Discuss, Dissect, Discover: การเรียนรู้ผ่านการอภิปรายที่มีประสิทธิภาพ
Published: 30 March 2025
2 views

Discuss, Dissect, Discover:

การเรียนรู้ผ่านการอภิปรายที่มีประสิทธิภาพ


 

           “We do not learn from experience... we learn from reflecting on experience..”

         “เราไม่ได้เรียนรู้จากประสบการณ์เพียงอย่างเดียว... แต่เราเรียนรู้จากการไตร่ตรองประสบการณ์นั้นต่างหาก"

— John Dewey           

           

           ว่าด้วยเรื่องการเรียนการสอนแบบอภิปราย ที่ต่างเข้าใจกัได้ว่าหมายถึง การสอนโดยให้ผู้เรียนแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกันเพื่อช่วยแก้ไขปัญหาอย่างใดอย่างหนึ่ง การอภิปรายระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน หรือระหว่างผู้เรียนด้วยกันเอง โดยอาจมีผู้สอนคอยสอดส่องประสานงาน ซึ่งวิธีการสอนในรูปแบบนี้สามารถช่วยให้ผู้เรียนรู้จักคิดเป็น พูดเป็น และเปิดรับหลากความคิดเห็นมากยิ่งขึ้น

           เมื่อยิ่งก้าวเข้าสู่ยุคโลกาพิวัฒน์ ระบบการศึกษายิ่งต้องเริ่มปรับรูปแบบให้มีความหลากหลายมากยิ่งกว่าเก่าก่อนที่อาจมีเพียงแค่การฟังบรรยายเพียงเท่านั้นที่ได้รับความนิยม

           ด้วยเหตุนี้การอภิปรายจึมีความสำคัญต่อการเรียนรู้ในศาสตร์ทุกแขนง เพราะเป็นการช่วยให้ผู้เรียนได้ประมวลผลข้อมูลผ่านการคิดเชิงวิพากษ์ (Critical Thinking) หรือการคิดเชิงวิเคราะห์ (Systematic Thinking) เนื่องจากการเป็นผู้นำอภิปรายจำเป็นต้อใช้ทักษะมากกว่ายิ่งการบรรยาย เป้าหมายของการอภิปรายจึงเป็นการให้ผู้เรียนฝึกฝนการคิดเกี่ยวกับหลักสูตรนั้นๆ ฉะนั้นแล้วบทบาทของผู้สอนจึงเป็นการอำนวยความสะดวกในการอภิปรายมากกว่าการถ่ายทอดข้อมูล

           

           ความสำคัญของการเรียนรู้เชิงอภิปราย

           มาถึง ณ จุดนี้ ทราบได้ว่าการอภิปรายในชั้นเรียนนับเป็นหนึ่งในแนวทางที่ช่วยให้การเรียนรู้ของผู้เรียนไม่พบความซ้ำซากที่อาจพบมาแล้วทั้งชีวิต ว่าด้วยเรื่องสำคัญจึงสามารถกล่าวได้พอสังเขป ดังนี้

         1. ส่งเสริมทักาะการคิด : การอภิปรายช่วยให้ผู้เรียนพัฒนาทักษะการคิดในหลายๆ ด้าน โดยต้องประเมินข้อมูลจากแหล่งต่างๆ และใช้หลักฐานเพื่อสนับสนุนแนวคิดของตนเอง ผู้เรียนจะได้ฝึกฝนการแยกแยะข้อเท็จจริงออกจากความเห็น และสามารถให้เหตุผลที่น่าเชื่อถือได้

           2. เสริมสร้างทักษะการสื่อสาร : การอภิปรายนับเป็นโอกาสที่ดีในการฝึกการพูดและการฟัง ผู้เรียนต้องสามารถสื่อสารความคิดของตนเองอย่างชัดเจนและมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ยังต้องมีทักษะในการรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นตอบโต้ด้วยความเคารพ และพัฒนาตนเองให้ดียิ่งขึ้น

           3. กระตุ้นการเรียนรู้อย่างลึกซึ้ง : เมื่อผู้เรียนมีส่วนร่วมในการอภิปราย พวกเขาจะต้องทำความเข้าใจเนื้อหาต่างๆ อย่างถ่องแท้และตั้งคำถามเกี่ยวกับเนื้อหาเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้น กระบวนการส่วนนี้ช่วยให้ผู้เรียนจำเนื้อหาได้ดีกว่าการเรียนรู้แบบท่องจำเพียงอย่างเดียว

           4. พัฒนาทักษะการทำงานเป็นทีม : ฝึกฝนการแบ่งหน้าที่ การร่วมมือ การทำงานเป็นทีม ไปสู่การแก้ไขปัญหา และเรียนรู้ที่จะจัดการกับความขัดแย้งอย่างสร้างสรรค์

 

           จะเตรียมการสำหรับอภิปรายกันอย่างไร?

