Wacoal Sustainable Movement
Published: 26 August 2024
19 views

ESG Circular Economy คือ แนวคิดที่รวมเอาหลักการของการจัดการสิ่งแวดล้อม (Environmental) ความรับผิดชอบต่อสังคม (Social) และการกำกับดูแลกิจการ (Governance) หรือที่เรียกย่อว่า ESG เข้าไว้กับแนวคิดของเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) ซึ่งเป็นรูปแบบของเศรษฐกิจที่เน้นการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ ลดการสิ้นเปลือง และการนำทรัพยากรกลับมาใช้ใหม่ เพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม (ChatGPT, 2567)

โดยตลอดการร่วมงาน KMUTT ACTS 2024 ต้องปักหมุดหมายในใจที่สำคัญด้านความยั่งยืน นั่นก็คือ SDGs Goal หรือ Sustainable Development Goals (SDGs) คือ เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนที่องค์การสหประชาชาติกำหนดขึ้นในปี 2015 โดยมีทั้งหมด 17 เป้าหมาย

(ภาพจาก SDG MOVE)

สำหรับในวันนี้ KMUTT ACTS 2024 วันจันทร์ที่ 26 สิงหาคม 2567 ช่วง 13.15 น. หัวข้อ Wacoal Sustainable Movement ได้รับเกียรติจากคุณพงษ์สันต์ วงศ์เสริมหิรัญ ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยพัฒนาและนวัตกรรม บริษัท ไทยวาโก้ จำกัด (มหาชน) มาถ่ายทอดประสบการณ์จริงจากอุตสาหกรรมในการพัฒนาธุรกิจอย่างยั่งยืนให้เราได้รับรู้กัน ก่อนอื่นให้เข้าใจได้ง่ายขอสรุปได้แง่ของ 2 P คือ Product และ Process

Product ผลิตภัณฑ์และการได้มา

แน่นอนว่าบริษัท ไทยวาโก้ ทุกคนรู้จักกันดีในฐานะบริษัทชุดชั้นใน แต่กว่าจะมาเป็นบริษัทที่ก่อตั้งมาได้ยาวนาน 50 กว่าปีนี้เพื่อการยกระดับอุตสาหกรรมให้ไปสู่สากลจำเป็นต้องมีหลายมาตรฐานอุตสาหกรรมมารองรับและข้อกำหนดในมาตรฐานนี้เองที่จะเป็นตัวการสำคัญในการยกระดับสินค้าให้มีความรับผิดชอบต่อสังคมตลอดจนการบริหารจัดการที่ดี ทั้ง มอก. 2364 มาตรฐานอุตสาหกรรมของประเทศไทยเป็นข้อกำหนดสำหรับผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับอุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อให้มั่นใจว่าผลิตภัณฑ์เหล่านี้มีความปลอดภัยและมีคุณภาพตามที่กำหนด มาตรฐาน ISO 9001 กำหนดระบบการจัดการคุณภาพ (Quality Management System หรือ QMS) ISO 14001 ข้อกำหนดสำหรับระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม (Environmental Management System หรือ EMS) ISO 14064 ข้อกำหนดสำหรับการวัด การจัดการ และการรายงานเกี่ยวกับก๊าซเรือนกระจก (GHG) โดยมีเป้าหมายเพื่อช่วยให้องค์กรสามารถจัดการกับการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอย่างมีประสิทธิภาพและโปร่งใสมาตรฐานนี้ถูกแบ่งออกเป็นสามส่วนหลัก ได้แก่

  1. ISO 14064-1: การจัดทำและรายงานการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสำหรับองค์กร
  2. ISO 14064-2: การลดและการกำจัดก๊าซเรือนกระจกจากโครงการต่าง ๆ
  3. ISO 14064-3: การตรวจสอบและการรับรองข้อมูลก๊าซเรือนกระจก

