ตัดคน Toxic ออกจากชีวิต: เคล็ดลับเพื่อสุขภาพจิตที่ดีขึ้น
Published: 28 February 2025
6 views

ตัดคน Toxic ออกจากชีวิต: เคล็ดลับเพื่อสุขภาพจิตที่ดีขึ้น

 

           “Don't let negative and toxic people rent space in your head. raise the rent and kick them out!”

“อย่าให้คนที่มีพลังงานลบครอบครองจิตใจของคุณ ตั้งมาตรฐานให้สูงขึ้นและตัดพวกเขาออกไปจากชีวิต”    

— Robert Tew

           

           ในชีวิตประจำวัน เราต้องพบเจอผู้คนหลากหลายรูปแบบ บางคนอาจนำพาความุขและแรงบันดาลใจมาให้ แต่บางคนกลับเป็นแหล่งของพลังงานลบและความเครียด บุคคลเหล่านี้มักถูกเรียกว่า “คน Toxic” ซึ่งหมายถึงบุคคลที่มีพฤติกรรมทำร้ายจิตใจผู้อื่น ไม่ว่าจโดยตั้งใจหรือไม่ตั้งใจก็ตาม หากเราไม่มีวิธีรับมือที่ดี อาจส่งผลเสียต่อสุขภาพจิตและความสัมพันธ์ของเราได้

           โลกของการทำงาน ณ ปัจจุบัน (หรืออดีตด้วย) ต่างคนต่างต้องพบเผชิญกับคนหลากประเภท รวมถึงบุคคลที่มีพฤติกรรมไม่ดี ซึ่งมักทำให้บรรยากาศการทำงานอบอวลประมวลไปด้วยมลภาวะที่ไม่เป็นใจ ส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพของงาน และสุขภาพจิตของเพื่อนร่วมงานคนอื่นๆ ได้ การบริหารจัดการหาวิธีรับมือกับคน Toxic ภายในองค์กร ช่วยให้สภาพแวดล้อมในการทำงานเป็นบวก และผลักดันให้พนักงานทุกคนสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

           

ว่าด้วยเรื่องความ Toxic

           ด้าน ผศ. นพ. อวิรุทธ์ อุ่นอารมย์ อาจารย์ประจำภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ให้นิยามของคำว่า Toxic โดยทั่วไป หมายถึง สิ่งที่เป็นพิษ หรือเป็นอันตรายถึงบุคคลที่สร้างปัญหา ความขัดแย้ง หรือส่งความรู้สึกด้านลบให้กับคนรอบข้าง ในทางจิตเวชศาสตร์นั้น ยังไม่มีการวินิจฉัยที่แน่ชัดว่าความ Toxic เป็นโรคหรือความผิดปกติ แต่มีการวินิจฉัยแนวคิดพฤติกรรมที่ก่อให้เกิดปัญหาด้านความสัมพันธ์ซึ่งมีความใกล้เคียงกับความ Toxic ที่เรียกว่า บุคลิกแปรปรวน (Personal Disorders) โดยเป็นพฤติกรรมที่อาจถูกบ่มเพาะมาตั้งแต่เด็ก ทำให้แสดงออกพฤติกรรมนั้นออกมาอย่างต่อเนื่องและยาวนานไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้

           ด้วยเหตุนี้ อย่างไรก็ดี ความ Toxic อาจเกิดขึ้นในสถานการณ์ที่โดนบีบบังคับ สถานการณ์คับขัน ไม่ทันได้ตั้งตัวมาก่อน หรืออาจจะมาจากความผิดหวังในตัวเอง ตัดสินตัวเองอย่างหนักเป็นผลให้เกิดความคิด หรือ ความรู้สึกของตัวเองมาตัดสินคนอื่นไปด้วย และทำให้มีพฤติกรรมที่สร้างปัญหาความขัดแย้ง หรือส่งผ่านความคิดด้านลบให้กับคนอื่นแทน โดยคนที่ Toxic นี้เอง อาจนำไปสู่ Toxic Relationship หรือความสัมพันธ์เป็นพิษ โดยเกิดขึ้นจากการปฏิสัมพันธ์ระหว่างคนสองคนขึ้นไป ที่เกิดความขัดแย้ง ปัญหา หรือความรู้สึกด้านลบที่ส่งผ่านระหว่างกัน จนทำให้เกิดความอึดอัดขึ้นในทุกฝ่าย

