พิเคราะห์เพลิน เดินชมนิทรรศการพระราม 9
Published: 6 June 2024
6 views

ด้วยภารกิจของสำนักหอสมุด มจธ. ที่มุ่งพัฒนาทักษะที่จำเป็นแห่งศตวรรษที่ 21 โดยการถ่ายทอดความรู้ผ่านพื้นที่ส่งเสริมการเรียนรู้ จึงต้องศึกษาดูงานในสถานที่ต่าง ๆ ในคราวนี้เป็น พิพิธภัณฑ์ในเครือขององค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติกระทรวงอุดมศึกษา อพวช. จังหวัด ปทุมธานี ซึ่งระยะเวลาที่จำกัดและขนาดพื้นที่กว้างใหญ่ คณะผู้ศึกษาดูงาน จึงได้ศึกษาเที่ยวชมได้ 2 แห่ง คือ พิพิธภัณฑ์พระราม 9 และพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์

ช่วงเช้า 09.00-14.00 น. ศึกษาดูงานที่พิพิธภัณฑ์พระราม 9 สถานที่พัฒนาแห่งใหม่ล่าสุด เป็นโครงการที่ริเร่มเนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา พระบาทสมเด็จพระชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ซึ่งมีทั้งส่วนการเล่าเรื่อง Our King , Our home และ Our Life โดยใช้สื่อกราฟิกและเทคโนโลยีสื่อประสมต่าง ๆ ที่น่าสนใจ

ภายในพิพิธภัณฑ์พระราม 9 พื้นที่แห่งใหม่นี้เป็นพื้นที่โถงสูงกว้าง เดินดูได้จากซ้ายไปขวา เหมาะสำหรับผู้ชมในทุกระดับผู้เรียน มีตัวอักษรที่เป็นเนื้อหาน้อยกว่าที่พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งเก่า แต่เมื่อเทียบจากสิ่งที่ต้องรับชมแล้ว ถือว่า มีเนื้อหาแบบตัวอักษรเยอะมาก ต้องอาศัยการอ่านและทำความเข้าใจเป็นเวลานานถึงจะรับรู้ได้หมด สามารถซึมซับประสบการณ์ด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย เช่น การใช้แว่น VR แต่ต้องมีเจ้าหน้าที่คอยให้คำแนะนำดูแลและบำรุงรักษาเครื่องมืออย่างต่อเนื่อง

การใช้ Projector ร่วมกับหน้าจอ Touch Screen เพื่อให้ผู้เข้าชมควบคุมสิ่งที่ต้องการรับรู้ด้วยตนเอง

ผู้ชมสามารถกดปุ่มจากหนังสือบริเวณที่ตนเองนั่งเพื่อเรียกแสดงภาพจาก Projector ให้ฉายลงบนพื้นที่แบบหน้าจอ

การนำเสนอที่น่าสนใจแบบเทคนิค Projector Panorama เหมาะสำหรับการนำเสนอให้ผู้ชมได้รับภาพขนาดใหญ่ ในที่นั่งแบบครึ่งวงกลม

นอกจากนี้หากคลิปนำเสนอใช้ระยะเวลานานอาจทำให้ผู้ชมหลุดโฟกัส ยังสามารถดึงดูดสายตาผู้ชมโดยใช้การแบ่งหน้าจอให้มีภาพวิดีโอที่แตกต่างกันสอดแทรกลงไป เหมาะสำหรับเนื้อหาแบบที่ต้องใช้การสังเกตเพื่อเรียกความสนใจ

การฉาย Projector ลงพื้น มีการจัดมุมแสงที่ดี ทำให้เกิดเป็นลักษณะเหมือนซุ้ม ร่มเงาของต้นไม้ และการกำหนดขนาดภาพให้พอดีกับสิ่งที่นำเสนอ ในลักษณะนี้ผู้ชมจะรู้สึกเสมือนจริงจากการที่สัตว์ต่าง ๆ วิ่งเคลื่อนไหวอยู่ที่พื้น

การฉาย Projector Mapping ลงบนพื้นที่โต๊ะขนาดใหญ่ที่มีผู้เล่นได้หลายคน จากภาพตัวอย่างนี้เป็นการร่วมกิจกรรมเรียนรู้ขั้นตอนการปลูกต้นไม้ผ่านการแนะนำของตัวละครเสมือนเป็นคนในพื้นที่แอฟริกา

การเรียนรู้จากเรื่องทางภูมิศาสตร์พื้นที่ราบสูง-ต่ำ ฉาย Projector Mapping โดยใช้ตัวรับ Sensor ในการให้ระบบรับรู้ภาพลักษณะพื้นที่ แล้วประมวลผลในการเปลี่ยนสี เช่น พื้นที่แอ่งแสดงผลเป็นสีฟ้า พื้นที่สูงเป็นสีส้ม

การฉาย Projector ลงบนผืนผ้าโปร่งบางให้ผู้เข้าชมรับรู้ถึงการเคลื่อนไหว

เทคนิคการเล่าเรื่อง (Story Telling) มีการเชื่อมโยงเรื่องราวแบ่งเป็นโซนพื้นที่เพื่อนำเสนอสิ่งที่แตกต่างกันออกไป ในแต่ละจุดยังมีเทคนิคการนำเสนอเนื้อหาที่น่าสนใจเก็บมาเล่าให้ฟัง

การตั้งคำถามจากสิ่งที่นำเสนอ คำตอบอาจจะอยู่ในโปสเตอร์เดียว แต่คำถามต่อไปเชื่อมโยงไปให้ผู้ชมต้องหาคำตอบต่อ

