Bioplastics...พลาสติกยุคใหม่ มิตรต่อสิ่งแวดล้อม
Published: 9 May 2024
19 views

Bioplastics...พลาสติกยุคใหม่ มิตรต่อสิ่งแวดล้อม

ทุกวันนี้พลาสติกเป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญของชีวิตประจำวัน ตั้งแต่บรรจุภัณฑ์ไปจนถึงอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งพลาสติกมีปริมาณการใช้งานที่สูงมากในสังคมปัจจุบัน เนื่องจากมีคุณสมบัติที่ดี เช่น มีความทนทานต่อการใช้งานและความคงทนต่อสภาพแวดล้อม ซึ่งอย่างไรก็ตามปัญหาของการใช้พลาสติกคือปัญหาขยะที่สะสมอยู่ในสิ่งแวดล้อม ดังนั้นการพัฒนาและใช้พลาสติกที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมจึงกลายเป็นความสำคัญในสังคมโลกปัจจุบัน

พลาสติกมีกี่ประเภทกันนะ?

พลาสติกมีหลากหลายประเภท ซึ่งคุณสมบัติและการนำไปใช้งานต่างๆนั้นจะใช้งานในลักษณะที่แตกต่างกันไป โดยทั่วไปแล้ว พลาสติกสามารถแบ่งออกเป็น 7 ประเภท ได้แก่

1. PET (Polyethylene Terephthalate) - ชนิดนี้มีลักษณธแข็ง ใส ทนแรงกระแทก สามารถมองทะลุผ่านได้ โดยส่วนใหญ่จะใช้สำหรับขวดน้ำ, ขวดเครื่องดื่มและการบรรจุภัณฑ์อาหาร

2. HDPE (High-Density Polyethylene) - พลาสติกประเภทนี้มีความหนาแน่นสูงมีสีทึบ เหนียวและทนทาน ใช้ในขวดน้ำยา,ถังขยะ,ขวดแชมพู,ขวดสบู่ และอื่นๆ

3. PVC (Polyvinyl Chloride) - วัสดุแบบแข็งหรือยาง มีความทนต่อน้ำมันแต่ไม่ทนความร้อน กันกลิ่นได้ ใช้ในท่อ PVC, ท่อน้ำ,แผ่นพลาสติก แผ่นฟิล์มถนอมอาหาร

4. LDPE (Low-Density Polyethylene) - พลาสติกประเภทมีความยืดหยุ่น มีความใส ทนทานต่อความร้อนและกันกระแทกได้ดี โดยส่วนมากใช้ในถุงพลาสติก, ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมและฟิล์มพลาสติก.

5. PP (Polypropylene) - พลาสติกประเภทนี้นิยมใช้มาก มีความทนทานต่อความร้อน เหนียว ทนแรง ทนทานต่อสารเคมี สามารถใช้กับไมโครเวฟได้หรือเรียกง่ายๆได้ว่า "Food Grade" มีความปลอดภัยจึงนิยมใช้กับอาหาร เช่น กล่แงใส่อาหาร ชาน จาน และอื่นๆ

6. PS (Polystyrene) - พลาสติชนิดนี้มีความใส เปราะบางแตกง่าย รีไซเคิลได้ยากใช้ในกล่องโฟม, แผ่น CD/DVD

7. Other - ประกอบไปด้วยพลาสติกที่ไม่อยู่ในหมวดอื่น ๆ เช่น อะคริลิค, อะครีเลต, และพอลีสเตอร์

พลาสติกยุคใหม่ ที่มิตรต่อสิ่งแวดล้อม

"Bioplastics"

พลาสติกที่ผลิตขึ้นจากวัสดุชีวภาพ หรือมาจากต้นกำเนิดธรรมชาติ เช่น มันสำปะหลัง,แป้งมัน,และเซลลูโลส (cellulose) ที่มาจากสารธรรมชาติ ซึ่งสามารถย่อยสลายในสิ่งแวดล้อมได้

โดยพลาสติกชนิดนี้มักถูกนำมาใช้แทนพลาสติกปกติและยังมีคุณสมบัติคล้ายกับพลาสติกทั่วไป แต่มักมีระยะเวลาในการย่อยที่สั้นกว่าเมื่อถูกทิ้งไว้ในสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นทางเลือกที่ดีในการลดปริมาณขยะพลาสติกที่สะสมอยู่ในสิ่งแวดล้อมและมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยกว่าพลาสติกปกติ

การใช้พลาสติกชนิดนี้ช่วยลดการใช้น้ำมันดิบ การลดปริมาณขยะพลาสติกและผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในระยะยาวโดยรวม โดยมักจะประกอบด้วยวัสดุที่สามารถนำกลับไปใช้ใหม่ได้หลังจากการใช้งานแล้ว หรือย่อยสลายได้ในสิ่งแวดล้อมในระยะยาว ทำให้เป็นทางเลือกที่ยังคงได้รับความนิยมเพื่อลดการใช้พลาสติกและประสิทธิภาพทางสิ่งแวดล้อมที่ดีกว่าในปัจจุบันและในอนาคต

ภาพจาก : erdi.cmu

ไบโอพลาสติกสามารถสลายตัวได้ตามธรรมชาติ ซึ่งมีระยะสั้นกว่าพลาสติกทั่วไปโดยมีปัจจัย คือ อุณหภูมิ ความชื้น จุลินทรีย์ และออกซิเจน

สัญลักษณ์รีไซเคิลสำคัญอย่างไร?

