เครื่องราชกกุธภัณฑ์
Published: 23 August 2023
1 views

จากงานเสวนา "พระจอมเกล้าฯ ในมิติที่คุณไม่รู้จัก : Modernization เข้าโลกตาหลิ่ว ต้องหลิ่วตาตาม" ในวันพุธที่ 22 กุมภาพันธ์ 2566 เวลา 10.00-12.00 น. รับชมการบรรยายเต็มรูปแบบที่ KMUTT Facebook Video ย้อนหลัง

โดย ผศ.ดร.สาระ มีผลกิจ อาจารย์ประจำสาขาวิชาโรงเรียนการท่องเที่ยวและการบริการ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต และ ดร.ศรัณย์ มะกรูดอินทร์ อาจารย์ประจำบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย 

ไทยรับคติความเชื่อการถวายเครื่องราชกกุธภัณฑ์ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกเป็นประเพณีสืบเนื่องมาจากมาจากขอม ซึ่งรับทอดมาจากอินเดียอีกต่อหนึ่ง ประเพณีการถวายเครื่องราชกกุธภัณฑ์ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกของไทยมีปรากฏมาแต่ครั้งสมัยสุโขทัย ดังความในศิลาจารึกวัดศรีชุม (จารึกหลักที่ ๒ ประมาณ พ.ศ. ๑๘๘๔-๑๙๑๐) เมื่อพ่อขุนผาเมืองอภิเษกพ่อขุนบางกลางหาวให้ครองเมืองสุโขทัยนั้น ได้มอบ “ขรรค์ชัยศรี” ที่พ่อขุนผาเมืองได้รับพระราชทานจากกษัตริย์ขอมให้พ่อขุนบางกลางหาวด้วย และในศิลาจารึกวัดป่ามะม่วง ภาษาขอม (จารึกหลักที่ ๔ พ.ศ. ๑๙๐๔) กล่าวถึงเครื่องราชกกุธภัณฑ์ในพิธีบรมราชาภิเษกพระมหาธรรมราชาที่ ๑ (ลิไทย) ว่ามี มกุฎพระขรรค์ชัยศรี และเศวตฉัตร และในสมัยอยุธยาก็ยึดถือพระราชประเพณีนี้สืบต่อมาจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ เครื่องราชกกุธภัณฑ์ที่พระมหาราชครูถวายในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกในสมัยรัตนโกสินทร์ ประกอบด้วย พระมหาเศวตฉัตร พระมหาพิชัยมงกุฎ พระแสงขรรค์ชัยศรี ธารพระกร วาลวีชนี และฉลองพระบาทเชิงงอน

ในสมัยรัชกาลที่ 4 ถือได้ว่า พระองค์ทรงเป็นในหลวงพระองค์แรกที่สวมพระมหาพิชัยมงกุฎแล้วถ่ายรูปส่งไปให้ต่างประเทศได้รับรู้ว่า สยามมีอารยธรรม กษัตริย์ยุโรปก็มีเครื่องราชกกุธภัณฑ์เช่นเดียวกัน

เครื่องราชกกุธภัณฑ์

1. พระมหาพิชัยมงกุฎ น้ำหนัก 7.3 กิโลกรัม ความหมายที่แอบแฝงคือ ทรงแบกรับพระราชภารกิจ การใส่มงกุฎทุกสิ่งทุกอย่างอยู่ที่ตัวฉันคือขอบพระสุเมรุ เพราะฉะนั้น ทุกสิ่งทุกอย่างต้องเริ่มจากตัวฉัน รัชกาลบางรัชกาลใส่เสร็จจะมีการเปลี่ยนบ้างในเวลาเดียวกัน เพราะน้ำหนักเยอะ แต่ปริศนาธรรมที่แฝงไว้คือการรับพระราชภารกิจจนกลายเป็นตราพระราชลัญจกร จนกลายเป็นตราของ มจธ. และพระจอมเกล้าทุกแห่ง นี่คือของสูงของประเทศ มหาวิทยาลัยอื่นไม่มี มีที่มหาวิทยาลัยนี้ที่เดียว

2. พระแสงขรรค์ชัยศรี  ดาบแสดงถึงทรงมีพระบรมเดชานุภาพ ดาบนั้นตัดความอยุติธรรม

3. ธารพระกร คือไม้เท้า คนมีไม้เท้าอายุยืน แผ่ประสบการณ์มาก ไม้เท้าคือตัวแทนของความรู้ อายุยืน และความรู้ที่เพิ่มพูน เปรียบเทียบได้กับฮกลกซิ่ว ซึ่งซิ่วนั้นเป็นรูปเทพที่มีอายุยืน ถือไม้เท้า ซึ่งหมายถึงความรู้เช่นเดียวกัน

4. พัดวาลวิชนี พระแส้จามรี คือ พัดกับแส้ สื่อได้ถึงร่มเย็นเป็นสุข ปราศจากเสนียดจัญไร

5. ฉลองพระบาทเชิงงอน คือแผ่นดิน นี่คือสัญลักษณ์ที่สื่อว่า รัชกาลที่ 4 ต้องแบกรับพระราชภารกิจในมิติของโลกโบราณและรับมิติของโลกสมัยใหม่

อ้างอิง

สำนักงานราชบัณฑิตยสภาพ. (2566). กกุธภัณฑ์. สืบค้นจาก http://legacy.orst.go.th/?knowledges=กกุธภัณฑ์, เมื่อวันที่ 9 เมษายน 2566.

สาระ มีผลกิจ. (2566) เอกสารประกอบการบรรยาย เรื่อง พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหามงกุฎ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระสยามเทวมหามกุฏวิทยมหาราช ๑๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๓๔๗ – ๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๑๑ ในวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2566 ณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยสวนดุสิต

ศรัณย์ มะกรูดอินทร์ และสาระ มีผลกิจ. (2566). หนังสือประกอบการบรรยาย เรื่อง พระจอมเกล้าฯ ในมิติที่คุณไม่รู้จัก ณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี . กรุงเทพฯ : มปพ.


Comments
To join the comment, please sign in.
Sign in
Don’t have an account? Register
Loading comments...