การเรียนรู้ด้วยการให้คำปรึกษารายบุคคล: เส้นทางสู่การพัฒนาศักยภาพอย่างลึกซึ้ง
“The delicate balance of mentoring someone is not creating them in your own image, but giving them the opportunity to create themselves.”
“ความสมดุลของการเป็นเมนเทอร์คือไม่ใช่การปั้นคนให้เหมือนตัวเอง แต่เป็นการเปิดโอกาสให้เขาได้สร้างตัวตนของเขาเอง”
— Steven Spielberg
ในการศึกษาที่เกิดขึ้นในโลกแห่งการศึกษายุคใหม่ ที่ฝ่ายผู้เรียนเริ่มมีความหลากหลายกันไปในความสามารถ รสนิยม วิถีชีวิต ความนึกคิด ความเชื่อ รวมถึงเรื่องพื้นฐานการเรียนรู้ของแต่ละรายปัจเจกบุคคล การจัดการเรียนการสอนของสถาบันการศึกษาที่จะตอบโจทย์เฉพาะบุคคลจึงอาจนับเป็นหัวใจสำคัญในยุคสมัยนี้ก็นับว่าเป็นไปได้ และถือเป็นหนึ่งในการพัฒนาการศึกษาไปแล้ว ด้านแนวทางที่ได้รับความนิยมและสามารถพิสูจน์ว่าสามารถทำได้ผลคือ “การเรียนรู้ด้วยการให้คำปรึกษารายบุคคล” ซึ่งแป็นกระบวนการที่ผู้เรียนจะได้รับการสนับสนุนอย่างใกล้ชิดจากผู้ให้คำปรึกษา หรือ “เมนเทอร์” ในการเรียนรู้และพัฒนาศักยภาพตามเป้าหมายของตนเอง
ด้วยเหตุนี้จึงถือเป็นแนวทางหนึ่งในการเรียนรู้ที่ผู้อ่านเห็นสมควรที่จะทำความเข้าใจและทำความคุ้นชิน เนื่องจากเป็นสิ่งที่อาจใกล้ตัวมากกว่าที่ใครคิด และยังถือเป็นแนวทางในการจัดการเรียนรู้ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีอีกด้วย ตามนโยบาย Teaching learning approaches ซึ่งผู้อ่านสามารถเข้าเข้ามาดูแนวทางการจัดการเรียนรู้ของมหาวิทยาลัยเพิ่มเติมได้ที่ลิงก์นี้
ว่าด้วยการให้คำปรึกษารายบุคคล
การให้คำปรึกษารายบุคคลในการเรียนรู้ สามารถเข้าใจกันอย่างง่ายได้ว่า เป็นกระบวรการที่ผู้มีประสบการณ์ จะทำหน้าที่เป็นผู้ชี้แนะ สนับสนุน และเป็นหนึ่งในเพื่อนร่วมทางร่วมใจของผู้เรียนรู้ โดยมุ่งเน้นไปที่การสร้างความสัมพันธ์แบบตัวต่อตัวเพื่อเข้าใจความต้องการ จุดแข็ง จุดอ่อน ข้อจำกัด หรือเป้าหมายเฉพาะบุคคลของผู้เรียน ซึ่งต่างจากการสอนแบบกลุ่มที่ใช้รูปแบบเดียวกันผู้เรียนทุกคน
หากจะให้เข้าใจเพิ่มเติม ก็คือการเรียนรู้ในรูปแบบนี้ไม่ได้จำกัดอยู่เพียงแค่ในห้องเรียน แต่ยังสามารถเกิดขึ้นในสภาพแวดล้อมใดก็ได้ที่มีการเรียนรู้ เช่น แวดล้อมณะทำงานวิจัย หรือช่วงที่กำลังพัฒนาทักษะเฉพาะทาง เช่น ทักษะการเขียน การทำเสนอ รวมถึงการสร้างผลงานสร้างสรรค์ต่างๆ
จุดเด่นของการเรียนรู้ในรูปแบบนี้?
ด้านการเรียนรู้แบบการให้คำปรึกษารายบุคคล เป็นชื่อที่สามารถเข้าใจได้ตามตัวของมันอยู่แล้ว ว่าเป็นเรื่องของส่วนบุคคล ไม่ใช่ ส่วนรวม ซึ่งจุดที่มีความเนชัดว่าเป็นผลดีหรือข้อแตกต่างจากการเรียนรู้รูปแบบอื่นสามารถพอจะเข้าใจได้ดังนี้
1. เป็นการพัฒนาเฉพาะบุคคล : ตัวผู้เรียนจะได้รับการวางแผนและพัฒนาตามลักษณะเฉพาะของตน เช่น รูปแบบในการเรียนรู้ ความสนใจ หรือการดำเนินเป้าหมายระยะยาวของตนเอง ซึ่งทำให้เกิดแรงจูงใจจากภายในและมีความหมายต่อการเรียนรู้ได้เป็นอย่างดี หรือให้เข้าใจง่ายๆ ว่าเป็นการสร้างแรงกระตุ้นให้ตนเองในอีกทางหนึ่ง
2. เป็นการสร้างความสัมพันธ์ที่สามารถไว้วางใจได้ : ในความสัมพันธ์เชิงบวกระหว่างตัวผู้ให้คำปรึกษากับตัวผู้เรียน ช่วยให้ผู้เรียนรู้สึกปลอดภัยที่จะตั้งคำถาม แบ่งปันความรู้สึก หรือแม้แต่การเปิดใจยอมรับข้อผิลดพลาดของตนเอง ซึ่งส่งผลให้เกิดการพพัฒนาตนเองในด้านวุฒิภาวะได้ดี
3. เป็นการให้ฟีดแบ็กได้อย่างต่อเนื่อง และตรงจุด : เป็นจุดหนึ่งที่แตกต่างกับการประเมินแบบทั่วๆ ไป เนื่องจากการเรียนรู้ในรูปแบบนี้เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้รับคำแนะนำอย่างต่อเนื่อง ทันเวลา และเหมาะสมกับบริบทจริงของผู้เรียน ซึ่งส่งผลให้พัฒนาจุดด้อยของตนเองได้อย่างแม่นยำ
4. เป็นการปลูกฝังความคิดเชิงวิพากษ์และทักษะการคิดระดับสูง : ผู้สอนสมควรกระตุ้นให้ผู้เรียนตั้งคำถาม พยายามให้ฝึกคิด ฝึกการสะท้อนผล และหาทางเลือกในการตัดสินใจด้วยตนเอง ซึ่งถือเป็นทักษะที่สำคัญเป็นอย่างยิ่งในยุคโลกาภิวัฒน์
ว่าด้วยปัจจัยที่มีความสำคัญ?
