Living Labs บทเรียนจากห้องทดลองมีชีวิต
Published: 3 April 2025
2 views

แนวคิดของคำว่า Living Labs มีที่มาจากศาสตราจารย์ William Mitchell สถาบันเทคโนโลยีแมสซาซูเซตส์ (MIT) โดยในช่วงแรกแนวคิดนี้ถูกนำมาใช้เพื่อสังเกตรูปแบบการใช้ชีวิตของผู้ใช้บ้านอัจฉริยะหรือบ้านแห่งอนาคตในช่วงปี 2000 ให้นึกถึงศูนย์วิจัยขนาดเท่าอพาร์ตเมนต์ที่ติดตั้งอุปกรณ์ตรวจจับแล้วเชิญอาสาสมัครเข้าไปอยู่อาศัยตามเวลาที่กำหนดแล้วทดสอบเทคโนโลยีในบ้าน เพื่อดูพฤติกรรมของผู้อยู่บ้านนั้น ๆ จึงถือได้ว่า แนวคิดของ Living Labs แรกเริ่มมีเป้าหมายเพื่อศึกษาการโต้ตอบของมนุษย์กับเทคโนโลยีในสภาพแวดล้อมจริง เป็นสถานที่ทดลองที่ควบคุมได้เพื่อทดสอบนวัตกรรมด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ICT ในสภาพแวดล้อมที่จำลองไว้อย่างบ้าน หรือที่ทำงาน เรียกได้ว่า "ห้องทดลองที่มีชีวิต"

หลังจากทศวรรษ 1990 มีการปรับแต่งแนวคิดดังกล่าวให้ใช้งานได้ในวงกว้างมากยิ่งขึ้น ทั้งการเพิ่มนวัตกรรม การเป็นจุดศูนย์รวม การใช้ประโยชน์ในการใช้สอย และความสามารถในการประยุกต์ใช้ ICT ในสังคม ดังตัวอย่างของสถาบันเทคโนโลยี BCIT (British Columbia Institute of Technology) ที่ใช้คำว่า Living Labs ครั้งแรกในปี 1977 ผ่านโครงการวิจัยที่มุ่งในการปรับปรุงความสัมพันธ์ระหว่างผู้คนกับสภาพแวดล้อมในการใช้ชีวิตและการทำงาน

ในช่วงการพัฒนาแนวคิดของ Living Labs นั้นสรุปให้น่าสนใจได้ดังนี้

ช่วงต้นของศตวรรษที่ 21 มีแนวคิดของ Living Labs ที่แพร่กระจายไปยังยุโรป หลังจากการต่อตั้ง European Networks of Living Labs (ENoLL)

ในปี 2005-2006 มีการส่งเสริมการใช้ Living Labs ในการสร้างนวัตกรรมหลายสาขา ทั้งการพัฒนาเมือง การดูแลสุขภาพ และการพัฒนาเพื่อความยั่งยืน เสริมสร้างกระบวนการประชาธิปไตยผ่านการมีส่วนร่วมของหลายฝ่าย ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอื่น ๆ เพื่อเพิ่มความยอมรับและความเป็นไปได้ในการนำนวัตกรรมนั้น ๆ มาปรับใช้ ดังเช่น สถาบัน BCIT ที่ปี 2006 ใช้แนวคิด Living Labs เป็นโครงการเชิงกลยุทธ์ในการวางแผนเปลี่ยนทั้งวิทยาเขตให้เป็นห้องปฏิบัติการแห่งความยั่งยืน

ปี 2010 เป็นต้นมา Living Labs ได้รับความสนใจมากขึ้นในแง่ของการเป็นจุดศูนย์รวมที่สามารถมาสร้างสรรค์ร่วมกัน การออกแบบให้มีส่วนร่วม

แล้ว Living Labs คืออะไร

สรุปจากงานวิจัยของ A Milieu for Innovation – Defining Living Labs ปี 2009 ทำให้เราเห็นองค์ประกอบหลัก 5 ประการของ Living Labs ในโครงการวิจัยหลายแห่ง ได้แก่

  1. ICT & Infrastructure ต้องมีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการทำงานร่วมกันและการสร้างนวัตกรรมระหว่างผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
  2. Management ต้องเกี่ยวข้องกับฝ่ายบริหาร การจัดการองค์กรและนโยบายของ Living Labs ที่อาจจะจัดการโดยผู้วิจัย ที่ปรึกษา
  3. Partners & Users ต้องมีการรวบรวมความรู้ทั้งจากผู้เชี่ยวชาญ ผู้เกี่ยวข้องอื่น ๆ และผู้ที่ใช้งาน
  4. Research การเรียนรู้และการสะท้อนกลับที่เกิดขึ้นภายใน Living Lab
  5. Approach วิธีการและเทคนิคที่พัฒนาขึ้นภายในสภาพแวดล้อมของ Living Lab

โดยสรุปรวมหลักการสำคัญของ Living Labs นั้น ต้อง เปิดกว้าง ต่อมุมมองที่หลากหลาย กระตุ้นความคิดสร้างสรรค์และพัฒนานวัตกรรม ใครเป็นผู้ทรงอิทธิพล ให้ผู้ใช้มีบทบาทสำคัญในการกำหนดทิศทางและการพัฒนานวัตกรรม ความสมจริง มีการทดสอบและพัฒนานวัตกรรมในสภาพแวดล้อมจริง คุณค่า สู่การสร้างคุณค่าที่แท้จริงกับผู้ใช้และสังคม ยั่งยืน พัฒนานวัตกรรมที่ยั่งยืนและมีผลกระทบเชิงบวกต่อสังคม

