ณ วันเสาร์ที่ 5 ตุลาคม 2024 ที่ผ่านมา ตัวผู้เขียนได้มีโอกาสเข้าร่วมกิจกรรมทัศนา สัญจรในโครงการพระจอมเกล้าศึกษา "ศาสนสัมพันธ์องค์ความรู้แห่งพระจอมเกล้าฯ" ซึ่งเป็นกิจกรรม One Day Trip ที่จะพาผู้เข้าร่วม เดินทางตามรอยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4) ไปยังสถานที่ทางศาสนาต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นสถานที่ ที่ท่านเกี่ยวข้องโดยตรง หรือเกี่ยวข้องทางอ้อมก็ตาม เพื่อให้ผู้เข้าร่วมได้ความรู้ ความเข้าใจ และได้สัมผัสบรรยากาศของสถานที่นั้น เอาล่ะโดยผมนั้นจะมาเล่าเรื่องอะไรเชิญพบเจอครับผมมม
วัดราชาธิวาสวิหาร
ประวัติ:
เป็นวัดหลวงเก่าแก่ที่ตั้งอยู่บนถนนสามเสนในเขตดุสิต กรุงเทพมหานคร มีชื่อเดิมว่า "วัดสมอราย" ซึ่งสร้างขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยาช่วงปลาย โดยนับเป็นวัดสำคัญแห่งหนึ่งที่มีประวัติความเป็นมายาวนานโดยมีการบูรณะครั้งสำคัญในสมัยรัชกาลที่ 4 โดยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเล็งเห็นความสำคัญของวัดนี้ และได้โปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระอุโบสถใหม่ขึ้นแทนของเดิมโดยในปัจจุบัน ได้รับการยกย่องให้เป็นสถานที่ที่มีความสำคัญทางด้านศาสนาและศิลปกรรม โดยมีเอกลักษณ์คือ จิตกรกรรมฝาผนังในพระอุโบสถจากฝีมือช่างในสมัยรัชกาลที่ 5 แล้วยังเป็นสถานที่หลวงปู่ทวด (พระสุธรรมยานเถระ) ซึ่งเป็นพระสงฆ์สำคัญเคยพำนักอยู่
สถาปัตยกรรม:
โดยสถาปัตยกรรมที่เอกลักษณ์และเป็นจุดเด่นของวัดคือการที่ เป็นสถาปัตยกรรมที่ผสมผสานระหว่างไทยและตะวันตก โดยเฉพาะพระอุโบสถและพระวิหารที่ทำการออกแบบให้สวยงาม ประกอบไปด้วยภายนอกพระอุโบสถแต่งด้วยรูปปั้นที่ปั้นด้วยความประณีต ส่วนภายในก็มีจิตรกรรมฝนผนังที่สวยงามเกี่ยวประวัติและเรื่องราวธรรมจักร
ลักษณะหลักที่เห็นได้ชัดของอุโบสถคือ ออกแบบเรียบง่ายภายนอกแต่ลงลึกภายในไม่ว่าจะเป็นบานประตูหรือหน้าต่างของวัดที่มีการแกะสลักเป็นลายดอกไม้หรือสัตว์ตามความเชื่อทางศาสนาพุทธนอกจากนั้นยังมีเจดีย์และพระวิหารรอบๆบ่งบอกถึงศิลปะของไทยในยุคนั้น และนี่คือจุดที่ทำให้วัดราชาธิวาสวิหารโดดเด่น ละเอียดอ่อนและงดงาม
ลำดับเจ้าอาวาส:
เจ้าอาวาสที่สำคัญในวัดนี้มีอยู่หลายรูป ซึ่งแต่ละรูปนั้นได้สืบทอดพร้อมกับเสริมงานด้านศาสนาศิลปกรรมรวมถึงการพัฒนาวัด โดยยกมาเพียงบางส่วนดังนี้
สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส – ท่านเป็นพระมหาสมณเจ้าที่มีบทบาทสำคัญในสมัยรัชกาลที่ 3 และรัชกาลที่ 4 ซึ่งนอกจากนั้นยังมีบทบาทในการประพันธ์วรรณคดีและปรัชญาทางพุทธศาสนาต่างๆ ทำให้ได้รับรู้ว่าเป็นผู้ที่ทำให้วัดราชาธิวาสมีความโดดเด่นด้านการศึกษาพระปริยัติธรรมเป็นอย่างมาก
พระพรหมมุนี (ผิน สุวโจ) – เจ้าอาวาสในสมัยรัชกาลที่ 5 โดยท่านมีส่วนในการบูรณะและพัฒนาวัดให้สวยงามขึ้น พร้อมกับส่งเสริมการศึกษาทางพระพุทธศาสนาและการพิมพ์คัมภีร์
สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (เจริญ ญาณวรมหาเถระ) – เจ้าอาวาสในสมัยหลัง ซึ่งมีบทบาทในการสืบสานพระพุทธศาสนาและการพัฒนาวัดในด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการสร้างเสนาสนะและอาคารต่างๆ ภายในวัด, การปรับปรุงและบูรณะสถานที่สำคัญต่างๆ
พระพรหมบัณฑิต (ประยูร ธมฺมจิตฺโต) – เจ้าอาวาสปัจจุบัน ท่านเป็นนักวิชาการด้านพระพุทธศาสนาที่มีชื่อเสียง มีบทบาทในด้านการเผยแผ่ธรรมะและส่งเสริมการศึกษาทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ
สิ่งสำคัญในพระอาราม
