โรคเส้นเลือดสมองตีบ ภัยเงียบที่ไม่ควรมองข้าม
Published: 5 April 2024
2 views

โรคเส้นเลือดสมองตีบ ภัยเงียบที่ไม่ควรมองข้าม

ในปัจจุบัน โรคเส้นเลือดสมองตีบยังคงเป็นปัญหาสุขภาพที่มีความเสี่ยงและอันตรายอยู่ โดยเฉพาะกับกลุ่มผู้สูงอายุที่มีปัจจัยเสี่ยงเช่น ความดันเลือดสูง โรคเบาหวาน และการสูบบุหรี่ แต่ก็สามารถป้องกันและควบคุมโรคได้ด้วยการดูแลสุขภาพร่างกายและสมองอย่างเหมาะสม เช่น การออกกำลังกาย การตรวจสุขภาพประจำปี การควบคุมน้ำตาล เป็นต้น

โรคเส้นเลือดสมองตีบ อันตรายขนาดไหนกัน?

โรคเส้นเลือดสมองตีบหรือที่เรียกว่าก็คือ "โรคหลอดเลือดสมองตีบ" (Cerebral Small Vessel Disease - CSVD) ) เป็นชนิดของเส้นเลือดในสมองที่พบได้กว่า 80% โดยเป็นภาวะที่เกิดขึ้นจากปัญหาในเส้นเลือดขนาดเล็กภายในสมอง ซึ่งอาจส่งผลต่อการไหลเวียนเลือดในสมองและสามารถเป็นสาเหตุของภาวะสมองเสื่อม อาการที่พบได้รวมถึงการเสียหายของเนื้อเยื่อสมอง การสูญเสียความสามารถในการคิด ปัญหาทางการเรียนรู้ และปัญหาทางสติปัญญา นอกจากนี้ยังมีความเกี่ยวข้องกับการเสี่ยงต่อการเกิดอาการหลอดเลือดสมองแตกหรืออัมพฤกษ์ และโรคหัวใจหลอดเลือดสมองแตก 

ดังนั้นโรคหลอดเลือดสมองตีบเป็นภัยที่อันตราย มักเกิดโดยไม่มีอาการที่ชัดเจนในระยะแรก แต่อาการบางอย่างเมื่อโรคเริ่มเข้าถึงขั้นรุนแรง เช่น อาการสับสน กลัว หรือการสูญเสียความจำ การตรวจรักษาและการดูแลรักษาที่เร็วที่สุดเมื่อมีอาการเริ่มแสดงออกจึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง เพราะจะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดอันตรายให้กับสมองได้บ้าง การดูแลรักษาสมอง และการควบคุมโรคภายในตัวเองเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยลดความเสี่ยงในการเสียชีวิตหรือการพัฒนาโรคเส้นเลือดสมองตีบในระยะต่อไป 

อาการเส้นเลือดในสมองตีบ ที่ไม่ควรมองข้าม

เส้นเลือดในสมองตีบ เกิดจากภาวะที่สมองขาดออกซิเจนและเลือดไปเลี้ยงสมองไม่เพียงพอ อาจส่งผลให้เกิดอัมพฤกษ์ อัมพาต หรือร้ายแรงมากขึ้นจนถึงชั้นเสียชีวิตได้ ซึ่งอาการของเส้นเลือดในสมองตีบนั้น มักจะมีอาการปวดศีรษะ สายตาพร่ามัวทำให้การมองเห็นลดลง อัมพาตครึ่งซีก ไม่ว่าจะเป็นใบหน้าหรือร่างกายส่งผลให้ใบหน้าบิดเบี้ยวหรือสื่อสารไม่ได้ เสียการรับรู้หรือการเคลื่อนไหวของร่างกาย

โดยผู้ที่มีความเสี่ยงในโรคเส้นเลือดสมองตีบ มักจะเป็นผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น ไขมันในเลือดสูง เบาหวาน ความดัน ภาวะอ้วน หรือคอเลสเตอรอลสูง ครอบครัวหรือผู้ใกล้ชิดเคยเป็นเส้นเลือดสมองตีบ ผู้สูงอายุ ความเครียด การทานอาหารที่ไม่มีประโยชน์ เป็นต้น

ป้องกันโรคด้วยการดูแลสุขภาพ

การป้องกันโรคด้วยการดูแลสุขภาพ ออกกำลังกาย รักษาน้ำหนักในระดับที่เหมาะสม และการควบคุมความดันเลือดและน้ำตาลในเลือดก็เป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคเส้นเลือดสมองตีบได้ อย่างไรก็ตาม การควบคุมสุขภาพร่างกายและสมองเป็นเรื่องสำคัญไม่เพียงอย่างเดียว ควรรักษาสุขภาพจิตใจและสภาพจิตใจให้ดีอีกด้วย โดยการรักษาความเครียด และการฝึกสมาธิอาจช่วยในการลดความเสี่ยง

เราจะรักษาโรคเส้นเลือดสมองตีบได้อย่างไร

การรักษาจะมีการรักษาที่แตกต่างกันไปจากอาการและความรุนแรงที่เกิดขึ้น ซึ่งแพทย์จะเป็นผู้วินิจฉัยและวางแผนการรักษาที่เหมาะสมกับผู้ป่วย ดังนี้

