Academic Support Fair วันที่ 2 - หลักและเครื่องมือปฏิบัติงาน
Published: 4 July 2024
10 views

เสวนาแลกเปลี่ยนการพัฒนาคน มจธ. และระบบสารสนเทศเพื่อสนับสนุนนโยบายด้านการศึกษาและส่งเสริมสังคมการเรียนรู้

โดย รองศาสตราจารย์ ดร.ชูจิต ตรีรัตนพันธ์ และผู้ช่วยศาสตราจารย์สุเมธ อังคะศิริกุล ดำเนินรายการโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ทวีศักดิ์ กฤษเจริญ

หลายปีมานี้ มจธ. กล่าวถึงการเรียนแบบเน้นผลลัพธ์การเรียนรู้ (Outcome-based Education) อีกทั้งกระแสการเปลี่ยนแปลงของดิจิทัลทำให้ต้องเตรียมความพร้อมให้บุคลากรสามารถใช้เครื่องมือต่าง ๆ ได้ จากแนวทางของมหาวิทยาลัย 5-6 ปีที่ผ่านมา การบริหารงานบุคคลดำเนินการตามแผนกลยุทธ์ มจธ. ฉบับที่ 13 เพื่อต้องการไปสู่เป้าหมายในการเป็น 1 ใน 3 ของมหาวิทยาลัยชั้นนำด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในระดับ ASEAN โดยนโยบายด้านทรัพยากรบุคคล พ.ศ. 2565 ได้มีการกล่าวถึงการพัฒนาองค์กรจากการพัฒนาบุคลากรให้มีทักษะทางดิจิทัลสามารถใช้เครื่องมือต่าง ๆ ในการทำงานได้

เครื่องมือที่ใช้ในการบริหารจัดการระบบทรัพยากรบุคคล

AHRIS (อา-รีส) พัฒนาจากระบบ Humantrix ที่จัดทำโดยบริษัท Humanica ปฏิบัติการบนคลาวด์เข้าถึงได้ผ่านแอปพลิเคชันเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2567 และจัดอบรมเพื่อให้เกิดการใช้งานได้จริง ทั้งมหาวิทยาลัยในเดือนสิงหาคม ฟังก์ชันการทำงานของระบบ AHRIS เช่น การจัดการเงินเดือน การจัดการสวัสดิการพนักงาน นำมาทดแทนกับระบบเดิม HPB เป็นฐานข้อมูลบุคลากรที่ใช้เฉพาะใน HR ทั้งการบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล การจ้างงาน ลาศึกษาต่อ เงินเดือน ความเคลื่อนไหวในการปฏิบัติงาน ซึ่งระบบ AHRIS สามารถเข้าถึงได้ทุกที่ ทุกเวลารองรับผ่านการใช้ผ่านเว็บไซต์และระบบปฏิบัติการแอปพลิเคชันมือถือ Android มีระบบที่เกี่ยวข้อง เช่น ESS (Employee Self Service) ส่วนที่บุคลากรสามารถดำเนินการเองได้ MSS (Manager Self Service) HR Department HR Center HR Admin

Function การทำงานของ AHRIS

นอกจากการบริหารจัดการข้อมูลส่วนบุคคล (HR Management) ยังรองรับการประเมินแบบสมรรถนะ (Competency Management) ระบบสนับสนุนการบริหารผลการปฏิบัติงาน (Performance Management) ระบบที่สนับสนุน การดำเนินงานขององค์กร

ภาพการแบ่งช่วงระยะเวลาการใช้งานกับระบบ AHRIS Phase

นอกจากนี้ยังเชื่อมโยงกับเครื่องมืออื่น ๆ เช่น Modlink My Evaluation (Academic) ระบบข้อตกลงภาระงาน

Digital Service Innovation จาก Modlink

ที่มาที่ไปของระบบ Modlink อาจารย์ชูจิตเล่าโดยสรุปว่า ช่วงการแพร่ระบาดของ Covid-19 ส่งผลต่อชีวิตความเป็นอยู่ของนักศึกษาและบุคลากร จึงได้มีการรวบรวมข้อมูลนักศึกษาและอาจารย์เพื่อถามถึง hybrid learning การเรียนแบบออนไลน์และออนไซต์ว่าตอบโจทย์คนในปัจจุบันอย่างไร และเก็บความต้องการของกลุ่มประชาคม มจธ. กลุ่มต่าง ๆ จึงมีผลออกมาเป็นระบบ Modlink

Modlink (LINK : Learning Innovation Network KMUTT) การสร้างระบบดังกล่าวนี้ขึ้นมามีเป้าหมายเพื่อเป็นศูนย์รวมจิตใจของชาว มจธ. ในแนวคิด Live Learn Life ครบจบในที่เดียว ขณะนี้มีระบบรองรับสำหรับนักศึกษาเป็น MODLINK student และรองรับบุคลากรเป็น MODLINK Pro ภายในต้นปีหน้าจะมี MODLINK ของกลุ่มศิษย์เก่าด้วย โดยฟีเจอร์หลักของ MODLINK จะเน้นการเป็น Community เช่น การตั้งกลุ่มตามความสนใจ การแชร์เรื่องราวด้วยกัน การสร้างและจัดการกิจกรรมในระบบให้คนอื่น ๆ เข้าร่วมกันได้

KMUTT PSF (Professional Standards Framework)

