มาตรฐานไฟถนน LED: แสงสว่างที่ปลอดภัยและยั่งยืน
Published: 7 February 2025
5 views

มาตรฐานไฟถนน LED: แสงสว่างที่ปลอดภัยและยั่งยืน


 

           ความเป็นมาของหลอดไฟ LED ภายในบ้าน ภายนอกบ้าน ที่สาธารณะ หรือจะที่ใดก็ตามแต่ เริ่มต้นขึ้นมากจากบุคคลเพียงไม่กี่คนในช่วงศตวรรษที่ 19 จนแพร่หลายมาถึงปัจจุบันนี้ มีการผันเปลี่ยนกันเรื่อยไปจากหลอดไส้ มาจนกระทั่งการใช้หลอด LED ที่ทวีคุณภาพและความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากยิ่งขึ้นผ่านการใช้วัสดุอันเป็นสิ่งของที่ไม่ทลายธรรมชาติ หรือสร้างผลเสียน้อยลงกว่าเก่า

           หลอดไฟ LED ดังกล่าวมีการพัฒนาระบการทำงานของตนเองให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ทั้งเรื่องความส่องสว่าง การระบายความร้อน หรือแม้แต่การปรับมุมองศาของเลนส์เพื่อหักเหแสง ก็ยังเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญที่พัฒนาการทำงานให้ส่งผลดีต่อผู้ใช้งานมากยิ่งขึ้น มีประโยชน์ต่อผู้ใช้งานในครัวเรือน ในอาคารสถานที่ ตลอดจนผู้ใช้งานในท้องถนนที่เดิมทีแสงสว่างจากไฟหน้ารถย่อมไม่เพียงพอต่อวิสัยทัศน์ในการขับขี่ยามวิกาล

           ด้วยเหตุนี้การนำเทคโนโลยีหลอดไฟ LED มาปรับใช้ให้เหมาะสมต่อการใช้งานบนทางหลวงก็ดี ทางแยกก็ดี ทางหลวงสายหลักก็ดี ทางหลวงสายรองก็ดี หรือถนนท้องถิ่นก็ดี จำต้องมีการพัฒนามากยิ่งขึ้น เพื่อลดอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นได้ เนื่องมาจากทัศนวิสัยการมองเห็นลดลง ที่ความมืดจะลดระยะและความชัดเจนในการมองเห็นของผู้ขับขี่ ทำให้การขับขี่มีโอกาสเกิดอุบัติเหตุได้ง่ายมากยิ่งขึ้น กล่าวคือ การใช้งานไฟถนนที่ได้มาตรฐานมาทำงานร่วมไฟหน้ารถของผู้ขับขี่ จึงเป็นส่วนหนึ่งที่พอจะยับยั้งอุบัติเหตุที่จะเกิดขึ้นจากการมองไม่เห็นทางไปได้ประมาณหนึ่ง

           ดังที่กล่าวมาข้างต้น ไม่สามารถปฏิเสธได้เลยว่า ในปัจจุบันนี้การติดตั้งระบบไฟฟ้าแสงสว่างบนท้องถนนมีความสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งในทุกพื้นที่ที่มีการขับขี่ เพื่อเป็นการเพิ่มความปลอดภัยในการสัญจรให้กับผู้ใช้รถใช้ถนนเวลากลางคืน ระบบแสงสว่างถนนยังช่วยให้ผู้ขับขี่มีทัศนวิสัยในการมองเห็นที่ชัดเจนมากขึ้น และช่วยให้มองเห็นบริเวณโดยรอบอันเป็นผลต่อการตัดสินใจในขณะขับขี่ได้