1.การตรวจไขมันและคอเลสเตอรอลในเลือด

2.การตรวจระดับน้ำตาลในเลือด

3.การตรวจด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT Scan)

4.การตรวจด้วยเครื่องแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI)

5.การตรวจหลอดเลือดใหญ่ที่คอด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง (Carotid Ultrasound)

6.การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (Electrocardiogram : EKG)

เครื่องไบเพลนนวัตกรรมในการรักษา

การรักษาเส้นเลือดในสมองตีบนั้น สามารถทำได้โดยการนำเครื่องเอกซเรย์สำหรับตรวจวินิจฉัยและรักษาโรคหลอดเลือดชนิดสองระนาบ (Biplane Digital Subtraction Angiography) หรือ Biplane DSA ซึ่งสามารถถ่ายภาพหลอดเลือดได้อย่างชัดเจนเปรียบเสมือนภาพ 3 มิติ ทำให้แพทย์ทำการรักษาผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง เช่น วิธีการรักษาด้วยยาละลายลิ่มเลือด (rtPA) ทางเส้นเลือดดำ การหรือการใส่สายสวนหลอดเลือดขนาดเล็กไปที่บริเวณลิ่มเลือดที่อุดตันและเกี่ยวดึงลิ่มเลือดออกจากจุดที่อุดตันได้ถึงจุดที่ต้องการได้อย่างรวดเร็ว อีกทั้งแม่นยำและสามารถแก้ไขได้ทันที ทำให้การรักษาโรคหลอดเลือดมีความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น

ภาพโดย : phyathaistrokecenter.com

โครงการ Stock Fast Track ระบบบันทึกเวลาการรักษาโรคหลอดเลือดสมอง

โดยทาง นายสิงหนาท เริงโอสถ ศูนย์ Innosoft ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ได้จัดทำโครงการ Stock Fast Track ระบบบันทึกเวลาการรักษาโรคหลอดเลือดสมอง ซึ่งเป็นโครงการที่ศูนย์นวัตกรรมการประมวลพัฒนาให้กับโรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช ภายใต้สังกัดกรมแพทย์ทหารอากาศ ซึ่งใช้สำหรับการติดตามเวลาในการรักษาแต่ละขั้นตอนนับตั้งแต่ผู้ป่วยมาถึงจุดคัดกรองจนอาการคงที่ 

ภาพโดย : ripo.kmutt

ซึ่งในปัจจุบันนี้นั้นการรักษา ก็มีหลากหลายมากยิ่งขึ้น ซึ่งแนวทางในการรักษานั้นขึ้นอยู่กับผู้ป่วยว่าป่วยในชนิดไหน โดยแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ โรคเส้นเลือดสมองตีบหรืออุดตันเฉียบพลัน และโรคหลอดเลือดสมองแตกที่อาจรักษาด้วยการผ่าตัด ในการรักษาโรคเส้นเลือดสมองตีบมีทั้งให้ยาสลายลิ่มเลือด และการใส่สายสวนเพื่อเปิดหลอดเลือด หรือให้ทั้งยาสลายและใส่สายสวนนั่นเอง

อย่างไรก็ตามการดูแลตนเอง การดำเนินชีวิตในประจำวันนั้นสำคัญอย่างมาก เพราะถ้าหากเป็นแล้วอาจส่งผลให้เกิดอาการสมองเสื่อม ภาพเบลอ ได้ ดังนั้นแล้วจึงต้องควบคุมพฤติกรรมของตนเอง เช่นควบคุมความดันเลือด ควบคุมน้ำตาลในเลือด ออกกำลังกาย รักษาน้ำหนักในระดับที่เหมาะสม และการดูแลสุขภาพจิตใจ เพื่อลดความเสี่ยงและป้องกันอาการเสียหายของสมองในระยะยาว การตรวจสุขภาพประจำอย่างสม่ำเสมอเป็นสิ่งสำคัญในการตรวจจับโรคและรักษาโรคเส้นเลือดสมองตีบในระยะเริ่มต้นอย่างรวดเร็ว การรักษาสุขภาพที่ดีเป็นปัจจัยสำคัญในการป้องกันและรักษาโรคเส้นเลือดสมองตีบในปัจจุบัน โดยการรักษาที่ตรวจอย่างสม่ำเสมอและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เป็นอันตรายยังเป็นสิ่งสำคัญในการรักษาโรคนี้ในระยะยาว


อ้างอิง

https://www.petcharavejhospital.com/th/Article/article_detail/Ischemic-Stroke

https://www.sikarin.com/doctor-articles/อาการเส้นเลือดสมองตีบ

https://www.siphhospital.com/th/news/article/share/treatment-of-stroke

https://www.nakornthon.com/article/detail/เทคนิคทางเลือกของการรักษาโรคเส้นเลือดสมองตีบตัน

https://ripo.kmutt.ac.th/stroke/

 






Comments
To join the comment, please sign in.
Sign in
Don’t have an account? Register
Loading comments...