ทำความรู้จักอาคารเขียว : จากแนวคิดสู่การก่อสร้างที่ยั่งยืน
Published: 30 January 2025
30 views

ทำความรู้จักอาคารเขียว : จากแนวคิดสู่การก่อสร้างที่ยั่งยืน

รูปจาก : https://sustainable.kmutt.ac.th/the-green-building-movement-architecture-for-a-better-planet/


รู้หรือไม่ ?

เบื้องหลังอุตสาหกรรมการก่อสร้างที่สวยงาม

 อาคารสูงระฟ้าตระการตา ที่อยู่อาศัยที่มั่นคงแข็งแรง

ต่างแลกมาด้วยการทำลายสิ่งแวดล้อมมหาศาล


ปัจจุบัน โลกของเรากำลังเผชิญปัญหาสิ่งแวดล้อมมากมาย ทั้งภาวะโลกร้อน (Global warming) การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) ซึ่งปัญหาเหล่านี้ต่างมีสาเหตุมาจากการกระทำของมนุษย์ เช่น การตัดไม้ทำลายป่า การเผาไหม้เชื้อเพลิงฟอสซิล รวมถึงการเติบโตทางเศรษฐกิจ สังคม โดยเฉพาะการขยายตัวของเมืองที่นำไปสู่การก่อสร้างอาคาร ห้างสรรพสินค้า และโครงสร้างพื้นฐานจำนวนมาก

โดยข้อมูลจาก World Green Building Councill กล่าวว่า อุตสาหกรรมการก่อสร้างมีการปล่อย แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) มากถึง 39% ของการปล่อย CO2 ทั้งหมด ซึ่งสามารถแบ่งเป็น 2 ส่วน ดังนี้ (อ้างใน RISC Research Innovation , 2024)

  1. Operation Carbon (28%) คือ คาร์บอนที่เกิดจากการใช้พลังงานในอาคาร เช่น การใช้น้ำ ไฟฟ้า
  2. Embodied Carbon (11%)  คือ คาร์บอนที่เกิดจากกระบวนการผลิตวัสดุก่อสร้าง ตั้งแต่การเลือกวัสดุ การผลิต การขนส่ง การก่อสร้าง และการรื้อถอนอาคาร ซึ่งกระบวนการเหล่านี้ต่างใช้พลังงานและสร้างขยะจำนวนมาก อีกทั้งวัสดุที่ใช้ก่อสร้างอย่าง “ปูนซีเมนต์” ที่เป็นส่วนผสมหลักของคอนกรีต มีการปล่อยแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) มากถึง 8% เช่นเดียวกับการผลิตอลูมิเนียมที่ปล่อย CO2 2% ทั่วโลก

แม้จะสร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม แต่อุตสาหกรรมนี้ยังคงมีบทบาทสำคัญต่อภาคเศรษฐกิจทั้งในและต่างประเทศ เพื่อให้เกิดการแก้ไขอย่างยั่งยืน จึงเกิดแนวคิดการก่อสร้างอาคารที่มุ่งเน้นการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและส่งเสริมการใช้ทรัพยากรอย่างยั่งยืน “อาคารเขียว”



อาคารเขียวคืออะไร?

รูปจาก : https://constructive-voices.com/th/

อาคารเขียว (Green Building) คือ อาคารที่ออกแบบและก่อสร้างขึ้นโดยมีแนวคิดมุ่งเน้นการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของมนุษย์ เช่น การใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ การลดปัญหามลพิษจากขยะ การปกป้องสุขภาพและส่งเสริมประสิทธิภาพการทำงานของคนในอาคาร  โดยมี 3 องค์ประกอบหลักในการก่อสร้าง ดังนี้






เกณฑ์อาคารเขียว

เกณฑ์อาคารเขียว คือ มาตรฐานที่ใช้ออกแบบและประเมินระดับอาคารว่ามีความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและส่งเสริมความยั่งยืนเพียงใด โดยคำนึงตลอดวงจรชีวิตของอาคาร ตั้งแต่การกำหนดทำเลที่ตั้ง การออกแบบ การเลือกใช้วัสดุ การก่อสร้าง การบำรุงรักษา การรื้อถอน และการใช้งานอาคาร