           ด้วยเหตุนี้จึงกล่าวได้ว่า คน Toxic คือบุคคลที่มีพฤติกรรมทำร้ายจิตใจผู้อื่น มักทำให้สภาพแวดล้อมรอบตัวเป็นพิษ สร้างบรรยากาศเชิงลบ เพิ่มความเครียด ลดประสิทธิภาพการทำงาน และอาจทำลายความสัมพันธ์ได้ พฤติกรรมของคนประเภทนี้มักส่งผลกระทบต่อสภาพจิตใจ หรือแม้แต่สุขภาพร่างกายหากต้องทำงานหรืออยู่ร่วมกันในสังคม หากพบว่าองค์กรมีผู้ที่ Toxic อยู่ ควรหาวิธีจัดการอย่างเหมาะสม เพื่อเป็นการรักษาสภาพแวดล้อมการทำงานให้เป็นบวก เอื้อต่อการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด

           สำหรับใครที่อยากอ่านงานเขียนเกี่ยวกับเรื่องนี้ ทางเราแนะนำหนังสือ ชีวิตติดปีก ด้วยศิลปะแห่งการ ช่างแม่ง ของ Mark Manson [สามารถสืบค้นได้ที่ลิงก์นี้] บนแพลตฟอร์ม KMUTT Hibrary

 

จะรับมือกับคน Toxic ได้อย่างบ้าง?

           ดังที่กล่าวมาข้างต้น เมื่อพูดถึง คน Toxic ในที่ทำงาน เรามักหมายถึงคนที่ได้สร้างความเสียหายเฉพาะกับงานของตัวเขาเอง แต่ยังสร้างความเสียหายลุกลามไปถึงคนอื่นด้วย ทำให้คนอื่นรู้สึกไม่มีพลังงาน หงุดหงิด และจากประสบการณ์ส่วนตัวของแต่ละคน แลเห็นจะสามารถกล่าวกันเป็นเสียงดัยวกันได้ว่า “ความ Toxic ถือเป็นความอันตรายและรุนแรงมาก” ระบาดได้ราวกับไฟลามทุ่ง กล่าวคือ ถ้าเริ่มแล้ว มันจะหยุดได้ยาก (มาก)

         แต่ที่จะกล่าวเพิ่มอีกคือ การจะนำคน Toxic ออกไปจากที่ทำงานนั้นก็ไม่ใช่เรื่องง่าย หลายครั้งสถานการณ์ซับซ้อนกว่าที่เราคาดไว้ อย่างเรื่องการเมืองในบริษัท กฎหมายในบางประเทศ เพราะฉะนั้นถ้าการเชิญออกไม่ใช่ทางเลือก จึงต้องหาวิธีอื่นจัดการเรื่องนี้ให้ได้ ด้วยเหตุนี้จึงนำแนวทางของคุณ แท็ป-รวิศ หาญอุตสาหะ ผู้ยริหารศรีจันทร์สหโอสถมาเป็นแนวทางในส่วนนี้ครับ

           1. หาสาเหตุที่แท้จริงของปัญหา

           เข้าไปคุยกับบุคคลนั้นแล้วพยายามหาสาเหตุของต้นตอให้เจอ เพราะบางทีการที่เขาปฏิบัติตัวเช่นนั้นอาจมีสาเหตุที่ลึกลงไปกว่าสิ่งที่เราเห็น เช่น เขาอาจกำลังมีปัญหาส่วนตัวหรือเรื่องที่ทำให้เขามีเรื่องที่กดดัน ถ้าเรื่องส่วนตัวของเขามีปัญหาหนักๆ ก็อาจไม่พ้นที่เรื่องดังกล่าวจะกระทบกับเรื่องงานด้วย

           หรืออาจจะเป็นเรื่องขอบเขตงานของเขา เช่น เขาอาจไม่มีความสุขกับงานที่ได้รับมอบหมาย อาจไม่ถนัด ทำแล้วรู้สึกว่ามันทำให้คุณค่าตัวเขาลดลง เมื่อรู้สึกเช่นนั้นอาจทำให้เขาเป็นคน Toxic ขึ้นมาก็ได้ การขุดขุดปัญหาจึงต้องทำอย่างใจเย็น ไม่มีอคติ

