เมื่อ ChatGPT เข้ามาเป็นผู้ช่วยบรรณารักษ์
Published: 26 November 2024
11 views

จากการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง รู้ทัน AI เสริมสมรรถนะบรรณารักษ์วิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ โดย รองศาสตราจารย์ ดร.ทรงพันธ์ เจิมประยงค์ รองผู้อำนวยการสำนักงานวิทยทรัพยากร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นายรัฐธีร์ ปภัสสุรีย์โชติ และนายอภิวัฒน์ แก้วหะวงษ์ บรรณารักษ์ สำนักงานวิทยทรัพยากรจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในวันที่ 21 พฤศจิกายน 2567 แบ่งเป็นภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ 

--------------------------------------------------------------------------------------

ในงานบรรณารักษ์ที่ต้องวิเคราะห์รายการทรัพยากรฯ เข้าระบบ เป็นงานที่ต้องใช้เวลานานและมีจำนวนมาก ปัจจุบันเมื่อ AI เข้ามามีบทบาทกับการทำงาน ทำให้เกิดคำถามว่า AI สามารถช่วย catalog หนังสือให้กับบรรณารักษ์ได้หรือไม่ อย่างไร

-------------------------------

ตอนสอง : ภาคปฏิบัติ - การใช้ ChatGPT เพื่องานวิเคราะห์และลงรายการทรัพยากรสารสนเทศในมาตรฐานการลงรายการแบบ AACR2 และ RDA โดยคุณรัฐธีร์ ปภัสสุรีย์โชติ และคุณอภิวัฒน์ แก้วหะวงษ์ บรรณารักษ์ สำนักงานวิทยทรัพยากรจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

prompt ที่ใช้ตั้งค่าเฉพาะสำหรับบรรณารักษ์วิเคราะห์ ให้ระบบรู้จำมาตรฐานการลงรายการ โดยกำหนด Instruction ส่วนหนึ่ง “...You adhere strictly to MARC21 standards, RDA guidelines for descriptive cataloging, and controlled vocabularies like Library of Congress Subject Headings (LCSH) or the Thai Subject Headings (THSH). You analyze user-provided bibliographic data, search for supplementary details online when necessary (e.g., title or ISBN), and ensure compliance with cataloging templates...” นอกจากนี้ยังมีการ Upload Requirement ที่เกี่ยวข้องกับการลงรายการทั้งแบบรายการทรัพยากรสารสนเทศประเภททั่วไปและแบบวิทยานิพนธ์ด้วย จากนั้นให้บรรณารักษ์ใช้คำสั่งให้ ChatGPT ช่วยลงรายการทรัพยากรสารสนเทศจากข้อมูลที่ให้ชื่อเรื่อง ชื่อผู้แต่ง ประเภท ปีที่พิมพ์ เป็นต้น และดูผลการตอบกลับ กำหนดการให้หัวเรื่องแบบ DDC และ แบบ LC และดูผลตอบกลับ


จากผลตอบของ ChatGPT เราสามารถให้มาเป็นผู้ช่วยในการปฏิบัติงานได้แต่ไม่สามารถทดแทนความเชี่ยวชาญและแม่นยำเท่ากับข้อมูลที่บรรณารักษ์แคตตาลอกไว้ในระบบได้ ส่วนสำคัญของการทดสอบหรือขยายผลเพื่อการทำงานต่อ คือ

1. Model Generative AI ที่เลือกใช้ว่าจะเลือกใช้อะไร ในตัวอย่างนี้คือ ChatGPT

2. Prompt ควรมีลักษณะอย่างไร มีบทบาท มีคำสั่ง มีตัวอย่าง มีบริบท

3. ผลที่ได้ออกมาเป็นอย่างไร ต้องการผลอะไร

4. จะวัดผลอย่างไร ต้องการวัดอะไร ผลควรมีสมมติฐานเป็นเช่นไร หรือที่ถูกต้องควรออกมาเป็นแบบใด มีกี่แบบ เพื่อวิเคราะห์ความแม่นยำได้

5. เริ่มต้นด้วยข้อมูลชุดใด เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจต่อไป



Comments
To join the comment, please sign in.
Sign in
Don’t have an account? Register
Loading comments...