KMUTT PSF เป็นแนวทางในการพัฒนาสมรรถนะของสายวิชาการตามกรอบวิชาชีพ จัดแบ่งเป็น 4 ระดับ ได้แก่ ระดับ Beginner- Level 1 อาจารย์สอนได้ ใช้เครื่องมือได้ มีเทคนิคในการสอนอย่างไร การประเมินผลผู้เรียนที่ทำให้ทราบได้ว่า เรียนตาม Outcome ระดับ Level 2 สอนเก่ง รู้จักเทคนิคการสอน มีประสบการณ์การเรียนการสอนมาแล้วใน 4-5 ปี ซึ่งอาจารย์จะสามารถวิเคราะห์ตนเองได้จากสิ่งที่เห็นจริง และมีประสบการณ์ในการปรับปรุงเทคนิคการสอนมาบ้างแล้ว เพื่อให้ปรับปรุงแนวทางการสอนเพิ่มได้ ระดับ Level 3 สอนเป็น ช่วยพัฒนานักศึกษา ผู้เรียนรู้ได้ พัฒนาแนวทางการสอนตนเอง และจัดทำหลักสูตรได้ และระดับ Level 4 ถ่ายทอดจนเป็นผู้นำการจัดการศึกษา โดยมหาวิทยาลัยจะรับรองอาจารย์จากการปฏิบัติงานด้านการสอน การวิจัย การบริการวิชาการของสายอาจารย์ สถาบันการเรียนรู้ (LI) ร่วมกับ HR มี Assessment tools ให้อาจารย์ไปทดสอบประเมินตนเองได้

KMUTTWORKS Forum 2024 เรื่อง "ทำความรู้จักอาจารย์เกื้อหนุน (Facilitator) สายอาชีพดาวรุ่งพุ่งแรงในวงการศึกษายุโรปและอเมริกา"

Facilitator หรืออาจารย์เกื้อหนุน เรานิยมเรียกกันสั้น ๆ ว่า "ฟา" โดย Facilitator เป็นบทบาทของการถ่ายทอดแลกเปลี่ยนการเรียนรู้ที่ส่วนของการสนับสนุนให้การเรียนรู้นั้น ๆ เห็นเป้าหมายไปสู่ผลสำเร็จได้ ในการเสวนาครั้งนี้ไม่ได้อธิบายก่อนว่า ฟา คืออะไร แต่จะเป็นการเล่าถึงบทบาทของ 'ฟา' ไปเรื่อย ๆ ให้ผู้ฟังได้เข้าใจ จากผู้บรรยายในแต่ละคน จะมีทั้ง Facilitator ในภาคอุตสาหกรรม Facilitator ในวิจัยชุมชน และ Facilitator ในห้องเรียน

Facilitator ในภาคอุตสาหกรรม

การจะเป็น Facilitator ต้องนึกสภาพการเป็นผู้ร่วมเรียนรู้อย่าง Co-Leaner มาก่อน ในภาคอุตสาหกรรมจะทำหน้าที่เชื่อมโยงความต้องการของแรงงานจากความสำเร็จของโปรเจคกับความคาดหวังของผู้เรียนให้ดำเนินไปสู่จุดสำเร็จได้ เกื้อหนุนผู้เรียนให้เขาตั้งความหมายและวาดแผนการเรียนของตัวเองให้ไปสู่ผลลัพธ์ได้

Facilitator ห้องเรียน

อาจารย์เกื้อหนุนควรรู้พลังของห้องเรียน รู้พลังของกลุ่มผู้เรียน เพื่อปรับตัวให้ถ่ายทอดความรู้สึก อารมณ์ และไปถึงการเรียนรู้ร่วมกันได้ โดยทำให้ผู้เรียนเห็นถึงความสำคัญแล้วกระตุ้นจากการตั้ง Learning Outcome ไว้ก่อน เด็กจะสามารถซึมซับการสอนของผู้สอนได้เอง ใช้ทักษะการตั้งคำถามที่ไม่ได้บอกคำตอบแต่กระตุ้นให้เห็นปัญหาและหาคำตอบด้วยตนเอง ใช้ทักษะการเสริมแรง (Empowerment) ให้ผู้เรียนมีกำลังใจในการไปทำต่อ ชื่นชมแล้วค่อยบอกในทางลบ โดยให้ห้องเรียนของเราเป็นพื้นที่ปลอดภัยไว้ก่อน

Facilitator ชุมชน

เป็นฟาที่ต้องเน้นการฟังให้มาก ลดตัวตนของนักวิจัยลงไปหน่อย ใช้ทักษะการฟัง เคารพในผู้พูด ให้เกียรติกันและกัน เสริมความรู้ที่เรามีเข้าไปกับตัวบุคคล ใช้ทักษะการเห็นอกเห็นใจ (Empathies) นอกจากนี้ต้องใช้ทักษะการเรียนรู้ที่ต้องมีติดตัวตลอดเวลา เพราะผู้เรียนอาจจะมีอะไรที่แม้แต่ผู้สอนอย่างเราก็ยังต้องเรียนรู้อีกก็ได้ นอกจากนี้ สามารถปรับใช้กับเรื่องใกล้ตัวอย่างครอบครัวได้ โดยไม่ต้องมีตัวตนต่อกันและกัน และใช้ความเห็นอกเห็นใจกันให้ได้มาก

สิ่งสำคัญที่สุด คือ Facilitator ควรรู้ Goal ของตัวเองก่อน เพื่อให้วางแผนและไขว่คว้าจุดหมายของการเรียนรู้ตรงนั้นได้ หลังจากนั้นผู้เรียนรู้จึงจะได้รับรู้ว่า Goal ของตัวเองคืออะไร ควรให้ผู้เรียนเข้าใจในเป้าหมายของตัวเองก่อน




Categories

Comments
To join the comment, please sign in.
Sign in
Don’t have an account? Register
Loading comments...