           2. ต้องให้ฟีดแบ็กตรงๆ และมอบโอกาสในการเปลี่ยนแปลง

           ที่ต้องให้การตอบกลับอย่างตรงประเด็นเป็นเพราะ บางคนไม่ได้รู้ตัวว่าเขาเป็นคน Toxic การให้ฟีดแบ็กตรงๆ นั้นมีองค์ประกอบ อย่างความชัดเจน จริงใจ อธิบายถึงพฤติกรรมและผลกระทบของพฤติกรรม อธิบายอย่างใจเย็น และจำเป็นต้องเป็นไปตามที่กล่าวมา

           3. อธิบายถึงผลที่ตามมาในกรณีที่เขาไม่แก้ไข

           ต้องหาให้ได้ว่า อะไรคือสิ่งที่เขาให้ความสำคัญมากที่สุด แล้วถ้าเขาไม่แก้ไขตามที่แนะนำ อะไรจะเป็นสิ่งที่เขาจะสูญเสียไป? แต่เรื่องนี้ไม่ควรทำแบบข่มขู่ ข้อให้ทำภายใต้ข้อเท็จจริงล้วนๆ

           4. เก็บบันทึกหลักฐานความเสียหาย

           เก็บเอกสาร หลักฐาน การบันทึกเหตุการณ์ไว้ เพราะคุณต้องปกป้องตนเองและองค์กรในกรณีที่มีเคสรุนแรงเกิดขึ้น เช่น การฟ้องร้องในอนาคต เป็นต้น ที่สำคัญคือ หากต้องเชิญใครออก คือการมีหลักฐานเก็บไว้จะทำให้สามารถอธิบายพนักงานคนอื่นได้ มีความโปร่งใส ทำให้พนักงานคนอื่นไม่เสียขวัญและกำลังใจ

           5. พยายามแยกคนที่ Toxic ออกจากคนอื่น

           เพราะไม่เช่นนั้นเขาจะทำให้ทีมทั้งทีมพังได้เลย แยกไปทำโปรเจกต์อื่น แต่ต้อทำให้เนียนที่สุด อย่ากระโตกกระตาก

           6. อย่าใช้พลังงานเยอะเกินไปในการแก้ปัญหาเรื่องนี้

           เพราะแต่ละคนยังมีเรื่องอื่นทีต้องทำ อย่าให้เรื่องของคนคนเดียวมาทำใก้ชีวิตเราลำบาก หรือกลืนกินตัวตนไป เพราะหลายครั้งเราอาจจะต้องยอมรับว่าความ Toxic มันเป็นอาการที่แก้กันไม่หาย และถ้าเป็นเช่นนั้น การแยกทางอาจเป็นคำตอบที่เหมาะสม

           

           ท้ายที่สุดแล้ว เรามสามารถควบคุมพฤติกรรมของคนอื่นได้ แต่เราสามารถเลือกวิธีตอบสนองและปกป้องตัวเองจากพฤติกรรมเป็นพิษได้ หากเรามีสติและรู้จักรักษาสุขภาพจิตของตนเอง ความสัมพันธ์ที่เป็นพิษจะไม่สามารถทำร้ายเราได้อีกต่อไป

           

           

 

Reference

1 : สมัชญา หน่อหล้า. (ม.ป.ป.). รับมืออย่างไร เมื่อเจอคน Toxic. MedCMU. รับมืออย่างไร เมื่อเจอคน Toxic - คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

2 : Humanica. (11 กรกฎาคม 2024). วิธีรับมือกับคน Toxic ในองค์กร เพื่อทำงานได้อย่างมีความสุข. แนะนำวิธีจัดการกับคน Toxic ในองค์กร ควรทำอย่างไร

3 : รวิศ หาญอุตสาหะ. (2563). Superproductive (พิมพ์ครั้งที่ 12). สำนักพิมพ์คู้บ.

4 : สมบัติ สมศักดิ์. (ม.ป.ป.). ศาสตร์ในการรับมือกับคน "เฮงซวย" ในที่ทำงาน. เครือข่ายส่งเสริมธุรกิจเทคโนโลยีและนวัตกรรม กปว.. กปว. #กองส่งเสริมและประสานเพื่อประโยชน์ทางวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

 


Categories

Comments
To join the comment, please sign in.
Sign in
Don’t have an account? Register
Loading comments...