พระอุโบสถ เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กหลังคามุงกระเบื้อง สร้างขึ้นแทนพระอุโบสถหลังเก่าที่ชำรุดทรุดโทรม พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัตติวงศ์ ทรงออกแบบสร้างใหม่โดยรักษาผนังพระอุโบสถเดิมด้านหลังไว้ โดยทรงวางแนวเสา และผนังโบสถ์ใหม่ครอมโบสถ์เก่าไว้ ลักษณะรูปทรงและลวดลายเลียนแบบสถาปัตยกรรมขอมมีเสาพาไลรอบ ภายในพระอุโบสถกั้นเป็น 3 ห้อง ห้องแรกเป็นโถงทางเข้าสู่ห้องกลาง ซึ่งเป็นที่ประดิษฐานพระประธาน ภายใต้พุทธบัลลังก์บรรจุพระบรมราชสรีรังคารของสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนี พระพันปีหลวง จิตรกรรมฝาผนังในพระอุโบสถเล่าเรื่องพระเวสสันดร ชาดก ทั้ง 13 กัณฑ์ ฝีพระหัตถ์ทรงร่างของสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัตติวงศ์ผู้เขียนภาพ คือ นายริโกลี ชาวอิตาเลียน เป็นจิตรกรรมอันเป็นวิธีการแบบใหม่ในสมัยนั้น ห้องหลังสุดประดิษฐานพระสัมพุทธวัฒโนภาส พระประธานองค์เดิมของวัดภายใต้พุทธบัลลังก์บรรจุพระบรมราชสรีรังคารของสมเด็จพระศรีสวรินทราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า
พระประธาน ในพระอุโบสถเป็นพระพุทธรูปปางสมาธิ พระนามว่า พระสัมพุทธพรรณี
พระเจดีย์ ประดิษฐานอยู่หลังพระอุโบสถเป็นพระเจดีย์ที่มีอยู่ก่อนแล้ว เมื่อถึงรัชกาลที่ 5 โปรดให้ปฏิสังขรณ์ใหม่เป็นรูปทรงเลียนแบบสมัยศรีวิชัย ครอบพระเจดีย์องค์เดิม ต่อมารัชกาลที่ 4 โปรดให้สร้างต่อโดยพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนเรศวรฤทธิ์เป็นผู้ควบคุมการออกแบบและการก่อสร้าง ได้ประดิษฐานพระพุทธรูปศิลาแบบมหายานในซุ้มคูหาทั้ง 4 ทิศ
ศาลาการเปรียญ อยู่ทางด้านหน้าวัด เป็นอาคารสร้างด้วยไม้สักทั้งหลัง สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ทรงให้สร้างเลียนแบบศาลาการเปรียญวัดใหญ่สุวรรณาราม จังหวัดเพชรบุรี (ซึ่งเป็นท้องพระโรงเก่าสมัยพระเจ้าเสือ กษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา) เสาเป็นไม้ขนาดใหญ่ หลังคามุงกระเบื้อง ประดับช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ มีมุขและมุขลดทั้งหน้าหลัง หน้าบันทั้ง 2 ด้าน มีตราเครื่องหมายเป็นสำคัญ คือ ด้านหน้า (ด้านแม่น้ำเจ้าพระยา) มีตราจุลมงกุฎ หรือพระเกี้ยว อันเป็นพระราชลัญจกรในรัชกาลที่ 5 ด้านหลัง (ด้านตะวันออก) มีตราวชิราวุธ อันเป็นพระราชลัญจกรในรัชกาลที่ 6 ศาลาการเปรียญหลังนี้เป็นสถาปัตยกรรมไม้ขนาดใหญ่และสวยงาม
ตำหนักพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นอาคารทรงไทย ประดับช่อฟ้า ใบระกา เป็นที่ประทับของ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ครั้นทรงผนวช และทรงจำพรรษาที่วัดนี้ขณะนั้นมีชื่อว่าวัดสมอราย
ตำหนักสมเด็จพระพันปีหลวง เดิมเป็นที่ประทับของสมเด็จพระศรีพัชรินทรา พระบรมราชินีนาถ รัชกาลที่ 7 โปรดให้ย้ายมาจากพระราชวังพญาไททั้งหลัง มาสร้างขึ้นที่ วัดราชาธิวาสวิหารนี้ เมื่อ พ.ศ. 2475
ตำหนัก 4 ฤดู เป็นอาคารที่สร้างขึ้นใหม่เป็นแบบตึก สร้างขึ้นโดยจำลองพระตำหนัก 4 ฤดู ในวังสุโขทัยที่รื้อออกไป มีวัสดุที่มาประกอบได้เพียงประตูตัวอาคารเป็นตึกคอนกรีตเสริมเหล็กขนาดใหญ่ ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของพระอุโบสถ
อาคารพระธรรมวโรดม 100 ปี เป็นอาคารแบบไทยประยุกต์ ขนาดกว้าง 10.50 เมตร ยาว 40 เมตร 3 ชั้น ชั้นล่างเป็นห้องโถงใช้เป็นห้องประชุม
บทส่งท้าย
โดยหลังจากที่ไปเที่ยววันนั้นทำให้ผมรู้หลายอย่างว่าวัดไทยนั้นมีประวัติศาสตร์มากมายและผสมผสานลงตัวกับศิลปะทำให้เกิดเป็นจิตรกรรมหรือสถาปัตยกรรมออกมาหลายแบบ ทั้งนี้ขอขอบคุณที่มาอ่านขอบคุณครับ
64120501033
อภิสิทธิ์ กิตติเรืองอร่าม
Categories
Hashtags