การจัดหมวดหมู่หนังสือและระบบหอสมุดรัฐสภาอเมริกาเบื้องต้น
Published: 24 May 2024
23 views

"ตัวอักษร A-Z บนชั้นหนังสือคืออะไรกันน้าาา...?"

ทุกคนเคยเข้าห้องสมุดกันไหม เวลาเข้าไปใช้เราจะมีความรู้สึกว่าทำไมหนังสือมันหายากจัง จะให้เดินหาหนังสือทุกชั้นก็ใช่เรื่องที่จะมาเสียเวลาหา หรือเคยมีความรู้สึกว่าทำไมห้องสมุดบางที่ถึงจัดขั้นหนังสือไม่เหมือนกับห้องสมุดของเรา บางที่เป็นตัวเลข 000 - 900 บางที่ก็เป็น A-Z แล้วเราจะรู้ได้ยังไงว่าหนังสือที่ต้องการอยู่ตรงไหนของห้องสมุดกันแน่ ผู้เขียนจะพาทุกคนมาทำความรู้จักกับ การจัดหมวดหมู่หนังสือ และ ระบบหอสมุดรัฐสภาอเมริกา ให้กับทุกคนได้รู้จักกัน

woman holding book on bookshelves

Photo by Becca Tapert on Unsplash

การจัดหมวดหมู่หนังสือ

การจัดหมวดหมู่หนังสือ คือ การจัดกลุ่มหนังสือโดยพิจารณาการเนื้อหาและสาระสำคัญของหนังสือเล่มนั้น ๆ หรือรูปแบบของการประพันธ์ โดยใช้สัญญาลักษณ์เป็นตัวกำหนดเพื่อบอกประเภทของหนังสือไว้ที่สันหนังสือแต่ละเล่ม โดยสัญญาลักษณ์ที่ใช้แทนจะตัวเลขหรือตัวอักษร

ข้อดีของการจัดหมวดหมู่หนังสือ

1. ผู้ที่มาเข้าใช้ห้องสมุดและเจ้าหน้าที่สามารถค้นหาหนังสือที่ต้องการได้อย่างรวดเร็วและง่ายต่อการนำมาใช้งาน

2. ผู้ใช้เจอหนังสือที่มีเนื้อหาใกล้เคียงกันอยู่ในชั้นเดียวกันทำให้มีตัวเลือกในการใช้หนังสือเยอะขึ้น

3. ทำให้ทราบถึงทรัพยากรของห้องสมุดนั้น ๆ ว่าแต่ละหมวดมีหนังสือมากน้อยแค่ไหน

4. เมื่อรับหนังสือใหม่เข้ามาทำให้สามารถจัดหนังสือได้อย่างรวดเร็ว

assorted book lot

Photo by Ugur Akdemir on Unsplash

ระบบหอสมุดรัฐสภาอเมริกา

แบ่งหมวด (Classes) โดยออกเป็น 21 หมวด ใช้อักษรตัวพิมพ์ใหญ่ A – Z ยกเว้น I O W X Y จำนวน 1 - 2 ตัวอักษร ตามด้วยหมายเลขที่จำแนกตามหัวข้อย่อย (Subclass) และอาจตามด้วยจุดทศนิยมเพื่อจำแนกรายละเอียดในประเด็นย่อยหรือเรื่องย่อยจำเพาะ

หมวด (Classes)

A ความรู้ทั่วไป (General Works)

B ปรัชญา จิตวิทยา ศาสนา (Philosophy Psychology, Religion)

C ศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์ (Auxiliary Sciences of History)

D ประวัติศาสตร์ทั่วไป และประวัติศาสตร์โลกเก่า (History : General and Old World)

E-F ประวัติศาสตร์ : อเมริกา (History : America)

G ภูมิศาสตร์ โบราณคดี นันทนาการ (Geography, Anthropology, Recreation)

H สังคมศาสตร์ (Social Sciences) รัฐศาสตร์ (Political Science)

K กฎหมาย (Law)

L การศึกษา (Education)

M ตนตรี (Music and Books on Music)

N ศิลปกรรม (Fine Arts)

P ภาษาและวรรณดี (Philology and Literatures)

Q วิทยาศาสตร์ (Science)

R แพทยศาสตร์ (Medicine)

S เกษตรศาสตร์ (Agriculture)

T เทคโนโลยี (Technology)

U ยุทธศาสตร์ (Military Science)

V นาวิกศาสตร์ (Naval Science)

