หุ่นยนต์ ช่วยส่งของ ผู้คุ้มกันแพทย์ “การแพร่กระจายของโควิด-19”
Published: 12 March 2024
20 views

 หุ่นยนต์ ช่วยส่งของ ผู้คุ้มกันแพทย์จาก “การแพร่กระจายของโควิด-19”

ในปัจจุบัน โรงพยาบาลรัฐมีผู้เข้ามาใช้บริการของโรงพยาบาลเพิ่มมากขึ้น โดยพื้นที่ของโรงพยาบาลมีการจัดการรักษาเป็นแผนกสามารถไปติดต่อเพื่อจัดคิวรับการรักษาเป็นลำดับ รวมถึงการจัดพื้นที่คัดกรองโควิด-19   ซึ่งโรงพยาบาลยังมีบุคลากรประจำจุดทุกที่ของโรงพยาบาล สามารถบริการผู้ป่วยได้อย่างทันท่วงที และบุคลากรก็ยังต้องทำการคัดกรองโควิด-19 แบบละเอียด และลดการเสี่ยงต่อการแพร่กระจายของเชื้อโควิด – 19 

จึงเกิดเป็น หุ่นยนต์ช่วยส่งของผู้คุ้มกันแพทย์ เพื่อลดการทำงานของบุคลากรและ "การแพร่กระจายของโควิด-19” ที่สามารถป้องกันบุคลากรจากโควิด -19 อีกทั้งยังช่วยลดปริมาณผู้ป่วยได้ด้วยโดยหุ่นยนต์ส่งของนั้นการควบคุมด้วยรีโมทคอนโทรล สามารถขนส่งสิ่งของภายในอาคารหรือพื้นที่ของโรงพยาบาลได้ดีมีระยะการทำงานที่นาน ตามความจุของแบตเตอรี่ แบ่งเบากภาระหน้าที่ของคน เพิ่มความมั่นใจในการทำงานให้กับบุคลากรในโรงพยาบาลให้มากขึ้น และลดการสัมผัสเชื้อโรคลดการแพร่กระจาย  

ภาพจาก : https://chenggang.co.th/th/articles/248524

หุ่นยนต์ ส่งของ คือ เครื่องยนต์ชนิดหนึ่งที่รูปร่างแต่ต่างกันไปตามการใช้งาน หุ่นยนต์ส่งของภายในโรงพยาบาลเป็นเครื่องมืออำนวยความสะดวกได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีความสามารถทางด้านการขนส่งอุปกรณ์ที่มีเชื้อโรคและลดการสัมผัสกับอุปกรณ์ที่มีความเสี่ยงต่อการแพร่กระจายของเชื้อโรค

เชื้อโควิด – 19 คือ โรคติดต่อซึ่งเกิดจากไวรัสโคโรนาชนิดที่มีการค้นพบล่าสุด ไวรัสเป็นโรคอุบัติใหม่นี้ไม่เป็นที่รู้จักเลยก่อนที่จะมี่การแพร่กระจายในเมือง อู่ฮั่น ประเทศจีนในเดือน-19 ขณะที่มีโควิด-19 มีการระบาดใหญ่ทั่วส่งผลกระทบแก่หลายประเทศทั่วโลก

ภาพจาก : https://www.sikarin.com/health

ข้อควรปฏิบัติสำหลับผู้ที่ติดเชื้อโควิด-19 ที่ต้อง home Isolation

  1. ผู้ติดเชื้อไม่ว่ามีอาการหรือมีอาการน้อย ควรแยกตัวอยู่ในห้องคนเดียวเป็นระยะเวลา 7-10 วัน แยกการใช้งานห้องน้ำส่วนตัว (ถ้าเป็นไปได้) ในกรณีที่ต้องใช้ห้องน้ำเป็นคนสุดท้ายแล้วทำความสะอาด ปิดฝาชักโครกทุกครั้งก่อนกดชักโครก
  2. หลีกเลี่ยงการพูดคุยกับคนภายในบ้านโดยที่ไม่สวมหน้ากากอนามัย
  3. รับประทานอาหารคนเดียว ไม่รับประทานเร่วมกับผู้อื่น แยกของใช้ส่วนตัว ไม่ใช้สิ่งของร่วมกับผู้อื่น
  4. ติดต่อกับคนภายในบ้านผ่านช่องทางออนไลน์ หรือ ต้องพูดกันต่อหน้าควรมีระยะห่าง 1.5 – 2 เมตร โดยสวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลา
  5. ไม่ควรอยู่กับคนอื่นในบ้าน ในพื้นที่อับอากาศ หรือห้องที่ปิดมิดชิด ควรจัดให้มีพื้นที่ระบายอากาศที่ดี

ภาพจาก : https://www.sikarin.com/health/home-isolation

หุ่นยนต์ ช่วยส่งของ ผู้คุ้มกันแพทย์ ทำงานอย่างไร

การทำงานของหุ่นยนต์ส่งของนั้น หุ่นยนต์จะเดินไปตามตำแหน่งต่างๆที่เราโดยการส่งงานผ่านการกดที่หน้าจอ ในบางตัวสามารถสั่งผ่าน tablet หรือ Smartphone หรือสั่งทำงานภายในตัวหุ่นยนต์ได้ การทำงานของหุ่นยนต์มีการขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์ไฟฟ้าขนาดกลาง มีการใช้กำลังไฟฟ้าไม่สูง จึงทำงานได้ในระยะเวลาที่นานตามความจุของแบตเตอรี่ของตัวหุ่นยนต์

