แบคทีเรียกินเนื้อ ภัยเงียบแต่ร้ายลึก
Published: 18 April 2024
3 views

แบคทีเรียกินเนื้อ ภัยเงียบแต่ร้ายลึก

เมื่อไม่นานมานี้นั้นในกรุงเมืองโตเกียว เมืองหลวงของประเทศญี่ปุ่น ได้มีการออกคำเตือนแก่ประชาชนหลังจากมีการพบผู้ติดเชื้อโรคแบคทีเรียกินเนื้อ ซึ่งเกิดจากการติดเชื้อ สเตรปโตคอคคัส กลุ่มเอ เพิ่มสูงขึ้นถึง 517 คน โดยแบคทีเรียชนิดนี้อันตรายอย่างมาก เพราะมีอัตราการเสียชีวิตได้ถึง 30% เลยทีเดียว ดังนั้นหากรู้จักระมัดระวังป้องกันตัวเอง ก็สามารถลดอัตราการเสียชีวิตได้เช่นกัน

โรคแบคทีเรีย กินเนื้อคืออะไร? ทำไมจึงน่ากลัว...

โรคแบคทีเรีย หรือ โรคเนื้อเน่า (flesh-eating-disease) ในทางการแพทย์ เรียกว่า  necrotizing fasciitis  เป็นโรคติดเชื้อแบคทีเรียอย่างรุนแรงที่ผิวหนังชั้นลึก ตั้งแต่ชั้นหนังกำพร้า ชั้นหนังแท้ ชั้นไขมันใต้ผิวหนัง ไปจนถึงชั้นเนื้อเยื่อหุ้มกล้ามเนื้อ โดยโรคนี้ค่อนข้างที่จะหาได้ยาก ซึ่งสามารถเกิดได้ทั้งจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศและความชื้น เช่น การเดินเท้าเปล่า ลุยโคน เศษไม้ หรือแผลถูกบาด ทำให้เชื้อโรคหรือแบคทีเรียเข้าสู่ร่างกายได้ง่ายมากขึ้น

ภาพจาก : thairath

เมื่อแบคทีเรียเข้าสู่ร่างกายแล้วนั้น จะเกิดการแพร่และฝังอยู่ในเนื้อเยื้อใต้ผิวหนังและทำให้เกิดอาการอักเสบ ซึ่งผู้ป่วยนั้นจะรู้สึกเจ็บและเกิดอาการปวด บางคนมีไข้สูง บริเวณแผลบวม แดงและเจ็บ

สาเหตุการเกิดโรคแบคทีเรียกินเนื้อ

โรคแบคทีเรียกินเนื้อ เป็นภาวะที่เกิดจากการติดเชื้อ ที่เข้ามาทำลายเนื้อเยื่อในร่างกายของมนุษย์สามารถเกิดขึ้นในหลายส่วนของร่างกาย เช่น เนื้อเยื่อกล้ามเนื้อ เนื้อเยื้ออวัยวะภายใน หรือแม้กระทั่งเนื้อเยื่อผิวหนัง โรคนี้จำโรคนี้จึงจำเป็นต้องรักษาโดยการใช้การให้ยาปฏิชีวนะที่เหมาะสมกับเชื้อแบคทีเรียที่เป็นต้นเหตุ ในกรณีที่รุนแรง อาจต้องรักษาด้วยการผ่าตัดหรือรักษาที่โรงพยาบาลอย่างต่อเนื่อง

โดยโรคแบคทีเรียกินเนื้อสามารถเกิดได้ดังนี้

1. โรคแบคทีเรียกินเนื้อหลังจากเกิดบาดแผล เกิดมาจากบาดแผลอุบัติเหตุ เช่น เสี้ยนตำ มีดบาด ซึ่งแบคทีเรียเกิดจากการปนเปื้อนของเชื้อ หากล้างแผลหรือไม่ทำความสะอาดแผล อาจทำให้เกิดผลข้างเคียงหรือการแพร่กระจายของแผลในวงกว้างมากยิ่งขึ้น