สำหรับด้านการจัดการพลังงานอย่างมีประสิทธิภาพในองค์กร

ISO 50001 เป็นข้อกำหนดที่ช่วยให้องค์กรลดการใช้พลังงาน ลดค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับพลังงาน และลดผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมผ่านการปรับปรุงการจัดการพลังงานอย่างเป็นระบบ มาตรฐานนี้ยังช่วยองค์กรในการปฏิบัติตามกฎหมายและข้อบังคับที่เกี่ยวข้องกับการใช้พลังงาน

โดยผลิตภัณฑ์ที่รองรับแนวคิดการพัฒนาที่ยั่งยืนนี้จะตอบโจทย์เป้าหมาย SDGs 12 โดยผลิตภัณฑ์ที่ได้จะต้องมีมาตรฐานอุตสาหกรรม เป็นสินค้าฉลากเขียว ที่ได้รับการรับรองว่ามีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยกว่าสินค้าทั่วไป โดยได้รับการประเมินจากการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ กระบวนการผลิต การใช้งาน และการกำจัดหลังจากหมดอายุการใช้งาน เป็นทางเลือกให้ผู้บริโภคได้มีโอกาสใช้ผลิตภัณฑ์ที่ยั่งยืนและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เสื้อและผ้าเบอร์ 5 ที่ได้รับการรับรองจากโครงการฉลากประหยัดพลังงานเบอร์ 5 ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ว่าผลิตจากผ้าที่มีคุณสมบัติช่วยในการประหยัดพลังงาน เช่น การซัก การตาก และการรีดที่ใช้พลังงานน้อยลง เสื้อผ้าประเภทนี้ยังสามารถแห้งได้เร็วและรีดง่าย ลดการใช้พลังงาน สอดคล้องต่อโมเดล EPR (Extended Producer Responsibility) แนวคิดในการจัดการสิ่งแวดล้อมที่กำหนดให้ผู้ผลิตรับผิดชอบต่อผลกระทบของผลิตภัณฑ์ตลอดวงจรชีวิตของมัน รวมถึงหลังจากที่ผู้บริโภคใช้งานเสร็จแล้ว ซึ่งหมายความว่าผู้ผลิตต้องจัดการกับการเก็บรวบรวม การรีไซเคิล และการกำจัดของเสียอย่างปลอดภัย EPR เป็นแนวทางที่ช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมโดยกระตุ้นให้ผู้ผลิตออกแบบผลิตภัณฑ์ที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่หรือลดปริมาณของเสียที่เกิดขึ้นได้ เช่นดังโครงการ Braเก่า เราขอ เป็นต้น

การเป็น Green Factory หรือ EcoFactory โดยสภาอุตสาหกรรมประเทศไทยได้ให้การรับรองบริษัทไทยวาโก้ ให้เป็นโรงงานอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ เทียบเท่า Green Industry ระดับ 4 จากทั้งหมด 5 ระดับ (GI-Level4 ในระดับ Culture) โดยในระดับที่ 5 นั้นเป็นระดับสูงสุดทั้ง Supply Chain ตั้งแต่กระบวนการผลิต การดำเนินงานและการมีส่วนร่วมกับชุมชนและผู้ค้าผู้ร่วมลงทุนที่เกี่ยวข้อง ในระหว่างที่มีการสร้างผลิตภัณฑ์เหล่านี้จะมีผลต่อการแตะหรือมุ่งไปสู่เป้าหมายอื่น ๆ ใน SDGs ด้วยซึ่งจะไม่ได้กล่าวเป็นรายข้อในที่นี้