บทบาทของหุ่นยนต์ช่วยส่งของภายในโรงพยาบาล

ในช่วงโควิด-19, หุ่นยนต์มีบทบาทสำคัญในการช่วยลดการสัมผัสและการระบาดของเชื้อโรคในโรงพยาบาลทั่วโลก การใช้หุ่นยนต์ในการส่งของช่วยลดความเสี่ยงในการติดเชื้อของบุคลากรทางการแพทย์ที่ต้องมาติดต่อกับผู้ป่วย นอกจากนี้ยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดส่งสิ่งของที่จำเป็นในโรงพยาบาลด้วยการลดเวลาในการส่งถึงสถานที่และลดความเสี่ยงของการส่งผิดที่อาจเกิดขึ้น การใช้หุ่นยนต์ในการส่งของยังช่วยเพิ่มความปลอดภัยให้กับพื้นที่โรงพยาบาลด้วยการลดการแพร่กระจายของเชื้อโรคผ่านการสัมผัสตัวเองของมนุษย์

ในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ได้มีการสร้างหุ่นยนต์ผู้พิทักษ์ช่วยวิกฤตโควิด-19 เพื่อช่วยในการฟันฝ่าวิกฤตในครั้งนี้ โดยมีการส่งมอบ 4 ชุด มีรายละเอียดดังนี้

ทางกลุ่มนักศึกษาเก่า มจธ. ร่วมกับ มจธ. ส่งมอบหุ่นยนต์มดพิทักษ์

เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2564 กลุ่มนักศึกษาเก่า มจธ. ร่วมกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) ได้ดำเนินการส่งมอบหุ่นยนต์ขนส่งยาและอาหาร “มดพิทักษ์” ที่ดำเนินการจัดทำขึ้นภายใต้โครงการ “มดพิทักษ์ ช่วยวิกฤตโควิด-19” รวม 4 ชุด ให้กับโรงพยาบาลผู้สูงอายุบางขุนเทียน จำนวน 1 ชุด โดยมี ผศ.สนั่น สระแก้ว หัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ และคุณพงษ์เจริญ รัชตะธรรมสุข เป็นผู้แทนในการส่งมอบ และโรงพยาบาลในจังหวัดราชบุรี 3 โรงพยาบาล คือ โรงพยาบาลปากท่อ โรงพยาบาลวัดเพลง และโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช จอมบึง

ภาพจาก: https://covid-19.kmutt.ac.th/category/medical-support/

ซึ่งทาง มจธ. ได้มอบให้คุณพงษ์เจริญ รัชตะธรรมสุข จากบริษัท ทริปเปิ้ล เอ เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ ซัพพลาย จำกัด เป็นผู้แทนส่งมอบหุ่นยนต์ เพื่อช่วยเหลือการทำงานของบุคลากรทางการแพทย์ในการดูแลผู้ป่วย และรับมือกับสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อ COVID-19 ในขณะนี้ โครงการ “มดพิทักษ์ ช่วยวิกฤตโควิด-19” เป็นความร่วมมือระหว่างกลุ่มมดอาสา มจธ. กลุ่มนักศึกษาเก่า มจธ. และบริษัท ทริปเปิ้ล เอ เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ ซัพพลาย จำกัด มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้ความรู้ ความเชี่ยวชาญที่แต่ละภาคส่วนมีอยู่ ในการประยุกต์ใช้นวัตกรรมเพื่อการสนับสนุนทางการแพทย์ ลดความเสี่ยงติดเชื้อโควิด-19 ให้กับบุคลากรทางการแพทย์ผู้ปฏิบัติหน้าที่ใกล้ชิดกับผู้ป่วยในพื้นที่จังหวัดราชบุรี

ภาพจาก: https://covid-19.kmutt.ac.th/category/medical-support/

สรุปได้ว่าการใช้หุ่นยนต์ในโรงพยาบาลเพื่อช่วยลดการสัมผัสและลดการระบาดของเชื้อโรค COVID-19 โดยการส่งของและวัตถุดิบต่าง ๆ ในโรงพยาบาล การใช้หุ่นยนต์ช่วยส่งของช่วยลดการติดเชื้อของบุคลากรทางการแพทย์ที่ต้องการมาติดต่อกับผู้ป่วย และช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดส่งสิ่งของที่จำเป็นต่าง ๆ ในโรงพยาบาล นอกจากนี้ยังช่วยลดการแพร่กระจายของเชื้อโรคผ่านการสัมผัสตัวเองของมนุษย์ในสถานที่ต่าง ๆ ในโรงพยาบาลด้วย โดยมีหุ่นยนต์ที่ส่งมอบให้กับโรงพยาบาลผู้สูงอายุ และโรงพยาบาลในจังหวัดราชบุรีในการป้องกันและสนับสนุนการรับมือกับสถานการณ์การระบาดของโรค COVID-19 


อ้างอิง

1. https://covid-19.kmutt.ac.th/category/medical-support/

2. https://www.sikarin.com/health/

3. https://www.sikarin.com/health/home-isolation-

4. https://www.who.int/docs/default-source/searo/thailand/

อ้างอิงรูปภาพ

1. https://chenggang.co.th/th/articles/248524

2. https://www.sikarin.com/health

4. https://www.sikarin.com/health/home-isolation

5. https://covid-19.kmutt.ac.th/category/medical-support/










Comments
To join the comment, please sign in.
Sign in
Don’t have an account? Register
Loading comments...