ภาพจาก : petcharavejhospital

2. โรคแบคทีเรียกินเนื้อเกิดจากหลังแผลผ่าตัด สามารถเกิดจากหลังแผลผ่าตัดหรือแผลบาดเจ็บที่เปิดทำให้มีโอกาส ที่แบคทีเรียจะเข้ามาทำลายเนื้อเยื่อในร่างกายได้ การตัดเนื้อเยื่อในการผ่าตัดหรือบาดเจ็บที่มีการสัมผัสกับแบคทีเรีย เป็นส่วนเสี่ยงสำคัญที่ทำให้เชื้อแบคทีเรียเข้าไปเจริญเติบโตและทำลายเนื้อเยื่อ หากไม่รักษาหรือปล่อยทิ้งไว้ สามารถทำให้เกิดความรุนแรงและอันตรายต่อชีวิตได้ การรักษาโรคแบคทีเรียกินเนื้อที่เกิดขึ้นหลังจากแผลผ่าตัดอาจต้องใช้การผ่าตัดเพื่อล้างเชื้อและนำเนื้อเยื่อที่ทำลายออก ร่วมกับการให้ยา เพื่อกำจัดเชื้อแบคทีเรีย

ภาพจาก : pobpad

3. โรคแบคทีเรียกินเนื้อเกิดขึ้นเองหรือไม่ทราบสาเหตุ เกิดจากการติดเชื้อโรคเพียงชนิดเดียว ซึ่งส่วนมากเกิดจากเชื้อ (Streptococcus pyogenes) มีอัตราการเสียชีวิตมากถึงร้อยละ 40 บางรายอาจมีการลุกลามที่รวดเร็วส่งผลให้เกิดความรุนแรงและสามารถเสียชีวิตได้ระยะ 2-3 วัน

4. โรคแบคทีเรียกินเนื้อเกิดจากภาวะแทรกซ้อนของการรักษาโรคติดเชื้อทางผิวหนัง มักเกิดจากผู้ป่วยที่มีพยาธิ เช่นแผลกดทับ แผลเบาหวาน นอกจากนี้ พยาธิอื่น ๆ เช่น แผลกดทับหรือแผลเปิดตามผิวหนังก็เป็นจุดเสี่ยงในการติดเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งการรักษาแผลอย่างเหมาะสมและการเฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อนจากการติดเชื้อเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อป้องกันการเกิดโรคแบคทีเรียกินเนื้อในผู้ป่วยที่มีพยาธิ

ภาพจาก : พัทยา2คลินิก

กลุ่มเสี่ยงของโรคแบคทีเรียกินเนื้อ

โรคแบคทีเรียกินเนื้อมักเกิดในกลุ่มเสี่ยงต่อการติดเชื้อหรือการเกิดโรคมากขึ้น เฉพาะบางกลุ่ม ที่มีสถานะที่เสี่ยงในการพบกับเชื้อแบคทีเรียหรือมีระบบภูมิคุ้มกันที่อ่อนแอ

  1. ผู้ป่วยที่มีภาวะภูมิคุ้มกันอ่อนแอหรือมีโรคประจำตัว: ผู้ป่วยที่มีภาวะภูมิคุ้มกันอ่อนแอ เช่น ผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวาน, มะเร็ง, หรือมีภาวะภูมิคุ้มกันลดลง เป็นต้น มักมีความเสี่ยงสูงในการติดเชื้อแบคทีเรียกินเนื้อ เนื่องจากร่างกายไม่สามารถต่อสู้กับเชื้อแบคทีเรียได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  2. ผู้ป่วยที่มีบาดแผลหรือแผลที่เปิด: บางครั้งการมีแผลที่เปิดหรือบาดแผลที่ช่วยให้เชื้อแบคทีเรียเข้าทำลายเนื้อเยื่อสามารถเป็นปัจจัยเสี่ยงในการเป็นโรคนี้ได้
  3. ผู้ที่มีระบบภูมิคุ้มกันลดลงเนื่องจากยา: บางชนิดของยา เช่น สตีรอยด์ หรือยาที่ใช้ในการควบคุมอาการของโรคแบบอื่น ๆ อาจทำให้ระบบภูมิคุ้มกันลดลง
  4. ผู้ที่มีประวัติการติดเชื้อ: หากเคยเป็นโรคแบคทีเรียกินเนื้อมาก่อน มีโอกาสที่จะเกิดการติดเชื้อซ้ำได้สูงขึ้น
  5. ผู้สูงอายุ: โรคแบคทีเรียกินเนื้อมักพบมากขึ้นในกลุ่มผู้สูงอายุ เนื่องจากระบบภูมิคุ้มกันมักลดลงเมื่อมีอายุมากขึ้น ทำให้มีความเสี่ยงสูงในการติดเชื้อแบคทีเรีย


