปลูกได้อย่างต้นกระดังงาที่แพรปลูกอยู่ ดังนั้นเราต้องมาดูว่าต้นไม้ขนาดกลาง ๆ ที่ปลูกได้มีอะไรบ้าง แต่ต้นสูง ๆ ต้องยกเลิกหมด หรือกล้วยก็เป็นต้นไม้อีกหนึ่งชนิดที่อยากปลูก แต่ต้องดูเรื่องของแรงลมด้วย สิ่งหนึ่งที่แพรทำคือการทดลองว่ามีพืชอะไรเหมาะกับการปลูกบนดาดฟ้าบ้าง เพราะเราเองก็ไม่รู้อะไรเลย จึงต้องทดลองก่อน เหมือนกับตอนที่เป็นเมคอัพ อาร์ติสท์ก็ต้องลองแต่งหน้าดูหลาย ๆ ลุค ติดนู่นติดนี่ หรือแม้แต่ตอนทำผ้าไทย การสกัดสีน้ำ แพรก็จะมีการหาข้อมูลและทดลองเสมอ”

ซึ่งการเพาะปลูกพืชผักสวนครัวหรือต้นไม้บริเวณดาดฟ้า ริมระเบียงคอนโด หรือในพื้นที่จำกัดก็สามารถทำได้ไม่ยากตามตัวอย่างด้านล่างนี้

วิธีการเริ่มเพาะปลูกพืช

การเพาะปลูกพืชในพื้นที่จำกัดเราสามารถหาวัสดุเหลือใช่ใกล้ตัวมาดัดแปลงเป็น กระถางเพื่อใช้ในการเพาะปลูกได้ เช่น การนำขวดน้ำ แก้วน้ำพลาสติก ยางรถเก่า หรือกะละมังเก่า ๆ ที่ไม่ได้ใช้งานแล้ว

วิธีการดูแลรักษา

การดูแลพืชที่ปลูกในพื้นที่ที่มีอย่างจำกัดพืชที่ปลูกในคอนโดนหรือในพื้นที่ที่จำกัดอาจเกิดปัญหาการรับแสงแดดได้อย่างไม่เพียงพอ ควรคำนวณการปลูกพืชให้เหมาะสมกับพื้นที่เพื่อไม่ให้สวนผักเกิดความหนาแน่นมากเกินไป และควรปลูกในพื้นที่ที่สามารถรดน้ำหรือดูแลได้ง่าย

การป้องกันปัญหา

ต้องหมั่นดูแลป้องกันแมลงอย่างสม่ำเสมอ หมั่นตรวจดูใบของพืชว่ามีเพลี้ยหรือแมลงมากัดกินหรือไม่ อาจต้องหาวัสดุมาครอบเพื่อช่วยป้องกันปัญหาดังกล่าว

การทำเกษตรในเมืองไม่ได้มีประโยชน์เพียงแค่ช่วยลดขยะหรือลดขั้นตอนการขนส่งเพียงอย่างเดียวแต่ยังช่วยทำให้คนในสังคมเมืองรู้จักใช้ประโยชน์จากพื้นที่เหลือใช้และวางแผนการทำการเกษตรเพื่อเก็บไว้บริโภคในระยะยาวได้ด้วย นอกจากนั้นยังช่วยสร้างความตระหนักคิดในการอนุรักษ์พืชพันธุ์และลดปัญหาการเกิดภาวโลกร้อนได้อีกเพราะต้นไม้ที่เจริญเติบโตบนดาดฟ้าจะสามารถดูดซับ CO2  จากอากาศและแปลงเป็นออกซิเจนผ่านกระบวนการสังเคราะห์แสงช่วบลด ปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศและลดผลกระทบต่อโลกได้ นอกจากนั้นการปลูกต้นไม้บนดาดฟ้าเป็นการรณรงค์การสร้างพื้นที่สีเขียวให้กับคนในสังคมได้อีกด้วยทำให้คนหันมาเปลี่ยนพื้นที่ว่างเป็นพื้นที่สีเขียวโดยการปลูกพืชผัก เช่น การทำหลังคาสีเขียว การปลูกพืชบนกำแพง การปลูกตามเส้นทางที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์ เป็นต้น

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี มีนโยบายส่งเสริมการลดการปล่อยคาร์บอนในอากาศให้เป็นศูนย์ภายในปี ค.ศ.2040 เพื่อลดปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศของโลก ผ่านการใช้พลังงานหมุนเวียน การเพิ่มประสิทธิภาพพลังงานในอาคารและการเดินทาง การใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า และการปลูกป่าเพื่อดูดกลับคาร์บอน ซึ่งมหาวิทยาลัยได้ตอบรับนโยบายการลดก๊าซคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ของประเทศเช่นกัน โดยมหาวิทยาลัยมีการส่งเสริมการปลูกต้นไม้เพื่อดูซับคาร์บอนมาโดยตลอด ทั้งการปลูกต้นไม้บนตึกและการปลูกในพื้นที่ราบ ซึ่งมหาวิทยาลัยมีเป้าหมายเชิงกลยุทธ์เพื่อการพัฒนา มจธ.ที่ยั่งยืน ทั้งหมด 5 ด้าน ในด้านที่ 4 ได้ระบุไว้ว่า การสร้างโครงสร้างพื้นฐานและสภาพแวดล้อมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Building Green Infrastructure & Environment) ซึ่งมุ่งเน้นในการรักษาสภาพแวดล้อมให้กลับมามีคุณภาพได้ดังเดิมนอกจากนั้นมหาวิทยาลัยยังมีโครงการพื้นที่สีเขียวที่ส่งเสริมความยั่งยืนโดยใช้เป้าหมายยุทธศาสตร์ด้านความยั่งยืนกับบุคลากรและนักศึกษามหาวิทยาลัยอีกด้วย

รายการอ้างอิง

https://ebook.lib.ku.ac.th/ebook27/ebook/20160044/#p=10

https://www.sgethai.com/article/%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%98%E0%B8%B5-%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B8%B9%E0%B8%81%E0%B8%9C%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%9A%E0%B8%99%E0%B8%84%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B9%82%E0%B8%94/

https://th.hellomagazine.com/celebrity/exclusive-interviews/pearypie-rooftop-garden-concept/

https://www.kmutt.ac.th/sdgs/kmutt-climate-action/carbon-neutrality-by-2040/#:~:text=%E0%B8%A1%E0%B8%88%E0%B8%98.%20%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A8%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B8%95%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%93%E0%B9%8C,%E0%B8%A5%E0%B8%94%E0%B8%9C%E0%B8%A5%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%97%E0%B8%9A%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3 

 




Comments
To join the comment, please sign in.
Sign in
Don’t have an account? Register
Loading comments...