ก๊าซเรือนกระจก ต้นเหตุภาวะโลกร้อน
ทุกวันนี้โลกของเรามีอุณหภูมิที่สูงขึ้น แต่เกิดจากอะไรกันนะ? ลองมาอ่านดีกว่าว่าเกิดจากอะไร ในปัจจุบันนี้สิ่งที่ทำให้เกิดภาวะโลกร้อน ซึ่งตัวการสำคัญเกิดมาจาก "ก๊าซเรือนกระจก" ตัวร้ายที่ทำให้เกิดภาวะโลกร้อน โดยส่งผลกระทบต่อสภาพภูมิอากาศและสภาพแวดล้อมทั่วโลก รวมทั้งยังส่งผลต่อสุขภาพของมนุษย์ในโลกอีกด้วย
ก๊าซเรือนกระจก หรือ Greenhouse Gases ก๊าซที่กักเก็บความร้อนในบรรยากาศ โดยส่งผลให้เกิดการกระตุ้นสภาพภูมิอากาศร้อนขึ้น และการเพิ่มปริมาณของก๊าซเรือนกระจกในบรรยากาศนั้น ส่งผลให้เกิดการรั่วไหลของพลังงานแสงอาทิตย์และความร้อนที่สะสมอยู่บนพื้นผิวโลก ซึ่งทำให้เกิดปัญหาโลกร้อนและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เร็วขึ้น
รู้หมือไร่ ก๊าซเรือนกระจกเกิดจากอะไร?
ก๊าซเรือนกระจก เกิดขึ้นได้จาก 2 ส่วน ได้แก่
- เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ (Natural Greenhouse Gas) เช่น ไอน้ำ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซน์จากการหายใจของสิ่งมีชีวิต
- เกิดขึ้นโดยมนุษย์ (Anthropogenic Greenhouse Gas) ก๊าซที่เกิดจากการเผาไหม้ถ่านหินในกระบวนการการผลิตไฟฟ้า เช่น น้ำมัน ถ่านหิน ทำให้ก๊าซเรือนกระโจกเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
อันตรายจากก๊าซเรือนกระจก ตัวการภาวะโลกร้อน
ก๊าซเรือนกระจก เป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดภาวะโลกร้อนและมีผลกระทบที่อันตรายต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อมอย่างมาก โดยภาวพโลกร้อนทำให้เกิดการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิบนโลกและมีผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมธรรมชาติ มนุษย์ พืชและสัตว์ ซึ่งอันตรายที่สำคัญของก๊าซเรือนกระจก และภาวะโลกร้อนได้แก่
- การเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ เช่นระดับน้ำทะเลเพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากอุณหภูที่สูงขึ้น ส่งผลให้ธารน้ำแข็งขั้วโลกละลาย ,การเพิ่มหรือลดปริมาณน้ำฝนในบางพื้นที่ ที่ส่งผลให้เกิดน้ำท่วมหรือภัยแล้งได้
- อุณหภูมิสูงขึ้น การเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิที่สูงขึ้นส่งผลกระทบต่อสุขภาพมนุษย์และสิ่งมีชีวิต
- การสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ ภาวะโลกร้อนทำให้สภาพแวดล้อมเปลี่ยนแปลงและมีผลต่อความหลากหลายทางชีวภาพ ซึ่งอาจส่งผลต่อความหลากหลายทางชีวภาพในทะเลและบก โดยมีผลต่อการสูญเสียสถานที่อาศัยของสัตว์ และพืช รวมถึงเสี่ยงต่อการสูญพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิตในระดับทั่วโลก
ตัวช่วยสำคัญที่จะมาช่วยดูดซับรังสีความร้อน