           เมื่อกล่าวมาถึงการอภิปราย อาจมีหลายรูปแบบ เช่น การอภิปรายกลุ่มใหญ่ (Large Group Discussion) การอภิปรายกลุ่มย่อย (Small Group Discussion) หรือการอภิปรายทบทวน (Tutorial Group) เหล่านี้อาจมีความแตกต่างกันบริบทตามสภาพการณ์ แต่สิ่งที่เหมือนกันนั้นก็คือรูปแบบ ที่ไม่ว่าจะอยู่ในบริบทกลุ่มใหญ่หรือกลุ่มย่อย ก็ย่อมมีการเตรียมการหรือดำเนินการอภิปรายที่ไม่ได้มีอะไรต่างกันมาก

           สิ่งสำคัญคือต้องริเริ่มวางแผนการอภิปรายโดยย้อนกลับไปตรวจสอบวัตุประสงค์การเรียนรู้โดยรวมของแต่ละคนเอง อยากให้ผู้เรียน ได้เรียนรู้ในเรื่องอะไร ก็จัดการอภิปรายในหัวข้อนั้นๆ เช่น อยากให้ผู้เรียนได้มีความเข้าใจเกี่ยวกับประเด็นระบบ IOT (Internet of Things) ก็กำหนดหัวข้อดังกล่าวจากนั้นให้ผู้เรียนไปศึกษาค้นคว้าตามแต่ละวิธีการ แล้วจึงนำมาพูดคุยแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับประเด็นที่ได้ศึกษามา

           ดังนั้นแล้วการอภิปรายที่ดี ควรมาจากการวางแผนมาอย่างรอบคอบเพื่อให้ประโยชน์ประโยชน์กับตัวผู้เรียนมากที่สุด การอภิปรายจำประสบผลสำเร็จหรือล้มเหลวล้วนขึ้นอยู่กับคำถามในการกระตุ้นความคิดที่ระบุให้ผู้เรียนไปค้นคว้า คำถามที่ดีจึงมีคุณค่ามากกว่าข้อเท็จจริงเสียด้วยซ้ำ ซึ่งอาจยกตัวอย่าคำถามได้ดังนี้

           - คำถามเชิงสำรวจ (Exploratory Question) : ถามเกี่ยวกับข้อเท็จจริงหรือแนวคิดพื้นฐาน

           - คำถามเชิงแปรียบเทียบ (Comparison Question) : คำถามเชิงเปรียบเทียบข้อเท็จจริง แนวคิด หรือธีมต่างๆ

           - คำถามเชิงสาเหตุ (Casual Question) : วิเคราะห์หาสาเหตุหรือแรงจูงใจของเหตุการณ์

           - คำถามเชิงขยาย (Expansion Question) : คำถามที่ขยายแนวคิดไปยังสถานการณ์ใหม่ๆ

           - คำถามเชิงสรุป (Summary Question) : สังเคราะห์แนวคิดหลักการ หลังจากการอภิปราย

 

           และเมื่อมีคำถามเป็นแนวทางไว้ในหัวคร่าวๆ สิ่งที่สำคัญเพิ่มเติมถัดมาแลเห็นจะเป็นเรื่องของสถานที่ โดยอาจจัดโต๊ะเป็นวงกลมเพื่อให้ทุกคนมีส่วนร่วมกันและได้ง่ายขึ้น โดยผู้สอนควรลดบทบาทตนเองในการเป็นจุดศูนย์กลางของการเรียนรู้ อาจเข้ามานั่งร่วมในวงสนทนาหรือถอยออกมาให้นักเรียนเป็นผู้นำ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ต้องไม่ลืมว่าจุดยืนของผู้สอนนั้นคือ “ผู้อำนวยความสะดวก” ของการอภิปรายแต่ละครั้ง

 

           ดังที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ ทราบได้ว่าการเรีนรู้แบบอภิปรายนับเป็นเครื่องมือที่ทรงพลังในการเรียนรู้ เพราะชวยให้ผู้เรียนพัฒนาทักษะการคิด การสื่อสาร และการทำงานเป็นทีม นอกจากนี้ ยังช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจเนื้อหาในระดับที่ลึกขึ้น และสามารถประยุกต์ใช้ความรู้ในสถานการณ์ต่างๆ ได้ การเตรียมตัวที่ดีทั้งในส่วนของผู้สอนและผู้เรียน จึงนับเป็นกุญแจสำคัญในการทำให้การอภิปรายมีประสิทธิภาพสูงสุด

           การเรียนรู้แบบอภิปราย ไม่ใช่เพียงการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น แต่เป็นกระบวนการที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนสร้างองค์ความรู้ร่วมกัน ซึ่งจะเป็นทักษะสำคัญสำหรับอนาคตในการทำงานและการใช้ชีวิตในสังคม

           

 

 

Reference

1 : Goodreads. (n.d.). John Dewey. Quote by John Dewey: “We do not learn from experience... we learn fro...”

2 : Indiana University Bloomington. (n.d.). Discussions. Discussions: Teaching Strategies: Teaching Resources: Center for Innovative Teaching & Learning: Indiana University Bloomington

3 : University of North Georgia. (n.d.). Discussion. Discussion - Center for Teaching, Learning, and Leadership - UNG

4 : _______. (ม.ป.ป.). วิธีการสอนแบบอภิปราย. WordPress.com. https://sixzoda.wordpress.com/6-%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%98%E0%B8%B5%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%AA%E0%B8%AD%E0%B8%99/%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%98%E0%B8%B5%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%AA%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B9%81%E0%B8%9A%E0%B8%9A%E0%B8%AD%E0%B8%A0%E0%B8%B4%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A2/

5 : True ปลูกปัญญา. (6 สิงหาคม 2564). การพูดอภิปราย. การพูดอภิปราย | TruePlookpanya


Comments
To join the comment, please sign in.
Sign in
Don’t have an account? Register
Loading comments...