การใช้สื่อ Infographic และภาพนูนช่วยทำให้น่าสนใจและน่าอ่านมากขึ้น

การเล่าเรื่องเซลล์และต้องการให้ผู้เข้าร่วมจดจำลักษณะของเซลล์ต่าง ๆ ได้ โดยการใช้บล็อกไม้จำลองรูปร่างเซลล์และให้ผู้เข้าร่วมจัดวางในบล็อกช่องต่าง ๆ

การออกแบบสื่อที่บอกในระยะไกลและใกล้ ให้ผู้ชมที่เดินไกล ๆ มองเห็นและสนใจเข้าร่วม กับผู้ชมที่เดินทางจะเข้าในพื้นที่ใหม่ได้โฟกัสในสิ่งที่ตนเองจะเข้าไปรับรู้

การใช้ประสาทสัมผัสกลิ่นในการรับรู้ประสบการณ์ โดยมีอุปกรณ์ที่ครอบและหมุนได้เพื่อปล่อยกลิ่นให้ผู้เข้าร่วมได้จดจำกลิ่นของช็อคโกแลต วานิลลา และใช้เทคนิคการตั้งคำถามว่าเป็นกลิ่นอะไร มักจะพบที่ใดบ่อย

การใช้วีดิทัศน์เล่าเรื่อง บนหน้าจอขนาดใหญ่ฉายวนซ้ำมี แต่เป็นเรื่องราวใกล้ตัวทำให้ผู้เข้าชมสนใจ รอติดตามให้ฉายวนใหม่ และจดจำได้ ดังตัวอย่างเป็นเรื่องราวของชนิดเมฆและชั้นบรรยากาศ วีดิทัศน์สะท้อนให้เห็นภาพมุมสูงบนชั้นอากาศ

การใช้แบบจำลองในการเล่าเรื่อง อิกลูเป็นที่รู้จักแต่รูปร่างของแต่ละชิ้นแตกต่างกันออกไป นอกจากสื่อแบบโปสเตอร์แล้วนำเสนอด้วยการจำลองให้ผู้เข้าชมต่อเอง

เทคนิคการใช้แสงสีและฉาก เป็นเทคนิคที่ช่วยทำให้ผู้เข้าชมสนใจ เพิ่มความเสมือน

จากตัวอย่างเป็นเรื่องเซลล์และสัตว์แต่ละแบบที่หาชมในชีวิตประจำวันได้ยาก ซึ่งผู้เข้าชมจดจำหน้าตาในทุกอันไม่หมด และมีความสำคัญที่แตกต่างกันออกไป แสดงแบบให้เลือกรับชมโดยใช้หน้าจอแสดงภาพซึ่งมีทั้งภาพนิ่งและแบบหุ่นจำลอง กลมกลืนกัน บอกลำดับหมายเลขให้มาดูต่อว่าคืออะไรบ้าง

การใช้ LED เส้นบอกช่วงปี

การเคลื่อนไหวของแสงที่มีสีในการแสดงพื้นที่ของโลกที่มีการอพยพจากมนุษย์ในยุคโบราณ ประมาณ 6 แสนปีก่อน

การสร้างฉากพื้นหลัง เพิ่มแสง ทำให้พื้นที่ดูเสมือนจริงมากขึ้น

ช่วงบ่าย เวลา 14.30 - 15.00 น. ณ พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ ที่แห่งนี้เริ่มก่อตั้งในปี พ.ศ. 2538 ไม่ว่าใครที่เคยผ่านพ้นช่วงประถมศึกษามา หรือนักเรียนประถมฯ ในปัจจุบันมักได้มาเยี่ยมชมทัศนศึกษาที่นี่ แม้ว่าก่อตั้งมาเกือบ 30 ปี แต่การออกแบบพื้นที่การเรียนรู้ และองค์ความรู้เหล่านั้นยังคงทันสมัยและใช้ได้ดีจนถึงในปัจจุบัน

ความน่าประทับใจในพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์

เนื้อหาในการบรรยายบนโปสเตอร์ค่อนข้างมาก จึงต้องใช้เวลาทำความเข้าใจ แต่การถ่ายทอดประสบการณ์การเรียนรู้ ทำให้ผู้ชมได้ใช้ประสาทสัมผัสทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็น การเห็น การได้ยิน การสัมผัส การได้กลิ่น

การเรียนรู้เรื่องการทำงานของกล้องเอ เอฟ เอ็ม กล้องที่ทำให้เราเห็นภาพในระดับนาโน ใช้ประสาทสัมผัสมือ กับสิ่งที่มองเห็น ทำให้รับรู้ถึงประสบการณ์การส่องกล้องแบบที่ต้องใช้ตา และใช้มือสัมผัส โดยที่ไม่ได้ใช้เทคโนโลยีแต่ทำให้ผู้เข้าชมรับรู้ถึงประสบการณ์การส่องกล้อง

การใช้ Projector Mapping ให้ตรงกับกรอบภาพ เพื่อถ่ายทอดเรื่องราวความสูงต่ำของพื้นที่ ดังตัวอย่างเป็นที่โคกนา

ใช้เทคโนโลยี Motion Controller โดยใช้อุปกรณ์ Kinect และกล้องในการจับภาพ เพื่อเพิ่มความจริงเสมือนในการร่วมกิจกรรม ผู้เข้าชมยืนในจุดที่กล้องจับภาพได้ และแสดงภาพให้ผู้เข้าชมเห็นท่าทางของตนเอง

หลังจากนี้ หากได้ไปศึกษาดูงานในสถานที่อื่นและมีแง่มุมที่น่าสนใจ จะพยายามมาถ่ายทอดให้ผู้อ่านมีประสบการณ์ร่วมกัน โปรดติดตามบทความต่อ ๆ ไป 

Comments
To join the comment, please sign in.
Sign in
Don’t have an account? Register
Loading comments...