สิ่งที่จะบ่งบอกได้ว่าจะสำเร็จหรือล้มเหลวในการเรียนรู้แบบนี้ ก็ถือเป็นสิ่งที่ควรจะทำความรู้จักเข้าไว้ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดแนวทางที่อาจทำให้เจออุปสรรคในรูปแบบไม่ไม่สมควรเจอ และอาจเกิดประโยชน์น้อยนิดสำหรับผู้ที่อาจไม่ทันทราบถึงปัจจัยต่างๆ ที่จะทำให้ประสบความสำเร็จได้ เช่น
- ผู้สอน ควรเข้าใจตัวผู้เรียนเนอย่างดี : ไม่ใช่รู้เพียงแค่ว่าผู้เรียนของตนเองมีความรู้ทางวิชาการมากแค่ไหน แต่ควรทราบถึงบริบทชีวิต ความสนใจ ความใฝ่ฝัน รวมถึงสภาพอารมณ์ของผู้เรียน เพื่อสร้างแผนการพัฒนาที่ช่วยให้ตอบโจทย์ต่อตัวผู้เรียนได้
- ต้องมีเป้าหมายและกรอบเวลาที่ชัดเจน : ทั้งสองฝ่ายควรร่วมกันกำหนดเป้าหมายและแนวทางการติดตามความก้าวหน้าอย่างมีระบบ เช่น การวางแผนรายเดือน หรือการพูดคุยกันเป็นระยะในแต่ละสัปดาห์
- ควรสื่อสารกันอย่างเปิดเผยและรับฟังอย่างตั้งใจ : ผู้ให้คำปรึกษาควรเป็นผู้ฟังที่มีความเข้าใจ ไม่ตัดสิน และสามารถชี้แนะอย่างสร้างสรรค์ ในขณะเดียวกันผู้รับคำปรึกษาก็ควรเปิดใจพร้อมเรียนรู้และพัฒนาตนเองให้มากขึ้น
ตามที่กล่าวมาข้างต้น แม้ว่าการเรียนรู้แบบการให้คำปรึกษารายบุคคลจะมีจุดเด่นอยู่มาก แต่ก็เป็นแนวทางหนึ่งที่ต้องมีการเตรียมความพร้อมให้ดี เพราะหากไม่มีการเตรียมตัวที่ดีแล้วอาจเกิดผลเสียทั้งกับตัวผู้รับปรึกษา หรือผู้ให้คำปรึกษาได้ เช่น ความไม่พอดีกันของทั้งสองฝ่ายทั้งในเรื่องความคิดหรือเวลา การให้คำปรึกษาด้วยระยะเวลาที่นานจนเกินไป รวมถึงการต้องการทักษะเฉพาะของผู้ให้คำปรึกษาในการแนะนำอย่างมีประสิทธิภาพ
ทั้งหมดนี้ สามารถกล่าวได้ว่า การเรียนรู้รูปแบบดังกล่าว นับเป็นแนวทางที่ไม่สมควรมองข้ามไป เพราะเป็นทางหนึ่งที่สามารถพัฒนาตัวผู้เรียนได้อย่างตรงจุด เมื่อมีการดำเนินการอย่างเหมาะสม จะไม่เพียงส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการเท่านั้น แต่ยังพัฒนา “มนุษย์” ให้เป็นผู้เรียนรู้ตลอดชีวิตที่มีเป้าหมาย มีคุณค่า และพร้อมเผชิญความเปลี่ยนแปลงของโลกในอนาคตได้อย่างมั่นคง
Reference
1 : BrainyQuote. (n.d.). Steven Spielberg Quotes. Steven Spielberg - The delicate balance of mentoring...
2 : Channel Island. (n.d.). Individual Counseling. Individual Counseling - Counseling and Psychological Services - CSU Channel Islands
3 : Anne Gomez. (10 September 2024). Why Is Counseling Important?. Our Lady of the Lake University. Why Is Counseling Important?
4 : ณัฐสุดา เต้พันธ์. (20 พฤศจิกายน 2017). จิตวิทยาการปรึกษา. คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. จิตวิทยาการปรึกษา - คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Categories
Hashtags