ทุกคนอาจจะเคยเห็นหรือคุ้นตากับสัญลักษณ์รีไซเคิล ซึ่งจะสังเกตได้จากของใช้หรือบรรจุภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์ต่างๆ ที่ทำมาจากพลาสติก เช่น ขวดน้ำพลาสติก,ขวดแชมพู,ขวดน้ำยาต่างๆ และแต่ละตัวเลขนั้นมีความหมายที่แตกต่างกัน โดยสัญลักษณ์รีไซเคิลนั้น แบ่งออกเป็น 7 ประเภท ได้แก่

เบอร์1 : PET (Polyethylene Terephthalate) สามารถนำกลับมารีไซเคิลใหม่ได้ และสามารถนำไปแปรรูปเป็นบรรจุภัณฑ์หรือผลิตภันฑ์อื่นๆได้

เบอร์2 : HDPE (High-Density Polyethylene) สามารถนำกลับมารีไซเคิลเพื่อผลิตขวดต่างๆได้ เช่น ขวดน้ำยา

เบอร์3 : PVC (Polyvinyl Chloride) สามารถนำกลับมารีไซเคิลเพื่อทำฉนวนหุ้มสายไฟ ท่อน้ำปะปาได้

เบอร์4 : LDPE (Low-Density Polyethylene) สามารถนำกลับมารีไซเคิล จำพวกถุงพลาสติกใส่ขยะ ถังน้ำ กระเบื้องปูพื้น

เบอร์5 : PP (Polypropylene) สามารถนำมารีไซเคิลได้ เช่น กล่องแบตเตอรี่ กันชน ไฟท้าย

เบอร์6 : PS (Polystyrene) สามารถนำมารีไซเคิลได้ เช่น ไม้แขวนเสื้อ ฉนวนความร้อน ถาดใส่ไข

เบอร์7 : Other สามารถนำไปรีไซเคิลผสมกับพลาสติกชนิดอื่นๆ รีไซเคิลเป็น ท่อ น็อต ล้อ เฟอร์นิเจอร์ที่ใช้กลางแจ้ง

ภาพสัญลักษณ์และตัวอย่างของพลาสติกแต่ละชนิด

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ได้รับทุนอุดหนุนวิจัยภายใต้ความร่วมมือจากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติและสำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากรากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน) (วช.-สพภ.) พ.ศ. 2562

ผศ.ดร. กมลวรรณ อูปเงิน และผศ.ดร. ใหม่ น้อยพิทักษ์ สังกัดศูนย์บริการทางการศึกษาราชบุรี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ได้ทำโครงการวิจัยในเรื่อง การปรับปรุงสมบัติเชิงกลของพอลิแลคไทด์คอมโพสิตที่เสริมแรงด้วยวัสดุคาร์บอนซึ่งผลิตจากวัตถุดิบชีวมวล โดยศึกษาแนวทางในการพัฒนาสมบัติเชิงกลของวัสดุพอลิแลคไทด์คอมโพสิต โดยใช้วัสดุคาร์บอนโดยผลิตจากวัตถุดิบชีวมวลภายในประเทศเป็นสารเสริมแรงหรือเสริมแต่ง โดยคาดหวังที่จะสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับวัตถุดิบชีวมวลเหลือทิ้งทางการเกษตรและลดต้นทุนการผลิตวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรพอลิแลคไทด์คอมโพสิต

สรุปจากบทความข้างต้น ไบโอพลาสติกในปัจจุบันสามารถลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมได้ แต่ปัจจุบันยังไม่สามารถย่อยสลายได้ตามธรรมชาติเหมือนเศษไม้ ใบหญ้า ดอกไม้ และอื่นๆ เพราะโครงสร้างมีความทนทานและสามารถใช้แทนพลาสติกได้ ถึงจะย่อยสลายได้แต่ก็ใช้เวลาในการย่อยสลายแต่สามารถย่อยสลายได้สั้นกว่าพลาสติกชนิดอื่นๆ ทำให้เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ดีในการลดปริมาณขยะพลาสติกที่สะสมและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและมีประสิทธิภาพในอนาคตอย่างยั่งยืน




อ้างอิง

https://www.varietyinterplast.com/index.php/2018-06-01-15-53-50/bioplastic

https://www.micronware.co.th/บล็อกน่ารู้/7-ประเภทพลาสติกที่อยู่รอ

https://erdi.cmu.ac.th/?p=1120

https://modps76.lib.kmutt.ac.th/xmlui/bitstream/handle/123456789/4096/2562_การปรับปรุงสมบัติเชิงกลของพอลิแลคไทด์คอมโพสิต_กมลวรรณ.pdf




Categories

Comments
To join the comment, please sign in.
Sign in
Don’t have an account? Register
Loading comments...