           ทั้งนี้ทั้งนั้น ความต้องการไฟฟ้าแสงสว่างของถนนในแต่ละบริเวณอาจแตกต่างกันไปตามลัษณะทางกายภาพของถนน สภาพการจราจร หรือสภาพแวดล้อมของถนนในแต่ละพื้นที่ ซึ่งนอกจากนี้ยังสามารถใช้อุปกรณ์อำนวยความปลอดภัยอื่นๆ มาทดแทนไฟฟ้าแสงสว่างได้ เช่น เครื่องหมายจราจรบนพื้นทาง หลักนำทางเป็นเป้าสะท้อนแสง

           การติดตั้งไฟถนนบริเวณทางแยก ทางร่วม ทางโค้ง หรือบริเวณที่มีการเปลี่ยนทางเดินรถ แสงสว่างบนถนนจะช่วยเพิ่มความปลอดภัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งจะมีประโยชน์ด้านความปลอดภัยมากในพื้นที่เขตชุมชนหรือเมือง เพราะไม่เพียงแต่ทำให้ผู้ใช้ทางมีความปลอดภัยด้านการจราจร แต่ยังเป็นจุดที่ช่วยป้องกันการโจรกรรม อาชญากรรมทั้งหลายแหล่ที่อาศัยความมืดจู่โจมคนเดินเท้าได้อีกด้วย

           การจะติดตั้งไฟถนนให้ได้ประโยชน์อย่างดีนั้น จะมีประสิทธิหากมีการใช้มาตรฐานที่ถูกต้องและจุดติดตั้งไม่เกิดอันตราย

 

ว่าด้วยการติดตั้งเสาไฟ

การติดตั้งเสาไฟตามแบบมาตรฐานเสาไฟฟ้ากรมทางหลวง สามารถแบ่งรูปแบบการติดตั้งไฟถนนออกเป็น 2 แบบได้ดังนี้

           1. การติดตั้งไฟแบบต่อเนื่อง (Continuous Lighting) : เป็นการติดตั้งโคมไฟเหนือระดับพื้นถนนเรียงต่อกันเป็นแถวไฟตามเส้นทาง โดยสาเหตุที่ควรจะนำมาพิจารณาการติดตั้งโคมไฟต่อเนื่องมีหลายประการด้วยกัน ดังนี้

                - มีปริมาณรถสัญจรเฉลี่ย 25,000 คัน/วัน ขึ้นไป

                - พื้นที่บริเวณใกล้เคียงมีแสงสว่างจ้ามากซึ่งรบกวนทัศนวิสัยการขับขี่

                - มีปริมาณคนเดินเท้าสูงในช่วงเวลากลางคืน

                - มีความสับสนของการจราจร เช่น ทางแยก หรือการเปลี่ยนแปลงช่องจราจร

                - มีสถิติอุบัติเหตุในเวลากลางคืนมากกว่า 2 เท่าในเวลากลางวัน

           2. การติดไฟเฉพาะบริเวณ (Specific Lighting) : การติดตั้งไฟเฉพาะบริเวณ เป็นการติดตั้งไฟถนนในจุดเฉพาะซึ่งมีความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุสูง เช่น ทางแยก สะพาน จุดเลี้ยวโค้ง หรือทางม้าลาย โดยเหตุอันควรในการพิจารณาการติดตั้งโคมไฟเฉพาะบริเวณมีด้วยกันดังนี้

               - ทางแยกที่มีการติดตั้งสัญญาณไฟจราจร

               - ทางหลวงที่มีการเปลี่ยนแปลงกายภาพในทันที

               - ทางโค้งรัศมีแคบ หรือทางที่มีความลาดชันมาก

               - สะพานที่โค้งและทางแยกต่างระดับ

        - ทางข้ามหรือทางม้าลายที่มีไฟสัญญาณจราจร หรือที่มีจำนวนคนเดินข้ามสูง

               - ในบริเวณชุมชนที่มีสถิติอุบัติเหตุในเวลากลางคืนมากกว่า 2 เท่าในเวลากลางวัน

 

