ความก้าวหน้าทางการทูตกับสถานที่สำคัญ
Published: 23 August 2023
4 views

ทูตที่มาติดต่อกับรัชกาลที่ 4 กับประเทศอื่นในเอเชียตะวันตกเฉียงใต้นั้นถูกส่งมาต่างกัน ถ้าจากประเทศอังกฤษร้อยละ 80 จะเป็นทูตมาจากผู้ว่าการอังกฤษที่เดนลี แต่เซอร์จอห์น เบาว์ริิงเป็นทูตอังกฤษที่มาจากเซนต์เจมส์ ลอนดอน สื่อได้ว่าที่มาของทูตนั้นแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ที่ต่างกัน ประเทศอื่นเป็นทูตที่มาจากเจ้าอาณานิคมแต่ไทยจะเป็นทูตที่ส่งตรงมาจากลอนดอน แปลว่าให้ความสำคัญกับประเทศไทยไม่เท่ากับประเทศอื่น นั้นจึงเป็นเหตุว่า เราควรมีสถานที่ต้อนรับแขกบ้านแขกเมืองที่ทันสมัย

พระอภิเนาว์นิเวศน์ โปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระราชมณเฑียรขึ้นใหม่หมู่หนึ่ง สร้างเมื่อ พ.ศ. 2395 ใช้เวลาสร้างทั้งหมด 5 ปี พระที่นั่งและสถานที่ต่าง ๆ ในพระอภิเนาว์นิเวศน์ ได้รับพระราชทานชื่อคล้องจองสัมผัสกัน ดังนี้ ภูวดลทัศไนย สุทไธสวรรย์ อนันตสมาคม บรมพิมาน นงคราญสโมสร จันทรทิพโยภาศ ภาณุมาศจำรูญ มูลมณเฑียร เสถียรธรรมปริต ราชฤทธิ์รุ่งโรจน์ โภชนลินลาศ ประพาศพิพิธภัณฑ์

พระที่นั่งอนันตสมาคม เป็นพระโรงเสด็จออกฝ่ายหน้า

พระที่นั่งบรมพิมาน เป็นพระมหามณเฑียรที่พระบรรทมแห่งหนึ่งและเป็นที่รับแขกเมืองเฝ้าในที่รโหฐาน และในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้โปรดเกล้าฯ ให้เป็นที่ประดิษฐานพระบรมอัฐิพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ตามที่ได้มีพระดำรัสสั่งไว้ตลอดมาจนรื้อพระที่นั่งองค์นี้

พระที่นั่งนงคราญสโมสร เป็นท้องพระโรงฝ่ายใน

พระที่นั่งจันทรทิพโยภาศ เป็นพระพิมานฝ่ายใต้

พระที่นั่งภาณุมาศจำรูญ เป็นพระวิมานที่บรรทมอีกแห่งหนึ่ง พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จสวรรคต ณ พระที่นั่งองค์นี้

พระที่นั่งมูลมณเฑียร เป็นพระที่นั่งเดิมรื้อมาสร้างใหม่ ต่อมารื้อไปสร้างไว้ที่วัดเขมาภิรตาราม

หอเสถียรธรรมปริต เป็นหอพระปริต (หอศาสตราคม)

หอราชฤทธิ์รุ่งโรจน์ เป็นหอพระแสงศาสตราคม

หอโภชนลินลาศ เป็นหอเลี้ยงแขกเมือง

หอพระที่นั่งประพาศพิพิธภัณฑ์ เป็นพิพิธภัณฑ์ในพระราชฐาน

พระที่นั่งภูวดลทัศไนยเป็นหอนาฬิกาหลวง ภายหลังทรุดโทรมจึงรื้อลง

ปัจจุบันคือสวนศิวาลัย

* สิ่งแสดงความมีอารยะตะวันตกมาปรากฎในวังหลวงเป็นครั้งแรก

ต่างชาติรู้จักพระองค์มากขึ้นจากการเปิดประเทศ จากการทำหนังสือพิมพ์ออกมา เรามีซิวิไลเซชัน

อ้างอิง

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี. สำนักหอสมุด, วรจิตติ์ ปิยะภาณี, นิตยา บุญปริตร, & ลดาวัลย์ ศรีธวัช ณ อยุธยา. (2548). พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.

สาระ มีผลกิจ. (2566). เอกสารประกอบการบรรยาย เรื่อง พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหามงกุฎ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระสยามเทวมหามกุฏวิทยมหาราช ๑๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๓๔๗ – ๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๑๑ ในวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2566 ณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยสวนดุสิต

ศรัณย์ มะกรูดอินทร์ และสาระ มีผลกิจ. (2566). หนังสือประกอบการบรรยาย เรื่อง พระจอมเกล้าฯ ในมิติที่คุณไม่รู้จัก ณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี . กรุงเทพฯ : มปพ.

Comments
To join the comment, please sign in.
Sign in
Don’t have an account? Register
Loading comments...