กลุ่มก๊าซที่มีความสำคัญและจะมาช่วยในการรักษาอุณหภูมิของโลกให้คงที่ ซึ่งก๊าซมีจำนวนมากที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ และเกิดขึ้นโดยมนุษย์ ก๊าซเรือนกระจกที่สำคัญ คือ ไอน้ำ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ โอโซน มีเทนและไนตรัสออกไซด์ สารซีเอฟซี โดยก๊าซเรือนกระจกที่สำคัญ มีทั้งหมด 7 ชนิด ได้แก่
- ก๊าซคาร์บอนไดออกไซน์ (Carbon Dioxide) หรือ (CO2) เป็นก๊าซเรือนกระจกที่มีปริมาณมากที่สุดในบรรยากาศธรรมชาติ มาจากกิจกรรมมนุษย์เช่น การเผาไหม้เชื้อเพลิงที่ใช้เชื้อเพลิงและปฏิกิริยาเคมีในกระบวนการอุตสาหกรรม การเผาไหม้ การตัดไม้ทำลายป่า
- ก๊าซมีเทน (Methane) หรือ (CH4) เป็นก๊าซที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ เช่นมูลสัตว์ การเผาไหม้เชื้อเพลิงของถ่านหินและก๊าซธรรมชาติ การย่อยสลายของสิ่งมีชีวิต ถึงแม้จะดูไม่อันตราย แต่แท้จริงแล้วก๊าซมีเทนมีความรุนแรงมากกว่าก๊าซคาร์บอนไดออกไซน์ หลายเท่า
- ก๊าซไนตรัสออกไซด์ (Nitrous Oxide) หรือ (N2O) เป็นก๊าซที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ เช่น ฟ้าผ่า ฟ้าแลบ ภูเขาไฟระเบิด การใช้ปุ๋ย หรือการย่อยสลายของอินทรีย์วัตถุในอุตสาหกรรม
- กลุ่มก๊าซเปอร์ฟลูออโรคาร์บอน (Perfluorocarbon) หรือ (PFC) เป็นกลุ่มก๊าซที่ถูกสร้างขึ้นโดยเกิดจากกระบวนการผลิตของโรงงานอุตสาหกรรม เช่น ตู้เย็น สเปรย์ น้ำยา
- กลุ่มก๊าซไฮโดรฟลูออโรคาร์บอน (Hydrofluorocarbons)หรือ(HFC8) เป็นกลุ่มของก๊าซที่ผลิตขึ้นในกระบวนการสังเคราะห์ มักถูกใช้เป็นสารทดแทนความเย็นเช่น เครื่องปรับอากาศ ตู้เย็น ตู้แช่สารสำหรับดับเพลิง
- ไนโตรเจน ไตรฟลูออไรด์ (Nitrogen trifluoride) หรือ (NF3) พบมากในอุตสาหกรรม วงจรไฟฟ้า เช่น โซลาเซลล์ จอโทรทัศน์ ซึ่งทำให้เกิดภาวะโลกร้อนได้มากกว่าก๊าซคาร์บอนไดออกไซน์ หลายเท่า
- ซัลเฟอร์ เฮกซะฟลูออไรด์ (Sulfur Hexafluoride) หรือ (SF6) เป็นก๊าซที่เกิดจากมนุษย์ มีคุณสมบัติไม่ละลายน้ำ ส่วนมากนำมาใช้เป็นฉนวนไฟฟ้าป้องกันการเกิดประกายไฟจากอุปกรณ์สวิทช์ไฟฟ้าแรงสูง
วิธีการลดโลกร้อนง่ายๆ ที่สามารถทำได้ทุกวัน
ในทุกวันนี้การลดภาวะโลกร้อนสามารถเริ่มต้นที่ตัวบุคคล ซึ่งการใช้ชีวิตประจำวันมีผลอย่างมากในการลดผลกระทบที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ แต่จะมีวิธีอะไรบ้างนั้น ไปดูกันเลย
- การประหยัดพลังงาน ปิดเครื่องใช้ไฟฟ้าเมื่อไม่ใช้งาน
- การลดใช้พลาสติก เช่น ใช้ถุงผ้าแทนถุงพลาสติก ใช้แก้วน้ำที่สามารถใช้ซ้ำได้ หรือใช้วัสดุที่สามารถรีไซเคิลได้
- การปลูกต้นไม้ ซึ่งต้นไม้จะดูดดคาร์บอนไดออกไซด์จากอากาศและปล่อยออกซิเจนออกมา
- แยกขยะให้ถูกประเภท
- ใช้หลอดไฟที่ประหยัดพลังงาน (LED)
- ใช้บันไดแทนการใช้ลิฟต์
- ลดการใช้ยานพาหนะ