มาตรฐานความสว่างไฟถนน

           การสัญจรในไทยยุคปัจจุบันนับว่าต่างจากยุคอดีตอยู่มาก เส้นทางหลักส่วนใหญ่ได้รับการติดตั้งโคมไฟถนนส่องสว่างเพิ่มมากขึ้น ด้านกรมทางหลวง ได้มีการกำหนดค่าความสว่างไฟถนนตามประเภทถนน เพราะเป็นสิ่งที่มีความจำเป็นในการใช้ชีวิตของผู้คน ค่าความสว่างของถนนจึงต้องได้ค่าความสว่างตามมาตรฐานที่กำหนดไว้ ดังนี้

 

           ตามตารางมาตรฐานจากกรมทางหลวงดังกล่าว จึงเห็นได้ว่า ทางแยก เป็นจุดที่ควรให้ความสว่างมากเป็นพิเศษในทุกพื้นที่ หากมีมุมอับหรือแสงสว่างไม่เพียงพอ อาจเกิดอุบัติเหตุได้

           ด้วยเหตุนี้ การติดตั้งไฟถนนให้ได้มาตรฐานจึงเป็นเรื่องที่ทุกภาคส่วนควรให้ความสำคัญ เพื่อลดอัตราการเกิดอุบัติเหตุและสร้างความปลอดภัยต่อผู้ใช้รถใช้ถนน นอกจากนี้การเลือกใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าแสงสว่าง เช่น โคมไฟถนน และเสาไฟที่ได้มาตรฐาน ผลิตด้วยวุสดุที่มีคุณภาพ ก็ยิ่งล้วนเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพและความปลอดภัยของประชาชนมากยิ่งขึ้น

 

 

 

Reference

1 : IndustrialTricks. (ม.ป.ป.). 10 อันดับ : อันตรายในการขับขี่ตอนกลางคืนที่พบบ่อยที่สุด. 10 อันดับ : อันตรายในการขับขี่ตอนกลางคืนที่พบบ่อยที่สุด

2 : สัณฐิติ อยู่มาก, อรรถพล เง่าพิทักษ์กุล. (2560). การศึกษาและวิเคราะห์คุณภาพแสงสว่างไฟถนนสำหรับใช้งานบนพื้นผิวที่มีคุณลักษณะแตกต่างกัน. วารสารมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี), 9(17), 137-149.

3 : WinnerLight. (ม.ป.ป.). มาตรฐานไฟถนนกรมทางหลวง และรูปแบบการติดตั้ง. มาตรฐานไฟถนนกรมทางหลวง และรูปแบบการติดตั้ง | Winner Light

4 : LEDinfinite. (ม.ป.ป.). ส่องสว่างได้มาตรฐานทั่วไทย… เพียงเข้าใจ ค่าความสว่าง กรมทางหลวง. ส่องสว่างได้มาตรฐานทั่วไทย... เพียงเข้าใจ ค่าความสว่าง กรมทางหลวง INFINITE LED : ที่สุดของความเชื่อมั่นในคุณภาพ หลอดไฟ | โคมไฟ LED

5 : ChinPower. (ม.ป.ป.). กฎหมายค่ามาตรฐานความเข้มแสงสว่าง (Lux Output Level) 2566. กฎหมายค่ามาตรฐานความเข้มแสงสว่าง (Lux Output Level) 2564 | Chin Power

6 : เทศบาลตำบลบ้านแพร่. (ม.ป.ป.). คู่มือมาตรฐานการปฏิบัติงาน มาตรฐานงานไฟฟ้าสาธารณะ. 23XZ9uqThu34942.pdf

7 : ไทยรัฐ ออนไลน์. (23 กันยายน 2565). ขับไม่เสี่ยง เลี่ยงอุบัติเหตุขับรถกลางคืน. ขับไม่เสี่ยง เลี่ยงอุบัติเหตุขับรถกลางคืน



Categories

Comments
To join the comment, please sign in.
Sign in
Don’t have an account? Register
Loading comments...