ยกตัวอย่าง Living Labs ที่น่าสนใจ

อาคารหอพักนักศึกษาที่ทำจากไม้ของ BCIT

ภาพจากเว็บไซต์ BCIT

Living Labs ในโครงการนี้จะเพิ่มเตียงให้กับนักศึกษาอีก 469 เตียง เพื่อบรรลุเป้าหมายเรื่องของคาร์บอนและประสิทธิภาพด้านพลังงาน โดยใช้ไม้ (Mass-Timber) จึงมีการจัดบรรยายให้สถาปนิกมาให้ความรู้เกี่ยวกับกระบวนการออกแบบที่ใช้โครงสร้างเหล็กและไม้แบบผสมผสาน กลยุทธ์ในการลดปล่อยคาร์บอนทั้งในเชิงวัสดุและระหว่างการใช้งาน ข้อมูลการถอดบทเรียนที่ได้รับจากกระบวนการก่อสร้างอาคารไม้ขนาดใหญ่แห่งนี้

Laurea Living Labs จากฟินแลนด์

มีหลายลักษณะ Living Labs มีทั้ง BarLaurea teaching restaurant, Circular Economy , Senses Space and Method, Digital Living Lab, Integration and Language Learning Living Lab i4L, Event Living Lab ให้สามารถนำการเรียนรู้แบบข้ามศาสตร์มาใช้ใน Living Labs ได้เพื่อไปเผชิญสถานการณ์ที่เป็นปัญหาในชีวิตจริง

Event Living Lab มี โครงการ Limelight เพื่อพัฒนาการดำเนินธุรกิจเพื่อหลังสถานการณ์โรคระบาด โดยช่วยในการออกแบบอีเว้นท์ การพัฒนาทักษะดิจิทัล การออกแบบบริการ มุ่งให้เป็นผู้เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมงานอีเวนต์

ภาพกิจกรรมในโครงการ Limelight ของ Event Living Lab

Digital Living Lab มีสภาพแวดล้อมการเรียนรู้แบบ project-based ที่รองรับอุตสาหกรรมเทคโนโลยี 4.0 โดย Laurea Digital living lab ร่วมมือกับโครงการ Z-Inspection ในเดือนมีนาคม 2024 ที่ผ่านมาให้รู้จักกระบวนการประเมินความน่าเชื่อถือของเทคโนโลยี AI ผ่านอุปกรณ์อย่างชุดแว่น VR , AR ผ่าน Smartphone นักศึกษาสามารถปรับแต่งเนื้อหาแล้วทดลองเรียนรู้ได้

ภาพกิจกรรมใน Digital living lab ร่วมมือกับโครงการ Z-Inspection จากเว็บไซต์ Laurea living lab

จะเห็นได้ว่า Living Labs เป็นเสมือนระบบนิเวศแบบเปิดที่มีจุดมุ่งหมายให้ผู้คนอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ตนเองสามารถมีส่วนร่วมทั้งการใช้ การสร้างสรรค์ ร่วมทดลอง และการแก้ปัญหาในสถานการณ์จริง ซึ่งย่อมเกิดจาการทำงานร่วมกันของหลายฝ่าย โดยสถาบันการศึกษามีส่วนสำคัญในฐานะสนับสนุนการเรียนรู้ วิจัยทดลอง เพื่อขยายนวัตกรรมให้สอดคล้องกับความยั่งยืน ดังนั้น เราจึงได้เห็น living labs ในหลากหลายรูปแบบ หลากหลายธีม ดังที่ยกตัวอย่างมาสามารถไปดูเพิ่มเติม และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีก็ใช้แนวคิดของคำว่า Living Labs มาพัฒนาสภาพการเรียนรู้ในพื้นที่จริงเช่นเดียวกัน ติดตามดูกันต่อไปหรือสอบถามมาเพิ่มเติมได้ที่สำนักหอสมุด มจธ.

ข้อมูลอ้างอิง

(2025). History of Living Labs at BCIT. Retrieve date February 26, 2025. URL: https://www.bcit.ca/sustainability/living-labs/living-labs-history/.

Bergvall-Kåreborn, B., Eriksson, C. I., Ståhlbröst, A., & Svensson, J. (2009). A milieu for innovation: defining living labs. In ISPIM Innovation Symposium: 06/12/2009-09/12/2009.

Eriksson, Mats & Kulkki, Seija. (2005). State-of-the-art in Utilizing Living Labs Approach to User-centric ICT Innovation - A European Approach. State-of-the-art in Utilizing Living Labs Approach to User-centric ICT Innovation. 15. 

Ruijsink, Saskia. (2016). European Network of Living Labs (ENoLL). Retrieve date April 3, 2025. URL: http://www.transitsocialinnovation.eu/resource-hub/european-network-of-living-labs.

Tarawut Boonlua. (2024). The smart city review: Developing smart cities : for achieving sustainable development goals : pathways to a sustainable future. Bangkok: Greenlife printing house.

Categories

Comments
To join the comment, please sign in.
Sign in
Don’t have an account? Register
Loading comments...