หนึ่งในเกณฑ์ที่ได้รับความนิยมและยอมรับในระดับสากลคือ LEED (Leadership in energy and environmental design) พัฒนาขึ้นโดย U.S Green Building Council (USGBC) จากประเทศสหรัฐอเมริกา โดยมีเป้าหมายเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม การใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ และการลดผลกระทบต่อระบบนิเวศโดยรอบ เพื่อให้เกิดความยั่งยืนในระยะยาว โดยมีอาคารหลายแห่งทั่วโลกที่ได้นำเกณฑ์การประเมิน LEED ไปใช้ในการออกแบบก่อสร้างอาคารเขียว เช่น

Bank of America Tower (สหรัฐอเมริกา)

 

รูปจาก https://www.constructionspecifier.com/bank-of-america-tower-in-houston-achieves-leed-v4-platinum/

เป็นอาคารเขียวแห่งแรกในนิวยอร์กที่ได้รับการรับรอง LEED ระดับ Platinum อาคารแห่งนี้มีการใช้กระจก Low-E เพื่อลดความร้อนจากแสงแดด และระบบประหยัดพลังงานต่าง ๆ เช่น การใช้ CO₂ sensors เพื่อควบคุมคุณภาพอากาศ 

Olympic House (สวิตเซอร์แลนด์)

รูปจาก constructiondigital.com

ตัวอาคารมีการใช้แผงโซลาร์เซลล์และปั๊มความร้อนโดยใช้น้ำจากทะเลสาบเจนีวาเพื่อผลิตพลังงานหมุนเวียน โดยได้รับการรับรองอาคาร LEED Platinum และระดับนานาชาติในปี 2019 ซึ่งได้รับคะแนนมากที่สุด 93 คะแนนจากการก่อสร้างใหม่

The PARQ (ประเทศไทย)

รูปจาก https://www.prachachat.net/sd-plus/sdplus-sustainability/news-814895

โครงการแห่งแรกในประเทศไทยที่ได้รับการรับรอง LEED Gold ver 4 BD+C อาคารที่มีพื้นที่สีเขียว ปูหลังคาด้วยวัสดุสีอ่อนเพื่อบรรเทาความร้อน รวมถึงใช้กระจกกันความร้อนที่สามารถลดความร้อนจากดวงอาทิตย์ 75% เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

แม้ LEED จะเป็นมาตรฐานที่ได้รับการยอมรับระดับสากล แต่ด้วยปัจจัยด้านภูมิศาสตร์ ภูมิประเทศ ภูมิอากาศที่แตกต่างกันในแต่ละพื้นที่ แต่ละประเทศจึงพัฒนาเกณฑ์อาคารเขียวที่เหมาะสมกับท้องถิ่นตนเอง

ตัวอย่างเกณฑ์อาคารเขียวแต่ละประเทศ

  ซึ่งแต่ละประเทศยังคงมีจุดมุ่งหมายเดียวกัน คือการพัฒนาอาคารที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม มีประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากร และส่งเสริมความยั่งยืนในระยะยาว แต่จะมีรายละเอียดที่แตกต่าง เช่น สิงคโปร์ที่ใส่ใจเรื่องนวัตกรรมวัสดุรักษ์โลก การใช้งานวัสดุที่การผลิตมาจากเศษรีไซเคิล เกณฑ์ CASBEE ของประเทศญี่ปุ่นที่ประเมินทั้งคุณสมบัติข้อดีและข้อเสียในด้านสิ่งแวดล้อมของอาคาร



อาคารเขียว ค่าใช้จ่ายสูงจริงหรือไม่?

การก่อสร้างอาคารเขียวมักมีต้นทุนเริ่มต้นที่สูงกว่าการก่อสร้างอาคารทั่วไป เนื่องจากต้องใช้เทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพสูง วัสดุที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และการออกแบบที่คำนึงถึงการประหยัดพลังงานและทรัพยากร อย่างไรก็ตาม ในระยะยาวอาคารเขียวสามารถช่วยลดค่าใช้จ่าย โดยเฉพาะด้านพลังงาน น้ำ และค่าบำรุงรักษา

นอกจากนี้รัฐบาลไทยได้ตั้งเป้าหมายลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลง 20-25% ภายในปี 2030 พร้อมยกระดับเป้าหมายมุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน ภายในปี 2050 การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ ภายในปี 2065 ทำให้อาคารเขียวเป็นหนึ่งในแนวทางสำคัญในการบรรลุเป้าหมายด้านความยั่งยืนของประเทศ

