กายวิภาคของพุทธะ
Published: 5 July 2023
76 views

เคยสงสัยกันหรือไม่ จริง ๆ แล้วพระพุทธเจ้าสูงเท่าไหร่ พระพุทธเจ้ามีจริงหรือไม่

เรื่องราวทางพระพุทธศาสนาในบางมุม - ดูไกลตัว แต่แท้จริงใกล้ตัวราวเส้นผม

การบันทึกเรื่องราวของพระพุทธเจ้าปรากฏในพระไตรปิฎกซึ่งเป็นแนวทางสำคัญในการสร้างพุทธศิลป์หรือสัญลักษณ์ทางพระพุทธศาสนาอย่างพระพุทธรูป จีวร ฯ สำหรับเรื่องราวพระพุทธศาสนาในรัชสมัยรัชกาลที่ 4 นั้นเริ่มเมื่อครั้งที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวยังทรงผนวชอยู่ 

พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 ทรงมอบพระธุระในการติดต่อศาสนากับทางคณะสงฆ์ลังกา ส่วนหนึ่งเป็นเพราะพระพุทธศาสนาเสื่อมสูญหลักฐานไปในคราวเสียกรุงครั้งที่ 2 จึงทรงใช้โอกาสนี้ขอยืมพระไตรปิฎก และคัมภีร์ทางศาสนาฉบับที่ยังขาด รัชกาลที่ 4 ทรงให้มีการตั้งเสนาสนะสำคัญพระสงฆ์จากลังกาที่เดินทางเข้ามาในประเทศไทย ขึ้นที่วัดบวรนิเวศวิหาร เรียกว่า “คณะลังกา” (ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของพระวิหารพระศาสดา วัดบวรนิเวศวิหาร) ทำให้พระไตรปิฎกในประเทศสยามจึงสมบูรณ์นับตั้งแต่นั้นมา

เมื่อมีการติดต่อกับคณะลังกาแล้ว ทรงให้มีการศึกษาสัดส่วนของพระพุทธเจ้า เนื่องด้วยพระธรรมวินัยระบุว่า มาตราวัดตามพุทธบัญญัติที่เรียกว่า “คืบพระสุคต” และ “นิ้วพระสุคต” คือ ชื่อมาตรวัดตามอรรถกานัยว่า เท่ากับ 3 คืบของคน เท่ากับประมาณ 25 เซนติเมตร (พจนานุกรม ประมวลศัพท์ ประมวลธรรม ออนไลน์, 2567)

ด้วยคนไทยในสมัยก่อนมีความเชื่อว่าพระพุทธเจ้ามีความสูง 18 ศอก ปรากฏความเชื่อนี้สืบมาตั้งแต่ในสมัยกรุงสุโขทัย จึงมีการเรียกพระพุทธรูปในลักษณะนี้ว่า “พระอัฏฐารส” ดังที่ทุกคนเคยได้ยิน วันอัฏฐมีบูชา วันสำคัญทางพระพุทธศาสนาอีกวันหนึ่ง คือ เป็นวันถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระของพระพุทธเจ้า ในงานเสวนา ดร.ศรัณย์ ได้กล่าวถึงว่า โดยปกติคนเราจะสูงเท่ากับวาของตนเอง ดังที่เวลาคนเรากางแขนคือวาหนึ่งนั้นมีขนาดเท่ากับความสูงของตนเอง 

จาก Wiki ภาพ Vitruvian man ของ Leonardo da Vinci

จากข้อมูลของเลโอนาร์โด ดา วินซี บุรุษแห่งศตวรรษที่ 16 (Leonardo da Vinci) เขาได้อธิบายองค์ความรู้ด้านกายวิภาคมนุษย์ผ่านทางภาพที่รู้จักกันในนามของ "วิทรูเวียนแมน" Vitruvian man ซึ่งเป็นข้อมูลสะท้อนในทำนองว่า ร่างกายของมนุษย์เรานั้นถูกออกแบบโดยธรรมชาติอย่างน่าแปลกใจ เช่น สองรองหัวแม่มือเท่ากับความยาวรอบมือ หนึ่งในนั้นรวมถึงระยะปลายแขนจรดปลายแขนเมื่อกางออกทั้งสองข้างเท่ากับความสูงของร่างกาย

เมื่อนับรวมถือเป็น 4 ศอก แต่คติที่นิยมนั้นมีความเชื่อว่า พระพุทธเจ้ามีความสูง 18 ศอก หากคิดตามความสูงของคนทั่วไปที่ 4 ศอก ประมาณ 1.7 เมตร ดังนั้น หากพระพุทธเจ้าสูง 18 ศอก เมื่อเทียบบัญญัติไตรยางค์พบได้ว่า พระพุทธเจ้าจะสูงราว 7.65 m. ซึ่งจะส่งผลต่อการใช้ขนาดสัดส่วนนี้ในการสร้างกุฏิ ตัดเย็บจีวร เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวไม่ทรงเชื่อว่าพระพุทธเจ้าสูง 18 ศอก พระองค์จึงเริ่มสอบทานขนาดพระพุทธเจ้าจากในพระไตรปิฎก จึงพบว่า พระพุทธองค์ทรงมีรูปร่างคล้ายพระอานนท์ เพราะครั้งหนึ่งที่พระเจ้าอชาตศัตรูเสด็จไปพบพระพุทธองค์ ทรงแยกไม่ออกว่าพระภิกษุรูปใดคือพระพุทธองค์ และทรงเคยเปลี่ยนสังฆาฏิกับพระมหากัสสปะ แสดงให้ว่า พระพุทธองค์มีพระวรกายไม่ต่างไปจากพระสงฆ์ทั่วไป พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรง ให้ทางคณะสงฆ์ลังกาช่วยวัดขนาดพระทันตธาตุ (ฟัน) มาเทียบบัญญัติไตรยางค์ คิดคำนวณกับมาตรวัดตะวันตก คือ เซนติเมตร (centimeter) และนิ้ว (inch) และมาตรวัดของช่างไทย คือ คืบช่างไม้ แล้วทรงให้สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ ทรงนิพนธ์ขึ้นเป็นตำราชื่อว่า “สุคตวิทัตถวิธาน

มาตรวัดคืบพระสุคต เทียบกับเซนติเมตร นิ้ว และคืบช่างไม้

ประดับพระแท่นศิลาที่ประทับของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า

กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ วัดบวรนิเวศวิหาร

ด้วยเหตุนี้พระพุทธรูปองค์อื่นที่สร้างตลอดรัชสมัยล้วนแต่มีขนาดใกล้เคียงกันทั้งสิ้น อาทิ เช่น พระประธานในวัดต่าง ๆ พระประธานในพระอุโบสถวัด มกุฏกษัตริยาราม พระพุทธรูปหน้าพระอุโบสถวัดเสนาสนาราม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นต้น

เพิ่มเติมจากงานเสวนา "พระจอมเกล้าฯ ในมิติที่คุณไม่รู้จัก : Modernization เข้าโลกตาหลิ่ว ต้องหลิ่วตาตาม" ในวันพุธที่ 22 กุมภาพันธ์ 2566 เวลา 10.00-12.00 น. รับชมการบรรยายเต็มรูปแบบที่ KMUTT Facebook Video ย้อนหลัง

โดย ผศ.ดร.สาระ มีผลกิจ อาจารย์ประจำสาขาวิชาโรงเรียนการท่องเที่ยวและการบริการ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต และ ดร.ศรัณย์ มะกรูดอินทร์ อาจารย์ประจำบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย 

Comments
To join the comment, please sign in.
Sign in
Don’t have an account? Register
Loading comments...