Smart Home Green Living บ้านอัจฉริยะที่ใส่ใจโลก กับ ดร. จักรกฤช กันทอง
โลกของเราในทุกวันนี้ ได้มีการเปลี่ยนแปลงไปในหลายๆด้าน ไม่ว่าจะเป็นทางด้านสิ่งแวดล้อมหรือเทคโนโลยี และอย่างที่ทราบกันดีว่า ปัจจุบันนี้สภาวะโลกร้อนส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิตของเราอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ทำให้หลาย ๆ คนหันมาใส่ใจเรื่องการประหยัดพลังงานมากยิ่งขึ้น บ้านอัจฉริยะจึงเข้ามามีบทบาทสำคัญในการช่วยแก้ปัญหานี้ได้เป็นอย่างดี แต่จะแก้ปัญหาหรือเป็นอย่างไรนั้น ลองมาอ่านบทความนี้...
Smart Home Green Living บ้านอัจฉริยะที่ใส่ใจโลก
บ้านอัจฉริยะ หรือ Smart Home หลายคนคงจะเคยได้ยินมาบ้างแล้ว บ้านอัจฉริยะคือบ้านที่ใช้เทคโนโลยีเข้ามาควบคุมและจัดการระบบต่าง ๆ ภายในบ้าน ไม่ว่าจะเป็นระบบไฟฟ้า ระบบปรับอากาศ ระบบรักษาความปลอดภัย หรือแม้กระทั่งระบบรดน้ำต้นไม้ ทำให้เราสามารถควบคุมทุกอย่างได้ง่ายดาย ผ่านสมาร์ทโฟนหรืออุปกรณ์อื่นๆ ที่เชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ต
ภาพจาก : mocbuiltin.com
เมื่อปี พ.ศ.2562 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีได้เข้าร่วมงาน Solar Decathlon Europe 2019 ซึ่งเป็นโครงการที่จัดตั้งโดยกระทรวงพลังงานสหรัฐอเมริกา เป็นการแข่งขันสร้างบ้านประหยัดพลังงาน โดยมีอาจารย์จักรกฤช กันทอง ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ ได้มีส่วนร่วมในการทำระบบ Automation ของบ้าน และทีมนักศึกษา มจธ. ประกอบด้วยตัวแทนนักศึกษาจากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์และคณะครุศาสตร์ ร่วมกันระดมความคิดและออกแบบบ้านประหยัดพลังงานในคอนเซ็ปต์ “Resilient Nest” หรือบ้านรังนก โดยสามารถนำบ้านประหยัดพลังงานที่สร้างขึ้น ไปต่อเติมบนอาคารที่มีอยู่แล้ว นักศึกษาจากมจธ. เป็นตัวแทนเดียวจากประเทศไทยและภูมิภาคเอเชีย ที่มีโอกาสได้เข้าร่วมประกวดในครั้งนี้ ร่วมกับทีมนักศึกษาจากอีก 16 ประเทศ อาทิ โรมาเนีย ฮังการี สเปน เนเธอแลนด์ เบลเยี่ยม ฝรั่งเศส และแอลจีเรีย เป็นต้น
ภาพจาก : techsauce
โดยคอนเซปต์หลักของบ้านประหยัดพลังงานนั้น แบ่งออกเป็น 2 ประเภทได้แก่
1. การลด : ลดการใช้พลังงานไฟฟ้า ลดการใช้วัสดุหรือวิธีการที่จะทำให้น้ำร้อน
2. การเพิ่ม : การเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ไฟฟ้า เพิ่มการผลิตไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์และเพิ่มการผลิตน้ำร้อนโดยไม่ใช้พลังงานไฟฟ้า
ซึ่งวัสดุที่ใช้ภายในบ้านจะเป็นตัวไฟฟ้าแบบ VAR (วัสดุที่ดีมีคุณภาพที่ดีที่สุดในประเทศไทย ราคาค่อนข้างสูง) สามารถควบคุมอุณหภูมิได้ทั้งร้อนและเย็น วัสดุที่ใช้เป็นโครงสร้าง เป็นยางไม้พาราและไม้ชนิดอื่น โดยตัวเหล็กจะใช้ในการยึดโครงสร้างและโครงสร้างที่รับน้ำหนักจริงๆแล้วนั้นคือไม้
ภาพจาก : techsauce
“Resilient Nest” หรือบ้านรังนก ออกแบบมาเพื่อคนเมืองโดยเฉพาะ เป็นบ้านที่สามารถตั้งอยู่ที่ไหนก็ได้ และยังสามารถตั้งบนดินหรือกึ่งกลางอาคารและบนดาดฟ้าของอาคารได้อีกด้วย เป็นการลดกระจายความหนาแน่นลดปริมาณประชากรให้มีความสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้บ้านรังนกยังมีสวนในแนวตั้ง หรือสวนในแนวดิ่งหรือ Vertical Garden ซึ่งเป็นเทรนด์ที่ค่อนข้างมาแรงอย่างมากในปัจจุบัน