ซึ่งเป็น 1 ใน 77 องค์กร และเป็นสถาบันการศึกษาแห่งแรกที่ได้รับการรับรองจากจากคณะกรรมการเครือข่ายคาร์บอนนิวทรัลประเทศไทย ทั้้งนี้ “องค์กรผู้นำด้านการจัดการก๊าซเรือนกระจก” (Climate Action Leading Organization) เป็นองค์กรที่แสดงความเป็นผู้นำในการจัดการและรับผิดชอบต่อการปล่อยก๊าซเรือนกระจกขององค์กรผ่านการแสดงเจตนารมณ์ที่จะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพื่อมุ่งสู่คาร์บอนนิวทรัลในระดับองค์กรโดยมีปีเป้าหมายและแผนการดำเนินงานที่ชัดเจน สอดคล้องกับหลักการทางวิทยาศาสตร์และเป้าหมายของความตกลงปารีสและได้รับการรับรองคาร์บอนฟุตพรินท์ขององค์กรและมาตรฐานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องจากองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) หรือ มาตรฐานสากลที่เทียบเท่า
ภาพจาก : www.kmutt.ac.th
โดยสรุปแล้วภาวะโลกร้อนเกิดขึ้นจากการสะสมของก๊าซเรือนกระจกในบรรยากาศ การเพิ่มปริมาณของก๊าซเรือนกระจกในบรรยากาศทำให้มีการเพิ่มปริมาณความร้อนที่ถูกกัมมันตภาพและความร้อนที่ถูกปล่อยออกมาจากพื้นผิวโลกไม่สามารถหลุดออกไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นผลให้เกิดภาวะโลกร้อนที่มีอุณหภูมิเพิ่มขึ้นทั่วโลก
ก๊าซเรือนกระจกที่มีความสำคัญที่สุดในการสร้างภาวะโลกร้อนได้แก่คาร์บอนไดออกไซด์ (CO2), มีเทน (Methane, CH4), ไนโตรเจนออกไซด์ (Nitrous Oxide, N2O), ก๊าซเปอร์ฟลูออโรคาร์บอน (PFC) ,กลุ่มก๊าซไฮโดรฟลูออโรคาร์บอน (HFC8),ไนโตรเจน ไตรฟลูออไรด์ (NF3)และซัลเฟอร์ เฮกซะฟลูออไรด์ (SF6)
การเพิ่มปริมาณของก๊าซเรือนกระจกในบรรยากาศมีทั้งการกระทำของมนุษย์และการกระทำธรรมชาติ แต่ส่วนใหญ่เกิดจากกิจกรรมมนุษย์ เช่น การใช้เชื้อเพลิงธรรมชาติ เช่น น้ำมันและถ่านหิน, การเผาไหม้ป่า, การเลี้ยงสัตว์เพื่อผลิตเนื้อ, การใช้ปุ๋ยเคมีในการเกษตร, การปล่อยก๊าซเรือนกระจายรังสีจากโรงงาน และกิจกรรมอุตสาหกรรมอื่น ๆ
ผลกระทบของภาวะโลกร้อนส่งผลต่อสภาพแวดล้อมและสุขภาพของมนุษย์โดยตรง ซึ่งรวมถึงการเพิ่มความร้อน, การเปลี่ยนแปลงแบบอุตสาหกรรม, การเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดภัยพิบัติธรรมชาติ เป็นต้น อย่างไรก็ตามการช่วยกันการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจายรังสีและการนำเสนอแนวทางการใช้พลังงานที่สะอาดและมีประสิทธิภาพสูงเป็นวิธีที่สำคัญในการลดผลกระทบของภาวะโลกร้อนในอนาคต
อ้างอิง
https://climatecare.setsocialimpact.com/carethebear/article/detail/9
https://dmcrth.dmcr.go.th/manpro/detail/11697/
https://www.kmutt.ac.th/news/kmutt-pride-honours/pride-kmutt/climate-action-leading-organization/
https://dir.co.th/en/news/ia-news/greenhouse-gas-and-disclosure.html
Categories
Hashtags