Z บรรณานุกรม และบรรณารักษศาสตร์ (Bibliography, Library Science)

brown wooden book shelves in library

Photo by Shunya Koide on Unsplash

การแบ่งหมวดหมู่ย่อย (Subclass) หมวด A ความรู้ทั่วไป

หมวดหมู่ย่อย AC – รวมเรื่องชุด

หมวดหมู่ย่อย AE – สารานุกรม

หมวดหมู่ย่อย AG – พจนานุกรมและงานอ้างอิงทั่วไปอื่น

หมวดหมู่ย่อย AI – ดรรนี

หมวดหมู่ย่อย AM – พิพิธภัณฑ์

หมวดหมู่ย่อย AN – หนังสือพิมพ์

หมวดหมู่ย่อย AP – วารสาร

หมวดหมู่ย่อย AS – สมาคม และสมาคมวิชาการ

หมวดหมู่ย่อย AY – หนังสือรายปี

หมวดหมู่ย่อย AZ – ประวัติทั่วไปของความรู้

several books on top of table inside room

Photo by Jeroen den Otter on Unsplash

การแบ่งหมวดหมู่ย่อย (Subclass) หมวด B ปรัชญา จิตวิทยา ศาสนา

หมวดหมู่ย่อย BC - ตรรกวิทยา

หมวดหมู่ย่อย BD - ความรู้ทางปรัชญา ทฤษฎีของความรู้ ปรัชญาทางศาสนา

หมวดหมู่ย่อย BF - จิตวิทยา

หมวดหมู่ย่อย BH - ความงาม

หมวดหมู่ย่อย BJ - จริยศาสตร์

หมวดหมู่ย่อย BL-BY - ศาสนา เหตุผลนิยม

หมวดหมู่ย่อย BL - ศาสนา ความเชื่อ

หมวดหมู่ย่อย BM - จูดาส์

หมวดหมู่ย่อย BP - ศาสนอิสลาม

หมวดหมู่ย่อย BR - คริสต์ศาสนา

หมวดหมู่ย่อย BS - คัมภีร์ไบเบิล

หมวดหมู่ย่อย BT - ลัทธิศาสนา

หมวดหมู่ย่อย BV - หลักปฎิบัติ

หมวดหมู่ย่อย BX - นิกายต่าง ๆ

ดูหมวดหมู่ย่อย (Subclass) ของหมวด (Classes) อื่น ๆ ได้ที่นี่

difficult roads lead to beautiful destinations desk decor

Photo by Nik on Unsplash


ตัวอย่าง หนังสือ Move Heaven and Earth

ภาพจาก : https://opac.lib.kmutt.ac.th/vufind/Record/1385576

เลขเรียกหนังสือ (Call Number) : BF636.A2 ก-ม 2566

B คือ หมวด (Classes) ที่เกี่ยวกับปรัชญา จิตวิทยา ศาสนา

BF คือหมวดหมู่ย่อย (Subclass) ที่เกี่ยวกับจิตวิทยา

ทำไมห้องสมุดหลายแห่งจึงเลือกใช้ระบบหอสมุดรัฐสภาอเมริกาในการจัดเรียงหนังสือ นั้นเป็นเพราะว่า ระบบหอสมุดรัฐสภาอเมริกามีจุดเด่นในด้านของการจัดหมวดหมู่ที่เป็นระบบโดยใช้ตัวอักษรพิมพ์ใหญ่ และตัวเลข1-9999 ซึ่งครอบคลุมสาขาวิชาต่าง ๆ และเจาะจงอย่างละเอียดในหมวดนั้น ๆ ซึ่งมีความเหมาะสมสำหรับห้องสมุดที่มีทรัพยากรจำนวนมาก หรือห้องสมุดที่มีขนาดใหญ่ที่มีหนังสือเฉพาะสาขา เช่น ห้องสมุดของมหาวิทยาลัย ห้องสมุดเฉพาะ เป็นต้น ด้วยเหตุนี้เองห้องสมุดจึงใช้ระบบนี้ค่ะ


เราก็ได้รู้ข้อมูลเบื้องต้นของการจัดหนังสือแบบระบบหอสมุดรัฐสภาอเมริกากันไปแล้ว บทความต่อไป "ทำความรู้จักกับระบบทศนิยมของดิวอี้เบื้องต้น"


ข้อมูลอ้างอิงเว็บไซต์

https://slideplayer.in.th/slide/2095056/

https://libmarykabin.wordpress.com/การจัดหมวดหมู่หนังสือ/

https://www.gotoknow.org/posts/388672#google_vignette

https://il.mahidol.ac.th/th/i-learning-clinic/general-articles/ระบบการจัดหมวดหมู่หนัง/










Comments
To join the comment, please sign in.
Sign in
Don’t have an account? Register
Loading comments...