จากข้างต้นอาจารย์จักรกฤช กันทอง ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรม ศาสตร์ ได้มีส่วนร่วมในการทำระบบ Automation ของบ้าน เช่น Smart meter, การติดตั้ง Solar cell, การเดินสายไฟ
โดยอาจารย์จักรกฤช กันทอง ได้กล่าวว่า การที่จะลดพลังงานภายในบ้าน ยกตัว อย่างเช่น บ้าน การใช้ไฟฟ้าในบ้านของถ้าหากไม่มีมิเตอร์หรือสมาร์ทมิเตอร์ จะไม่สามารถรู้ได้เลยว่า ค่าใช้จ่ายในเดือนนั้นเท่าไหร่ เช่น ราคา 5000 บาท ราคาแพงต้องทำการลดโดยปิดแอร์ ปิดไฟ ให้มากที่สุด ซึ่งจะไม่สามารถรู้ได้ก็ต่อเมื่อถึงสิ้นเดือนว่าต้องจ่ายในราคาเท่าไหร่ จากที่เคยจ่าย 5000 ลดลงมาเหลือ 4000 หากมีสมาร์ทมิเตอร์ จะช่วยในการวัดตลอดเวลา และจะวิเคราะห์ให้ได้อีกด้วย
โดยข้อมูลที่ได้มานั้นจะขึ้น Cloud และมี AI มาประมวลผลว่า พฤติกรรมการใช้ไฟฟ้าเป็นอย่างไร เมื่อใช้เสร็จแล้วจะมีการ Feedback กลับมา ซึ่งอาจอยู่ในรูปของ Display ที่อยู่ในบ้านว่าตอนนี้ได้มีการใช้ไปทั้งหมดกี่หน่วย เช่น 10 หน่วย หน่วยละ 4 บาท 50 เท่ากับ 45 บาท และสามารถบอกได้เลยว่าตอนเวลาไหนใช้พลังงานมาก น้อย หรือตอนที่ไม่อยู่บ้านมีการใช้ไฟฟ้าทิ้งไว้หรือไม่ สมาร์ทมิเตอร์จึงมีประโยชน์อย่างมาก
บ้านประหยัดพลังงานไม่ใช่เพียงแค่การใช้โซลาร์เซลล์แต่มีเรื่อง Automation การถ่ายเทความร้อน ที่จะเป็นตัวกำหนดค่าในการใช้พลังงาน และหัวใจสำคัญของสมาร์ทมิเตอร์ในบ้านประหยัดพลังงานไม่ใช่แค่โซลาร์เซลล์ที่สำคัญ การถ่ายเทพลังงานความร้อน
ผลวิจัยพบว่า ประมาณ 30% - 50% คือสิ่งที่ใช้อีกที่เหลือคือไม่ได้ใช้แล้ว เราสามารถได้เลยอย่างน้อย 30% และสามารถประหยัดได้เลย จาก 100 บาท เหลือ 70 บาท และใน 70 บาท ยังสามารถลดได้อีก หากเรารู้พฤติกรรมการใช้งาน เช่น เราควรเปิด-ปิดแอร์เมื่อไหร่ ถ้าเรารู้จะสามารถลดลงได้อีก จาก 70 บาท เหลือ 20 บาทโดยประมาณ อีกยังสามารถมองเห็นว่าอุปกรณ์ไฟฟ้าของเรานั้นเสื่อมสภาพแล้วหรือยัง เพราะถ้าหากเป็นแอร์เก่าๆ จะทำให้ประสิทธิภาพการใช้งานต่ำลง ทำให้แอร์ทำงานหนักมากขึ้น นั่นหมายถึงพลังงานที่ไม่ควรเสีย ก็ต้องเสียไปตามสัดส่วน และทั้งหมดนี้เราจะไม่สามารถรับรู้ได้เลยหากไม่มีมิเตอร์วัด
มิเตอร์ ที่มีคำว่า Smart คือ อาจจะบอกเป็นเสียงก็ได้ถ้าเป็น Smart Home หรือจะเป็นการแจ้งเตือนผ่านทางหน้าจอ ส่งมาทางโทรศัพท์มือถือ SMS, Line หรือทาง Smart Watch ที่บอกว่าตอนนี้ใช้พลังงานไปเท่าไหร่แล้วนั้นเอง ดังนั้นแล้วบ้านประหยัดพลังงานไม่ใช่เพียงแค่การใช้โซลาร์เซลล์ แต่มีเรื่อง Automation การถ่ายเทความร้อน ที่จะเป็นตัวกำหนดค่าในการใช้พลังงาน และหัวใจสำคัญของสมาร์ทมิเตอร์ในบ้านประหยัดพลังงาน
ดังนั้นหัวใจสำคัญของบ้านประหยัดพลังงาน สมาร์ทมิเตอร์ ไม่เพียงแค่ติดตามการใช้พลังงานไฟฟ้าแต่ยังช่วยวิเคราะห์และแจ้งเตือนเกี่ยวกับการใช้พลังงานในแบบ Realtime เช่น แจ้งเตือนผ่านสมา์ทโฟน, SMS, Line อีกทั้งเรื่องการถ่ายแทความร้อนภายในบ้านก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญอีกประการหนึ่งที่สมาร์ทมิเตอร์จะช่วยวิเคราะห์ เพื่อให้การใช้พลังงานที่เหมาะสมกับสภาพอากาศในตอนนั้นๆ
อ้างอิง
ส่วนหนึ่งในบทสัมภาษณ์ของ ดร.จักรกฤช กันทอง ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ เมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2567
https://kirim.kmutt.ac.th/converis/portal/detail/Person/54405519?auxfun=&lang=de_DE
Categories
Hashtags