ถึงเป็นโรคแบคทีเรียกินเนื้อ ก็สามารถรักษาได้นะ...

การรักษาโรคแบคทีเรียกินเนื้อ สามารถรักษาได้และจำเป็นต้องรักษาเพราะโรคนี้หากติดเชื้อแล้ว สามารถอันตรายถึงชีวิต ดังนั้นจึงต้องรีบพบแพทย์เพื่อวินิจฉัย ดูอาการความผิดปกติของร่างกาย โดยสามารถรักษาได้ดังนี้

1. การใช้ยาปฎิชีวนะ เป็นส่วนสำคัญในการรักษาโรคแบคทีเรียกินเนื้อ เนื่องจากยาปฏิชีวนะสามารถช่วยควบคุมการเจริญเติบโตและการแพร่กระจายของเชื้อแบคทีเรียได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยใช้ยาปฏิชีวนะอย่างเหมาะสมจะช่วยให้ลดปริมาณเชื้อแบคทีเรียในร่างกายและป้องกันการเกิดโรคกลับมาซ้ำได้

2. การผ่าตัด เป็นวิธีการรักษาที่สำคัญในการจัดการกับโรคแบคทีเรียกินเนื้อ โดยเฉพาะในกรณีที่มีการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรียและการทำลายเนื้อเยื่อเกิดขึ้น การผ่าตัดมักถูกใช้เมื่อการให้ยาปฏิชีวนะหรือการรักษาอื่น ๆ ไม่เพียงพอในการควบคุมโรคหรือการแพร่กระจายของเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งขั้นตอนในการผ่าตัดเพื่อรักษาแบคทีเรียกินเนื้อ เช่น การล้างแผลทำความสะอาด การเปิดแผล การผ่าตัดนำเนื้อเยื่อที่มีการติดเชื้อออก

โดยสรุปข้างต้นแล้วนั้น โรคแบคทีเรียกินเนื้อ เป็นโรคที่พบได้ยากและสามารถรักษาให้หายได้หากมีการรักษาและป้องกันอย่างเหมาะสม ไม่ว่าจะเป็นการรักษาโดยใช้ยาปฎิชีวนะหรือการผ่าตัดก็ตาม การรักษาที่เร่งด่วนและการเฝ้าระวังเพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อแบคทีเรียกินเนื้อก็เป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้ผู้ป่วยหายจากโรคนี้ได้ ดังนั้นการรักษาโรคแบคทีเรียกินเนื้อมักเป็นไปได้หากมีการรักษาและเฝ้าระวังอย่างเหมาะสมนั่นเอง













อ้างอิง

https://www.thairath.co.th/lifestyle/life/2774627

https://www.phyathai.com/th/article/3146-ปวดแผล_ผื่นพุพอง_ระวัง__โ

file:///C:/Users/User/Downloads/12436-Article%20Text-20148-1-10-20220630.pdf

https://www.petcharavejhospital.com/th/Article/article_detail/Necrotizing-Fasciitis

https://www.pobpad.com/ตัดไหม-วิธีการและข้อควร

https://www.xn--2-uwfi8em0a3a0a7hmzb.com/1192-2/

Comments
To join the comment, please sign in.
Sign in
Don’t have an account? Register
Loading comments...