ของที่ระลึกกับชั้นเชิงทางการทูต
Published: 23 August 2023
3 views

จากงานเสวนา "พระจอมเกล้าฯ ในมิติที่คุณไม่รู้จัก : Modernization เข้าโลกตาหลิ่ว ต้องหลิ่วตาตาม" ในวันพุธที่ 22 กุมภาพันธ์ 2566 เวลา 10.00-12.00 น. รับชมการบรรยายเต็มรูปแบบที่ KMUTT Facebook Video ย้อนหลัง

โดย ผศ.ดร.สาระ มีผลกิจ อาจารย์ประจำสาขาวิชาโรงเรียนการท่องเที่ยวและการบริการ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต และ ดร.ศรัณย์ มะกรูดอินทร์ อาจารย์ประจำบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย 

“รู้เขารู้เรา” “การรู้เท่าทันตะวันตก” “ชั้นเชิงทางการทูต” คำเหล่านี้สะท้อนขึ้นอย่างชัดเจนในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวที่มีการทูตและการติดต่อกับมหาอำนาจที่สำคัญ ได้แก่

- อเมริกา รัชกาลที่ 4 ท่านมีแนวคิดจะส่งช้างไปฟิลลาเดเฟีย เพื่อไปสร้างเมืองฟิลลาเดเฟีย เพราะฝรั่งไม่มีช้างแต่เสียก่อนเลยไม่ได้ส่ง

- อังกฤษ ทรงไปผูกสัมพันธ์กับสมเด็จพระราชินีนาถวิคตอเรียกับอังกฤษ ส่งเครื่องราชบรรณาการให้กัน ของทางวิทยาศาสตร์ ลูกโลก แท่นพิมพ์ ขวดหมึก รถไฟจำลอง เข้ามาเป็นต้น

- พระเจ้านโปเลียนที่ 3 ของฝรั่งเศส เป็นการเปิดหน้าตักเต็มที่ ทรงส่งเครื่องราชบรรณาการอย่างอลังการยิ่งใหญ่ ปัจจุบันเก็บรักษาไว้ที่ปราสาทฟงแตนโบล ที่ประเทศฝรั่งเศส ส่งให้กันเยอะจนกลายเป็นธรรมเนียมว่าถ้ากษัตริย์เขากษัตริย์เรามากันต้องแลกของขวัญ ของขวัญนั้นคือความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ

นี่คือ ของขวัญที่รัชกาลที่ 4 ทรงส่งไปถวายพระเจ้านโปเลียนที่ 3 กกุธภัณฑ์เหล่านี้ประกอบด้วยเพชรพลอย และทองคำลงยาราชาวดี ซึ่งเป็นงานเพชรพลอยที่ดีที่สุดของประเทศไทย

ดารานพรัตน์ มาจากแหวนนพเก้าที่ใส่เป็นบุญกุศลคุ้มตัวเวลาไปรบ เมื่อท่านติดต่อกับตะวันตกจึงเอาความเป็นแหวนที่เป็นความเชื่อมาเป็นอิสริยาภรณ์ 

ด้านหลังเครื่องราชอิสริยาภรณ์ทางช้างเผือกทองคำลงยา

(ด้านหลัง) ก่อนปี พ.ศ. 2404

นามบัตร มีอักษรย่อ มีลายเซ็น การ์ด ทำทุกอย่างแบบสากลและเป็นลายพระหัตถ์ของฝ่าพระบาท

อ้างอิง

สาระ มีผลกิจ. (2566). เอกสารประกอบการบรรยาย เรื่อง พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหามงกุฎ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระสยามเทวมหามกุฏวิทยมหาราช ๑๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๓๔๗ – ๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๑๑ ในวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2566 ณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยสวนดุสิต

ศรัณย์ มะกรูดอินทร์ และสาระ มีผลกิจ. (2566). หนังสือประกอบการบรรยาย เรื่อง พระจอมเกล้าฯ ในมิติที่คุณไม่รู้จัก ณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี . กรุงเทพฯ : มปพ.

ปรีดี พิศภูมิวิถี, ซัลมง, ซ., Salmon, X., & อรรถดา คอมันตร์. (2556). ราชอาณาจักรสยาม ณ พระราชวังฟงแตนโบล คณะราชทูตสยาม 27 มิถุนายน ค.ศ.1861 =: Le Siam A Fontainebleau L'Ambassade du 27 Juin 1861. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ สยาม เรเนซองส์.

Comments
To join the comment, please sign in.
Sign in
Don’t have an account? Register
Loading comments...