จากงานเสวนา "พระจอมเกล้าฯ ในมิติที่คุณไม่รู้จัก : Modernization เข้าโลกตาหลิ่ว ต้องหลิ่วตาตาม" ในวันพุธที่ 22 กุมภาพันธ์ 2566 เวลา 10.00-12.00 น. รับชมการบรรยายเต็มรูปแบบที่ KMUTT Facebook Video ย้อนหลัง
โดย ผศ.ดร.สาระ มีผลกิจ อาจารย์ประจำสาขาวิชาโรงเรียนการท่องเที่ยวและการบริการ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต และ ดร.ศรัณย์ มะกรูดอินทร์ อาจารย์ประจำบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเข้าพระทัยเกี่ยวกับวัฒนธรรมตะวันตก เมื่อได้ทรงทราบว่า พระมหากษัตริย์ของชาวยุโรปมีประเพณีการประดับเครื่องหมายแสดงพระเกียรติยศที่ฉลองพระองค์ พระองค์จึงมีพระราชดำริที่จะทรงสร้างเครื่องหมายแบบชาวตะวันตก จากรูปแบบสิ่งที่เป็นมงคลดั้งเดิมของไทย ดังเช่น เครื่องราชอิสริยาภรณ์ตระกูลนพรัตนราชวราภรณ์ ซึ่งเป็นเครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่รัชกาลที่ 4 ทรงได้แรงบันดาลใจมาจากเครื่องราชอิสริยาภรณ์ของฝรั่งเศส พระเจ้านโปเลียนที่ 3 ทรงส่งเครื่องราชอิสริยาภรณ์มาถวาย พระองค์ท่านทรงนำมากลัดติดหน้าอก และทรงถ่ายรูปส่งกลับไปถวายพระเจ้านโปเลียนที่ 3 จึงเป็นที่มาว่าเวลามีพระราชอาคันตุกะ จะมีการแลกเปลี่ยนเครื่องราชอิสริยาภรณ์กัน คือ เธอใส่ของฉัน ฉันใส่ของเธอ ซึ่งเป็นการสร้างสัมพันธ์ระหว่างประเทศ และท่านก็นำมาปรับคิดว่า แหวนนพเก้าของเราสามารถนำมาปรับเป็นเครื่องราชอิสริยาภรณ์ได้ จึงนำมาปรับเป็นเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เป็นวิธีคิดโดยการประยุกต์ของราชเก่าให้เข้าสู่สากล ในรูปเป็นเครื่องราชชั้นสูงสุด คนที่ได้ต้องนับถือศาสนาพุทธเท่านั้นเพราะพัฒนามาจากแหวนนพเก้าในทางศาสนาพุทธ เป็นจุดกำเนิดของเครื่องราชอิสริยาภรณ์
ฉลองพระองค์อย่างนายทหารฝรั่งเศส ทรงเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เลจิออง ดอนเนอร์ (Légion d'honneur) ซึ่งจักรพรรดินโปเลียนที่ 3 แห่งฝรั่งเศส โปรดให้นายพลเรือเอก โบนาร์ด (Bonard) แม่ทัพเรือภาคโคซินชีน (Cochin-Chine) อัญเชิญเข้ามาทูลเกล้าฯ ถวายที่พระที่นั่นอนันตสมาคมในพระบรมมหาราชวัง เมื่อวันอาทิตย์ที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2406 กระบี่พระแสงหัตถ์นารายณ์ พระหัตถ์ขวาทรงถือธารพระกร มีเสน่า ข้างใน
*(เสน่า อ่านว่า สะ-เหน่า หรือ เส-น่า คือ พระแสงมีดสั้น)
เครื่องอิสริยาภรณ์เลฌียงดอเนอร์ ชั้น กร็อง-ครัว
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นโบราณมงคลนพรัตนราชวราภรณ์
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นมงคลนพรัตน์ราชวราภรณ์ (เครื่องนพรัตน์) ถือเป็นหนึ่งในเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นสูงสุดของประเทศไทย ที่มอบแด่ผู้ที่มีความจงรักภักดีอย่างยิ่งต่อราชบัลลังก์ และได้กระทำคุณงามความดีอันยิ่งใหญ่ต่อประเทศชาติอย่างต่อเนื่องและยาวนาน
ลักษณะของเครื่องราชฯ จะประกอบด้วยดวงตรานพรัตน์ล้อมรอบด้วยพวงดอกไม้แก้วบนพื้นสีแดงสด ด้านในประดับด้วยรัตนชาติจำลองทั้งเก้าชนิด ซึ่งสื่อถึงความบริสุทธิ์ ความกล้าหาญ สติปัญญา และความจงรักภักดีอย่างแน่วแน่ โดยผู้ได้รับจะสวมสายสะพายและดาราเฉียงจากไหล่ขวาไปยังสะโพกซ้าย อันเป็นเครื่องหมายเกียรติยศสูงสุด
โดยทั่วไป ผู้ที่จะได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นมงคลนพรัตน์ราชวราภรณ์ ต้องเป็นผู้มีคุณูปการอย่างยิ่งต่อแผ่นดิน ทั้งในด้านราชการ การทหาร การทูต ศาสนา หรือการพัฒนาประเทศในระดับสูง มีความประพฤติอันเป็นแบบอย่าง และได้รับพระราชทานโดยตรงจากพระมหากษัตริย์
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ตราช้างเผือก หรือชื่อเต็มว่า “เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก” เป็นหนึ่งในเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นสูงของประเทศไทย สถาปนาขึ้นเพื่อเชิดชูเกียรติแก่บุคคลผู้ประกอบคุณงามความดี มีความซื่อสัตย์ เสียสละ และจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ตราช้างเผือกมีหลายชั้น ตั้งแต่ "มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก" จนถึง "ประถมาภรณ์" และ "ตริตาภรณ์" โดยลวดลายสำคัญคือ ช้างเผือกทรงเครื่องในท่ายืน อยู่กลางดวงตราที่ล้อมด้วยลวดลายประณีต สีขาวและทองเป็นหลัก สื่อถึงความบริสุทธิ์ ความดี และความรุ่งเรือง
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ช้างเผือกถือเป็นสัญลักษณ์ของ “ผู้กล้าคิด กล้าทำ กล้าเสียสละ” เพื่อแผ่นดินไทย ผู้ได้รับเครื่องราชฯ นี้จึงเป็นบุคคลที่ควรค่าแก่การยกย่อง และเป็นแบบอย่างอันงดงามของพลเมืองไทยในทุกยุคทุกสมัย
อ้างอิง
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี. สำนักหอสมุด, วรจิตติ์ ปิยะภาณี, นิตยา บุญปริตร, & ลดาวัลย์ ศรีธวัช ณ อยุธยา. (2548). พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.
สาระ มีผลกิจ. (2566). เอกสารประกอบการบรรยาย เรื่อง พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหามงกุฎ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระสยามเทวมหามกุฏวิทยมหาราช ๑๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๓๔๗ – ๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๑๑ ในวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2566 ณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยสวนดุสิต
Categories
Hashtags