อาคารเขียวจึงเป็นการลงทุนระยะยาวที่ไม่เพียงช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมแต่ยังเป็นที่สนใจของนักลงทุนและผู้เช่า เนื่องจากมีสภาพแวดล้อมที่ดีต่อสุขภาพและช่วยเพิ่มอสังหาริมทรัพย์ในอนาคต 

เช่นเดียวกับหลายประเทศ ประเทศไทยได้พัฒนาเกณฑ์อาคารเขียว “TREE-NCS” เพื่อส่งเสริมการออกแบบอาคารที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอย่างเหมาะสมกับสภาพภูมิประเทศ และสภาพเศรษฐกิจของไทย

 

รูปจาก https://tgbi.or.th/

โดยตอนถัดไปเราจะพาทุกคนไปทำความรู้จักกับเกณฑ์อาคารเขียวของไทยในเชิงลึก ตั้งแต่ประเภทของเกณฑ์ หลักการประเมิน ไปจนถึงขั้นตอนการขอรับรองอาคารเขียว

แล้วพบกัน☺

 

 

รายการอ้างอิง

1. ซี เสริมมติวงศ์, เบญญทิพย์ มุ่งดี, พิทยารัตน์ ญัตติเกื้อกูล. (2564). การศึกษาการใช้มาตรฐานอาคารเขียว ในการก่อสร้างอาคารเขียว ในประเทศไทย. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี. คณะวิศวกรรมศาสตร์.

2. ธ นั ญ ญา กุศล, วิจิตร บุษบา มา รมย์, & อาจารย์ ที่ ปรึกษา. (2566). การ ศึกษา ข้อกำหนด การ เพิ่ม FAR bonus ของ อาคาร เขียว ตาม เกณฑ์ TREES-PRE NC ใน กรุงเทพมหานคร (No. 314977). มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์. คณะ สถาปัตยกรรมศาสตร์ และ การ ผังเมือง.

3.  ศ.ดร. พันธุดา พุฒิไพโรจน์. (2566). ความรู้เรื่อง G-Goods และการนำไปใช้. https://coe.or.th/wp-content/uploads/2023/09/%E0%B8%A7%E0%B8%AA%E0%B8%97_G_GCCDs-%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%A7%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B9%82%E0%B8%A2%E0%B8%98%E0%B8%B2.pdf

4. ซี เสริมมติวงศ์, เบญญทิพย์ มุ่งดี, พิทยารัตน์ ญัตติเกื้อกูล. (2564). การศึกษาการใช้มาตรฐานอาคารเขียว ในการก่อสร้างอาคารเขียว ในประเทศไทย. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี. คณะวิศวกรรมศาสตร์.

5. สำนักหอสมุด. (ม.ป.ป) เกณฑ์อาคารเขียว

 lib.kmutt  https://www.lib.kmutt.ac.th/green-building/

6.  H-BEAM Connect. (2566). รวมเกณฑ์อาคารยั่งยืนที่ประเมินความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมของอาคารจากทั่วโลก. https://www.hbeamconnect.com/blog/sustainable-buildings-that-assesses-the-environmental-friendliness/

7. Petromat. (2566). สร้างอาคารอย่างรักษ์โลก. https://petromat.org/home/circular-construction/

8. Post Today. (2567). Green Building: 10 อันดับอาคารยั่งยืน ดีต่อโลกดีต่อใจที่สุดในโลก. https://www.posttoday.com/smart-city/705959

9. Prachachat. (2564). “เดอะ ปาร์ค” อาคารยั่งยืน LEED เวอร์ชั่น 4 แห่งเดียวในไทย. https://www.prachachat.net/sd-plus/sdplus-sustainability/news-814895

10. RISC. (2567). Timber Construction เทรนด์การก่อสร้าง เพื่อเป้าหมาย Net Zero Emission 2050. https://risc.in.th/th/knowledge/timber-construction-%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B8%99%E0%B8%94%E0%B9%8C%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%81%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%AA%E0%B8%A3%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%87-%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%A2-net-zero-emission-2050

11. Thai Metal. (2566). ก่อสร้างอาคารหลังหนึ่งปล่อยก๊าซเรือนกระจกเยอะแค่ไหน. https://www.tm-aluwindow.com/article/greenhouse-gases/












Comments
To join the comment, please sign in.
Sign in
Don’t have an account? Register
Loading comments...