Process กระบวนการผลิตและการบริหารจัดการ

เพื่อพัฒนาสินค้าจึงต้องมีการวิจัยโดย ISO 17025 เป็นมาตรฐานสากลที่กำหนดสำหรับความสามารถของห้องปฏิบัติการทดสอบและสอบเทียบ รวมถึงห้องปฏิบัติการทดสอบสิ่งทอ โดยในส่วน กระบวนการ ส่วนสำคัญที่น่าสนใจ คือ ความพยายามในการมุ่งสู่คาร์บอนสุทธิ (Carbon Neutrality) ที่คำนึงถึงคาร์บอนฟรุตพริ้นต์ขององค์กร พยายามลดการปล่อยคาร์บอนลงปีละ 3% จึงต้องคอยรายงานผลคาร์บอนในองค์กร เรื่องการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ทั้งในมุมผลิตภัณฑ์ (Carbon Footprint Product : CFP) และมุมองค์กร (Carbon Footprint Organization : CFO) รวมถึงในอนาคตการควบคุมวัตถุดิบเข้ามาผลิตที่มีข้อมูลการประเมินคาร์บอนฟรุตพริ้นต์แล้วด้วย สามารถแบ่งการบริหารจัดการได้เป็น 3 ขอบเขต

ขอบเขตที่ 1 การเปลี่ยนน้ำมันสู่พลังงานไฟฟ้า - ข้อมูลการใช้พลังงานจากการประเมินทางตรงทั้งน้ำมันรถยนต์สำหรับผู้บริหาร รับ-ส่งพนักงาน ขน-ส่งสินค้า เครื่องจักรการผลิต ซึ่งจะเปลี่ยนแปลงเป็นรถยนต์ไฟฟ้า (EV) ทั้งหมด 1

ขอบเขตที่ 2 การทดแทนการใช้พลังงานไฟฟ้าด้วยเซลล์พลังงานแสงอาทิตย์ (Solar Cell) ด้วยการตัดเย็บของสินค้าบริษัทไทยวาโก้ ใช้เครื่องจักรพลังงานไฟฟ้าที่มีประสิทธิภาพไม่ได้เปลืองพลังงานไฟฟ้า แต่การทำงานในสภาวะที่ให้ผู้ปฏิบัติงานทำงานได้อย่างดีจำเป็นต้องเปิดเครื่องปรับอากาศตลอดเวลา จึงมีการใช้เซลล์พลังงานแสงอาทิตย์ติดตั้งบนหลังคา (Solar Roof) ทดแทนการใช้พลังงานไฟฟ้าบางส่วนซึ่งพบว่าประหยัดไปได้ 30%

ขอบเขตที่ 3 เลือกผู้จัดหาวัตถุดิบ (Supplier) ที่มีข้อมูล Carbon Footprint ของวัตถุดิบเพื่อให้ได้วัตถุดิบที่มีการปล่อยก๊าซคาร์บอนที่ต่ำ

จะเห็นได้ว่า ทั้งสามขอบเขตตั้งแต่การได้มา การผลิตและการออกแบบ การขนส่งกระจายสินค้า การใช้งาน (ใช้ได้นาน คุ้มค่า คาร์บอนต่ำ) ตลอดจนการคำนึงถึงการกำจัดของเสีย การนำกลับมาใช้ใหม่ทั้งวงจรการผลิตนี้เป็นไปอย่างคำนึงถึงผลกระทบต่อสังคมทั้งสิ้น

แนวโน้มที่จะเกิดขึ้นในอนาคตที่คุณพงษ์สันต์ แชร์สิ่งที่น่าสนใจ ให้เราได้จับตารอ ติดตามสถานการณ์ที่จะเกิดขึ้นนั้นมีอีกมาก เช่น พระราชบัญญัติการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พระราชบัญญัติภาวะโลกร้อน ภาษีคาร์บอน คาร์บอนเครดิต ซึ่งอาจส่งผลต่อราคาสินค้าบางอย่าง ตามเทรนด์การผลิตและการบริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป

ผู้เขียนจะพยายามหาข้อมูลมาเพิ่มเติมให้ได้อ่านเข้าใจได้ง่ายกันต่อ ๆ ไป

(ข้อมูลนิยามศัพท์ส่วนใหญ่จากบทความนี้จาก ChatGPT แล้วพบกันใหม่ค่ะ)

Comments
To join the comment, please sign in.
Sign in
Don’t have an account? Register
Loading comments...